หน้าเว็บ

แจกวัตถุมงคล รอบนี้


ที่นี่เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่มและบุคคลหากไม่มีศรัทธาอย่ามาก่อกวน ภาพและบทความมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย


วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รังสีออร่าในตัวคุณ




          หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า "รังสีออร่า" แต่รู้กันไหมล่ะว่ามันคืออะไร และสามารถบอกถึงอะไรในตัวเราได้บ้าง

          โดยรังสีออร่า คือสีของความคิดและอารมณ์จะมีลักษณะเป็นหมอกไหลปรากฏเป็นหย่อมๆ เห็นได้ชัดเจนบริเวณรอบศีรษะและเหนือบ่า

          วิธีคิดหารังสีออร่าของตัวคุณ เพียงคำนวณตามสูตร นำวัน เดือน ปี ค.ศ. ที่เกิด มาบวกกัน สมมุติว่า เกิดวันที่ 5 เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1960 ก็นำเลขทั้งหมดมาบวกกันคือ 5 + 5 + 1960 = 1970

          จากนั้นก็แยกตัวเลขออกมาบวกกันอีกครั้ง จะได้เป็น 1 + 9 + 7 + 0 = 17 ก็นำมาแยกบวกอีกจนกว่าจะได้เลขตัวเดียว ซึ่งก็คือ 1 + 7 = 8

          เมื่อได้ผลลัพธ์เป็นเลขตัวเดียว แล้วขอให้ดูว่าตัวเลขที่ได้ตรงกับสีพื้นฐานสีอะไร มีความหมายว่าอย่างไร แต่ถ้าเลขบวกกันแล้วได้ผลเป็น 11 และ 22 ไม่ต้องแยกบวกอีก เพราะเป็นพวกพิเศษกว่าพวกอื่น 

           1. สีแดง : ผู้นำ

          พวกมีสีแดงเป็นสีพื้นฐาน จะมีความกระตือรือร้น เป็นผู้นำ
ทะเยอทะยาน เต็มไปด้วยพลังงาน มีความกระฉับกระเฉงและพลังทางเพศ มีเสน่ห์ พูดจาโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้ดี เป็นคนสนุกสนาน โอบอ้อมอารี กล้าหาญ

         คุณวิ่งไม่เร็ว มองโลกในแง่ดี ชอบการแข่งขัน เป็นสีที่นำมาซึ่งความสำเร็จ คุณควรหาอะไรที่ท้าทายความสามารถทำ ชอบสร้างโครงการท้าทายความสามารถ แต่ต้องพิจารณาให้พอเหมาะสมกับตัวด้วย

          ข้อเสีย มักจะขี้กังวล ตื่นตระหนกและอาจหลงตัวเอง รวมทั้งอาจจะบ้างานมากไปจนเครียด ควรรู้จักพักผ่อน และคลายความเครียด 

     2. สีส้ม/ แสด : มนุษยสัมพันธ์ดี

          คุณเป็นคนอบอุ่น น่าคบ เข้ากับคนง่าย กระฉับกระเฉงว่องไว มีความสุข เป็นสีที่คอบควบคุมกล้ามเนื้อ แต่มีมากไปจะเย่อหยิ่ง ชอบเป็นที่ปรึกษาปัญหาให้ใครต่อใคร ชอบช่วยเหลือ และทำตัวให้เป็นประโยชน์อยู่เสมอ จิตใจสมถะ ชอบปิดทองหลังพระ คุณควรคบกับคนที่มีนิสัยคล้ายคลึงกัน ไม่งั้นคนอื่นจะเอาเปรียบคุณ

          ข้อเสีย ขี้เกียจ ใจน้อย มักถูกคนอื่นเอาเปรียบ 

     3. สีเหลือง : มีความคิดสร้างสรรค์ ฉลาด

          คุณเป็นคนคิดอะไรรวดเร็ว มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ เข้าสังคมง่ายปรับตัวเก่ง ชอบคุยถกเถียงปัญหา ชอบเรียนรู้ และทำอะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เป็นคนฉลาด หลักแหลม และเรียนรู้อะไรได้รวดเร็ว มีเมตตา รักเพื่อนมนุษย์ เป็นสีคุ้มกันโรคภัย มีพรสวรรค์ด้านการพูด งานที่ทำควรเกี่ยวกับการพูดเป็นสื่อ เช่น ครู เซลล์แมน นักการทูต ที่ปรึกษา ฯลฯ หรืองานอาชีพที่ต้องใช้คำพูดเป็นหลัก

          ข้อเสีย จับจด ขี้อาย โกหกเก่ง 

    4. สีเขียว : รักษาโรค

          คุณเป็นคนรักสงบ ละเอียดอ่อน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น จิตใจดี มีพลังจิต ไว้วางใจได้ คุณอาจมีลักษณะภายนอกหงิมๆ หรือเรียบง่าย แต่ส่วนลึกแล้วดื้อน่าดู คุณเป็นพวกสู้งาน หนักเอาเบาสู้ มีความสามารถในการใช้มือ เป็นสีแห่งความสมดุลและปรับตัว

          ข้อเสีย ดื้นรั้น ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

   5. สีน้ำเงิน : เป็นได้ทุกอย่าง

          คุณเป็นพวกมองโลกในแง่ดี แม้ชีวิตจะลุ่มๆ ดอนๆ ไปบ้างแต่ยังยิ้มสู้เสมอ เชื่อมั่นในตนเอง ซื่อตรง พยายามยืนหยัดด้วยตัวเอง แสงออร่าของคุณจึงกว้างและสว่างไสวเสมอ ทำให้กระชุ่มกระชวยดูอ่อนกว่าวัย

คุณมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ปากกับใจตรงกัน รักการผจญภัย มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ ชอบพบปะผู้คน และสนใจการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม มีพรสวรรค์หลายๆ ด้าน


          ข้อเสีย ชอบทำงานหลายๆ อย่างในคราวเดียวกัน จึงกลายเป็นคนจับจด ทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่างนอกจากนั้นยังเป็นพวกชีพจรลงเท้า และขาดความอดทนอีกด้วย 

  6. สีคราม : มีความรับผิดชอบสูง

          คุณชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์ ช่วยเหลือผู้อื่น ชอบรับผิดชอบงาน จิตใจโอบอ้อมอารี เป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ ไม่เห็นแก่ตัว เป็นสีของพลังจิต สัมผัสที่ 6 โทรจิตต่างๆ มีความคิดฉลาดล้ำลึกและสร้างสรรค์ นิยมความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ มีความจริงใจ ชอบค้นหาสัจจะความจริงของชีวิต

          ข้อเสีย ปฏิเสธใครไม่เป็น ควรหาเวลาเป็นตัวของตัวเองบ้าง มีมาตรฐานการทำงานสูง จึงมักหงุดหงิดกับอะไรๆ ที่ไม่ได้ตามมาตรฐานของตนเอง

  7. สีม่วง : ฉลาดล้ำลึก และสันโดษ

          คุณมีจิตใจละเอียดอ่อน สนใจในศาสตร์ลึกลับจนบางครั้งดูเหมือนเป็นคนลึกลับ คุณมีประสาทสัมผัสที่ 6 สูง รักสันโดษจนดูเหมือนคุณจะเข้ากับใครไม่ได้ มักมีปัญหาบริเวณท้อง

          ข้อเสีย มักดูถูกความคิดผู้อื่น และเก็บความรู้สึกมากเกินไป 

 8. สีชมพู : นักบริหาร นักธุรกิจ
          คุณเป็นคนมีความตั้งใจจริง แต่ค่อนข้างดื้อรั้น วางมาตรฐานตัวเองไว้สูง มุ่งมั่นที่จะให้บรรลุเป้าหมายและความสำเร็จ ถ้าคุณรู้ว่าเป็นฝ่ายถูก คุณจะยืนหยัดต่อสู้อย่างไม่ยอมถอย มีพลังที่แจ่มใส รักสงบ เต็มไปด้วยความรัก โรแมนติก อารมณ์ขัน ถ่อมตน ปลอบประโลมคนเก่ง


          ข้อเสีย มักจะใจคอโลเล อาชีพของคุณจึงต้องเกี่ยวกับการบริหารและความรับผิดชอบ 

9. สีทองเหลือง : นักสังคมสงเคราะห์

          คุณเป็นคนอ่อนโยน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นทั้งนักปราชญ์และเป็นคนมีคุณธรรมเต็มเปี่ยม มีความสุขมากที่สุดเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นคนมีความสุขและมองโลกในแง่ดี

          ข้อเสีย ปฏิเสธใครไม่เป็น จึงถูกเอาเปรียบบ่อยๆ ควรรู้จักปฏิเสธบ้าง



    11. สีเงิน : นักอุดมคติ

          คุณมีประสาทสัมผัสที่ 6 มีศักยภาพสูงในหลายๆ ด้าน
เต็มไปด้วยความคิดแปลกๆ ใหม่ๆ ชอบฝันหวาน แต่คุณมักจะฝันมากกว่าลงมือทำจริงๆ เป็นคนซื่อสัตย์ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มองโลกในแง่ดี ถ้ามุมานะสร้างความฝันให้เป็นความจริงคุณจะไปได้ไกลมากทีเดียว

         ข้อเสีย ขี้เกียจ และบางครั้งจะเครียดจนใครๆ ไม่กล้าเข้าใกล้ ควรหาเวลาพักผ่อน ฝึกสมาธิ หรือโยคะ 

 22. สีทอง : ไม่มีขอบเขตจำกัด
          คุณสามารถทำเรื่องใหญ่ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก หรือทำงานใหญ่ให้กลายเป็นเรื่องปอกกล้วยเข้าปาก คุณจะประสบความสำเร็จไปแทบทุกเรื่อง เป็นคนมีเสน่ห์จูงใจ ทำงานหนักเอาเบาสู้ มีเป้าหมาย ในการทำงานที่แน่นอน มีอุดมคติและความสามารถสูง เป็นผู้นำสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การฝึกลมปราณในระดับพื้นฐาน

การฝึกลมปราณในระดับพื้นฐาน

   ใครที่ชอบอ่านหนังสือหรือดูหนังประเภทนิยายกำลังภายใน บางคนคงคิดว่าเป็นเรื่องโม้ แต่บางคนคงเชื่อว่า "ศาสตร์เร้นลับเช่นนี้ต้องมีจริงแน่ๆ" เมื่อก่อน ตนเองพยายามเสาะแสวงหาตำราประเภทนี้เป็นภาษาไทย กลับหาไม่พบ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นคนจีนในเมือง

ไทยส่วนใหญ่จะเก็บวิชาพวกนี้เอาไว้เป็นความลับ แต่โชคเข้าข้างตัวเอง นั่นก็คือ ชาวจีนและญี่ปุ่นโพ้นทะเล  มีแนวคิดที่ว่า  ศาสตร์เร้นลับประเภทนี้  เมื่อ สมัยก่อนต้องปิดบัง  เนื่องจากผู้ที่ได้ความรู้ไป สามารถกลายเป็นเจ้ายุทธจักร์ได้ และหากเป็นผู้ไร้คุณธรรมแล้วด้วยละก็ จะสร้าง

ความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นได้เป็นอย่างมาก  แต่ในช่วงหลังๆนี้ชาวจีนและ ญี่ปุ่นเหล่านั้น ต่างก็ตระหนักดีว่า "วรยุทธ์โบราณ ไม่สามารถต้านทานอาวุธปืนหรืออาวุธที่ร้ายแรงสมัยใหม่อย่างอื่นได้"  ดัง นั้นพวกเขาจึง  นำศาสตร์โบราณเหล่านี้ออกมาเผยแพร่โดยการเปิดสำนักสอน หรือ

เขียนตำราไว้เป็นภาษาอังกฤษ  ซึ่งบ่อยครั้งที่ความรู้ในเรื่องศาสตร์เหล่า นี้ สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นอาการป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ อีกทั้งยังนำมาใช้ปรับปรุงสุขภาพ และคงไว้ซึ่งความอ่อนวัยได้เช่นกัน

หลักการสำคัญในการฝึกลมปราณ (สาระสำคัญของวิชา) พอที่จะสรุปได้ 4 ประการคือ

1.  ตั้งสมาธิอยู่ที่จุด dantian (ภาษาจีนกลาง) หรือ tanden (ภาษาญึ่ปุ่น)
2.  ส่ง qi (ภาษาจีนกลาง) หรือ ki (ภาษาญี่ปุ่น)  (พลังลมปราณ) ให้แพร่กระจายออกไปไกลสุดสายตา และครอบคลุมจักรวาล
3.  ผ่อนคลาย (ร่างกายและจิตใจ) ให้มากที่สุด
4.  ทำให้น้ำหนักตัวที่ทุกจุด ให้ใฝ่หาที่ต่ำ

ก่อนที่จะเขียนต่อไป ก็ขอให้นิยามศัพท์บางคำก่อน

qi คืออะไร

คนจีนเรียกพลังชีวิตว่า “ชี่” จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า “ขี่” ภาษาสันสกฤตใช้คำว่า “ปราณ” (prana) ส่วนคนญี่ปุ่นเรียกพลังชีวิตว่า “ กิ” (ki) และในภาษากรีกเรียกว่า “ นูมา” (pneuma)

qi หรือลมปราณมีความละเอียดดุจใยไหม  มีสภาพคล้ายของเหลว, ของไหลแก๊ส และมีคุณสมบัติในเชิงไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ศาสตร์การแทงเข็ม (acupuncture) เป็นการปรับเปลี่ยนดุลยภาพของ qi ในอวัยวะต่างๆ  จึงรักษาโรคได้  โดยอาศัย The Law of the Five

Elements (หลักการแห่งธาตุทั้ง 5) ใน Daoism (Taoism หรือลัทธิเต๋า)


พลังชี่ทั้ง ๓

ในคัมภีร์อี้จิงเก่าแก่ของจีน กล่าวว่าคนเราสัมพันธ์กับชี่ 3 ประเภท หรือ พลังทั้ง 3 คือ พลังชี่ของฟ้าหรือสวรรค์ พลังชี่ของดินหรือของโลก และพลังชี่ของมนุษย์

1. พลังชี่ของฟ้าหรือชี่สวรรค์ คือพลังธรรมชาติที่อยู่บนท้องฟ้าและในจักรวาล เช่น พลังจากดวงอาทิตย์ แรงดึงดูดจากดวงจันทร์และดวงดาว พลังงานที่เกิดจากลม พายุ สายฝน ก้อนเมฆ และอากาศทั้งหมด
2. พลังชี่ของดินหรือชี่ของโลก คือ พลังธรรมชาติที่อยู่บนโลก ทั้งบนดินและใต้ดิน ก้อนหิน ดินทราย สายน้ำ แร่ธาตุ ต้นไม้ และสัตว์ต่าง ๆ
3. พลังชี่ของมนุษย์ ความจริงชี่ของคน ก็จัดเป็นชี่ของโลกด้วยเช่นเดียวกับชี่ของสัตว์และต้นไม้ แต่เพราะมนุษย์แต่ไหนแต่ไรมา เห็นว่าตนเองแตกต่างจากสัตว์และพืช

จึงแยกตัวเองออกมาเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะอย่างที่พิเศษกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และเพื่อสามารถศึกษาค้นคว้าให้เกิดชุดความรู้ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการบำบัดรักษาตัวเองด้วย

ชี่ก็คือชีวิต พลังชี่ก็คือพลังแห่งชีวิต ชี่คือสิ่งมีอยู่แล้วในร่างกายของเรา ต่อไปจะเรียกชี่ว่าปราณนะครับ

ตั้งแต่เกิดเมื่อมีพลังปราณจึงมีชีวิต เมื่อสิ้นชีวิตพลังปราณก็จะหายไป

เราจะแบ่งปราณในตัวเราออกเป็น3ชนิดด้วยกันคือ

เว่ยชี่ - หมายถึงปราณที่แล่นอยู่นอกเส้นชีพจรหรือเส้นเลือดทำหน้าที่ในการบำรุงเลี้ยง ร่างกายให้เกิดความอบอุ่นรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ป้องกันไม่ให้ถูกปัจจัยภายนอกเข้ามาจู่โจมร่างกายเรา
อิ๋งชี่ - หมายถึงปราณที่แล่นอยู่ในเส้นชีพจรหรือเส้นเลือด ซึ่งก็คือระบบการไหลเวียนของเลือดนั่นเอง
จั้นฝู่จือชี่ - หมายถึงพลังปราณที่อยู่ในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้อวัยวะนั้นๆทำงานได้

การดึงพลังงานจากแร่เหล็กไหลมาใช้ในด้านอภิญญา


การดึงพลังงานจากแร่เหล็กไหลมาใช้ในด้านอภิญญา

เหมาะสำหรับผู้ที่ฝึกมาแบบอานาปานุสสติและการเดินลมปราณจักร



ในทีนี้จะใช้เฉพาะเหล็กไหลเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นแร่ที่มีอานุภาพมากที่สุด การดูดพลังงานจากเหล็กไหลมาใช้นี้ สามารถทำได้ง่ายๆ แค่อุปจารสมธิก็ทำได้แล้วโดยอย่างแรกผู้ที่ทำการดูดพลังจากเหล็กไหลจะต้อง ฝึกสมาธิแบบอานาปานุสสติหรือแบบเดินลมปราณมาก่อน จึงจะสามารถดูดพลังได้โดยง่ายปกติร่างกายมนุษย์จะเป็นตัวดูดพลังงานรอบตัวมา ใช้อยู่แล้ว เช่น การหายใจ แต่การฝึกสมาธิแบบอานาปานุสสติหรือแบบเดินลมปราณ จะทำให้เราสามารถดูดพลังงานทางผิวหนังมาใช้ได้ ซึ่งเป็นพลังงานที่ละเอียดกว่ามาก โดยจุดที่รับพลังงานได้ดีจะอยู่ที่ ปลายนิ้ว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า จุดกลางหน้าผาก ณ ที่นี้จะเน้นเฉพาะ จุดรับพลังงานทางฝ่ามือ เพราะเป็นจุดที่รับและปล่อยพลังได้ง่ายที่สุด ส่วนจุดที่กลางหน้าผาก โดยส่วนมากจะเป็นจุดที่ไว้ใช้สำหรับรับข้อมูล การสื่อสาร การติดต่อต่างๆ เช่นโทรจิต การควบคุมสมองระยะไกล ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังจิตระดับการสั่งการ เพราะถือว่าเป็นจุดที่ใกล้สมอง เพื่อให้สมองได้ทำการแปลสัญญาณที่ได้รับมาและ เกิดการกระทำตอบกลับได้อย่างฉับพลันเป็นที่ทราบกันดีว่า พลังที่สามารถดูดซับจากรอบตัวมาได้นั้น เมื่อใช้ไปแล้วก็ต้องหมดไป จึงต้องมีการดูดซับซับเข้ามาเรื่อยๆ เพื่อสะสมไว้ใช้เหมือนกับการรองน้ำให้เต็มอยู่เสมอ เพราะถ้าหากพลังงานหมดย่อมส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย หรืออย่างหนักคือถึงขั้นเสียชีวิตได้พลังงานจากเหล็กไหลจึงเป็นพลังงานที่มี ความเสถียรมากที่สุดเพราะ ไม่มีวันหมด สามารถดูดพลังมาใช้ได้เรื่อยๆ โดยตัวเหล็กไหลเองเมื่อถูกดึงพลังงานไปก็จะสร้างพลังงานเพิ่มขึ้นเองได้ เรื่อยๆ ตรงกันข้ามคือเหล็กไหลจะมีพลังงานมากกว่าเดิม เพราะเหมือนเป็นการไปกระตุ้นให้เหล็กไหลเกิดการแตกตัว คือแตกพลังออกงานได้มากขึ้นเรื่อยๆ

การดูดพลังจากเหล็กไหลในไว้ในตัว
อย่างแรกให้สังเกตลมหายใจเข้าออกก่อน จนคิดว่าเราสามารถหายใจเข้าออกได้เบาในระดับหนึ่งแล้ว ทีนี้ให้สังเกตช่วงที่หายเข้าออกนั้น บริเวณมือเราทั้งสองข้างมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง (แนะนำให้ปิดพัดลมและหน้าต่างให้หมดก่อนจะได้สังเกตได้ง่ายขึ้น) อาการที่เกิดขึ้นคือสังเกตุว่า...

1. ขณะหายใจเข้าจะรู้สึกว่ามีกระแสบางอย่างดูดเข้ามาอยู่ในมือ
2. ขณะหายใจออกจะรู้สึกว่ามีกระแสบางอย่างถูกปล่อยออกไปทางฝ่ามือ
หรือจะรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างกำลังยืดออกและหดเข้าจากปลายนิ้วและฝ่ามือ

พูดง่ายๆ ก็คือจะรู้ได้ทางกายเนื้อเลยว่า มือเรากำลังหายใจเข้าออกอยู่พร้อมกับการหายใจเข้าออกทางจมูก แต่การหายใจเข้าออกทางฝ่ามือนี้ เป็นการดูดพลังงานรอบตัวเข้ามาและปลดปล่อยออกไป ในทษฤฏีเดียวกัน พลังของเหล็กไหลก็เช่นดียวกัน หากเรานำมาวางไว้บนฝ่ามือแล้วลองสังเกตดู จะรู้สึกได้ถึงพลังงานไฟฟ้าที่วิ่งเข้ามาตามเส้นเลือดต่างๆในช่วงที่หายใจ เข้า และคายพลังงานที่ไม่ใช้ออกไป แล้วก็ดูดเข้ามาอีกเรื่อยๆแบบนี้ เพื่อดูดพลังงานมาสะสมไว้ และใช้เมื่อยามที่ต้องการ โดยจุดที่จะเอาไว้สะสมพลังงานนั้นก็มีอยู่หลายจุด แต่ตัวข้าพเจ้าเองจะรวบรวมเก็บไว้ที่ฝ่ามือมากกว่าเพราะสะดวกต่อการใช้งาน โดยพลังงานนี้สามารถใช้ในการเล่นฤทธิ์ช่วยคนและการรักษาคนก็ได้

(ถ้าสังเกตเทวดาที่มีฤทธิ์มากๆ ฝ่ามือจะมีสีแดงจัดที่บ่งบอกได้ถึงมีพลังงานจำนวนมากรวมตัวกันบริเวณฝ่ามือ)

การฝึกแบบนี้ ถ้าถามว่ามีประโยชน์ตรงไหน ก็ตอบแบบเข้าใจง่ายๆคือ สามารถดูดพลังงานใช้ได้เร็วกว่าเดิมเมื่อพลังงานของเราใกล้หมด เรียกว่ามีประโยชน์อย่างมาก เพราะการจะสะสมพลังงานด้วยตัวเองนั้นต้องอาศัยเวลาพอสมควร ไม่เหมือนกับการดูดพลังงานจากเหล็กไหลมาใช้ เพราะประหยัดเวลาและรวดเร็วกว่ามาก

พลังงานนิวเคลียร์ กับ พลังจิต E = mc2

พลังงานนิวเคลียร์ กับ พลังจิต  E = mc2

  ช่องว่างของพลังจิตจริงๆแล้วก็มีอยู่กันทุกคนในตัวของเรา เป็นพลังงานเล็กๆ แต่ถ้าเราควบคุมมันได้ก็จะสามารถขยายผลออกมาได้ ลองอ่านบทความนี้ดูแล้ววิเคราะห์ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
(คัดบางส่วนมาจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ นิวเคลียร์ เป็นคำคุณศัพท์ของคำว่า นิวเคลียส ซึ่งเป็นแก่นกลางของอะตอมธาตุ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน และนิวตรอน ซึ่งยึดกันได้ด้วยแรงของอนุภาคไพออน
พลังงานนิวเคลียร์ หมายถึง พลังงานไม่ว่าลักษณะใดๆก็ตาม ซึ่งเกิดจากนิวเคลียสอะตอมโดย
  1. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น (Fission) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน
  2. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน
  3. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (Radioactivity) ซึ่งให้รังสีต่างๆ ออกมา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา และนิวตรอน เป็นต้น
  4. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ (Particle Accelerator) เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น
พลังงานนิวเคลียร์ บางครั้งใช้แทนกันกับคำว่า พลังงานปรมาณู นอกจากนี้พลังงานนิวเคลียร์ยังครอบคลุมไปถึงพลังงานรังสีเอกซ์ด้วย (พ.ร.บ. พลังงานเพื่อสันติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2508) พลังงานนิวเคลียร์ สามารถปลดปล่อยออกมาเป็นพลังงานหลายรูปแบบ เช่น พลังงานความร้อน รังสีแกมมา อนุภาคเบต้า อนุภาคอัลฟา อนุภาคนิวตรอน เป็นต้น

ความว่าด้วยสมดุลของมวล-พลังงาน ไอน์สไตน์ปรับปรุงสมการสัมพัทธภาพพิเศษของเขาจนกลายมาเป็นสมการอันโด่งดัง ที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ E = mc2 ซึ่งบอกว่า มวลขนาดเล็กจิ๋วสามารถแปลงไปเป็นพลังงานปริมาณมหาศาลได้ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดการพัฒนาของพลังงานนิวเคลียร์

 

พินัยกรรมทางปัญญาของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ได้กล่าวถึงพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาแห่งสากลจักรวาล รองรับได้กับความต้องการของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยในช่วง ๑ ปีก่อนที่ไอน์สไตน์จะจากโลกนี้ไป มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของเขาชื่อเรื่อง “The Human Side” มีเนื้อหาดังนี้
"…ศาสนาในอนาคตจะเป็นศาสนาแห่งสากลจักรวาล เป็นศาสนาที่ข้ามพ้นความเชื่อที่เป็นตัวเป็นตนของพระเจ้า และหลีกเลี่ยงความเชื่อที่ศรัทธาแบบหัวรุนแรงโดยไม่พิสูจน์ และเรื่องความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับโลกมนุษย์ แต่จะเป็นศาสนาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติและจิตวิญญาณ โดยมีพื้นฐานมาจากความรู้สึกทางศาสนาที่มาจากประสบการณ์ที่ได้ประสบกับสรรพ สิ่ง ทั้งจากธรรมชาติและจิตวิญญาณ ด้วยนัยความหมายที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งพระพุทธศาสนาสามารถให้คำตอบในสิ่งที่พรรณนามาดังกล่าว ถ้าจะมีศาสนาใดที่รองรับได้กับความต้องการของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ศาสนานั้นก็คือ พระพุทธศาสนา…."

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ วิเคราะห์ การนั่งสมาธิ

:: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวก่อนตายว่า ::

"พลังสมาธิเป็นพลังที่มีอำนาจที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก" -ทำสมาธิเพียง 45 นาที จะเกิดกระแสไฟฟ้าในร่างกายสูงกว่าค่าที่วัด ได้จากคลื่นหัวใจ (EKG) 10,000 เท่า สูงกว่าค่าคลื่นสมอง 100,000 เท่า -คลื่นแสง (ซึ่งมีอนุภาค phyton) มีความเร็ว 300,000 กม./วินาที เคยชื่อกันว่ามีความเร็วสูงสุดในโลก แต่ปัจจุบันเชื่อว่า คลื่นสมองขณะมีสมาธิเร็วกว่าแสง เพราะมีอนุภาพ trachyon เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงเพราะอนุภาคนี้เป็นกลาง (ไม่มีประจุไฟฟ้า) ผ่านสนามแม่เหล็กได้โดยไม่ ถูกรบกวน -ขณะที่ท่านวาดภาพ หรือ เขียนหนังสือด้วยสมาธิจิต พลังสมาธิจะเป็น พลังงานสถิต อยู่ในนั้นได้นานแสนนาน เช่น ตรวจพบพลังงานสถิตบน ภาพวาดของลีโอนาโด ดาวินชี่ แม้เวลาผ่านไปเป็นศตวรรษแล้วก็ตาม -พลังสมาธิเป็นพลังงานที่ยิ่งใหญ่ เป็นมหาสมบัติทางธรรมชาติที่มี อยู่ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับสุขภาพ ความสงบเย็นเป็นสุข ความเจริญรุ่งเรือง และการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ตามที่เราปรารถนาได้อย่างมหัศจรรย์

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสะกดจิตระลึกชาติ

   การสะกดจิตระลึกชาติ

การเดินทางย้อนอดีตไปสู่ภพชาติเก่าที่ผ่านมาของมนุษย์กระทำได้โดยการใช้ “จิต” นั่นคือการนั่งสมาธิ หรือการฝึกจิตในหลากหลายวิธีจนเกิด “ญาณ” ในระดับสูงที่สามารถทำให้ผ่านกาลเวลา กลับไปสู่อดีตชาติของตนเองได้ นี่คือวิธีที่ “ผู้ปฏิบัติ” ทั้งหลายย่อมรู้อยู่ แต่ในปัจจุบันบรรดานักวิทยาศาสตร์ทางจิต รวมทั้งจิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงทั้งในต่างประเทศ และในเมืองไทยได้ทำการพิสูจน์และยอมรับแล้วว่า “การสะกดจิต” เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ซึ่งเป็นทางลัดไปสู่ “การระลึกชาติ” ได้เร็วขึ้น
เรื่องนี้เราได้รับการเปิดเผยจาก อาจารย์ชนาธิป ศิริปัญญาวงศ์ ประธานชมรมนักสะกดจิตแห่งประเทศไทย ซึ่งมีดีกรีประกาศนียบัตร นักสะกดจิตบำบัดจากสมาคมนักสะกดจิตแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา และมีประสบการณ์ในการเป็นนักสะกดจิตบำบัดอยู่เกือบ 10 ปี มีประสบการณ์ในการสะกดจิตระลึกชาติย้อนอดีตมาไม่น้อยกว่า 400 คน
การสะกดจิตระลึกชาติเป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ว่าเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือปาฏิหาริย์ใดๆทั้งสิ้น ชาติที่แล้วใครเคยเกิดเป็นอะไร ไปทำอะไร หรือทำกรรมอะไรมาบ้าง เมื่อสะกดจิตระลึกชาติแล้ว เราสามารถรู้ได้ทุกคนด้วยตัวของเราเอง แต่ก่อนอื่นหลายคนคงอยากจะทราบว่า การสะกดจิตมีมานานแค่ไหนแล้วในประเทศไทยเรามีการสะกดจิตกันนานหรือยัง เรื่องนี้ อาจารย์ชนาธิป อธิบายให้ฟังว่า “การสะกดจิตถ้าเอาแบบฝรั่ง เขาบอกสะกดจิตมีมาพร้อมโลก เพราะในคัมภีร์ไบเบิ้ลเขียนว่า พระเจ้าสร้างอดัมกับอีฟ ตอนสร้างอดัมพระเจ้าสะกดจิตอดัมให้นอนเพื่อให้เรียนรู้จากวิธีการนอน ทีนี้ในศาสนาพุทธผมสังเกตว่าแม้แต่พระพุทธเจ้าท่านก็สะกดจิตนะ โดยวิธีสวดมนต์นี่แหละ เสียงสวดมนต์เป็นเสียงสะกดจิต การสวดมนต์ในพุทธศาสนา การทำละหมาดในอิสลาม การร้องเพลงในโบสถ์ก็ถือเป็นการสะกดจิต ทีนี้เอาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวก็ถอยไปไม่นาน 70-80 ปี ก็มีคนเริ่มเอาการสะกดจิตมาใช้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวในยุโรป อังกฤษ เยอรมนี เดิมทีก็ยังไม่เข้าใจว่าการสะกดจิตคืออะไร บางคนก็บอกว่าเป็นอำนาจลึกลับ บางคนก็บอกเป็นพลังแม่เหล็ก แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วมันเป็นการโน้มน้าวจิตใจ เพราะฉะนั้นคำว่า “สะกดจิต” ซึ่งเดิมมาจากภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Hypnosis’ (ฮิปโนซิส) เดี๋ยวนี้เขาเปลี่ยนใหม่ใช้คำว่า ‘Suggestion’ คือการให้คำแนะนำหรือแปลว่าการโน้มน้าวจิตใจก็ได้ ผมจะเรียกว่า ‘การกล่อมเกลาจิตใต้สำนึก’เพราะฉะนั้นศาสตร์ตัวนี้ถือว่าใหม่ เดิมทีสมัยก่อนโดยทางการแพทย์ แพทย์ไทยยังมีระบุอยู่เลย บอกว่า การสะกดจิตเนี่ยมันได้ผลไม่ถาวรและรักษาโรคได้ไม่กี่โรค แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วตอนนี้มีการประชุมนักสะกดจิตโลก เขาบอกการสะกดจิตรักษาได้เยอะหลายโรคและมีผลถาวรด้วย” “ในเมืองไทยเราคนแรกที่พูดถึงการสะกดจิต ก็คือ ‘หลวงวิจิตรวาทการ’ ท่านแต่งหนังสือมหัศจรรย์ทางจิต เขียนเรื่องอำนาจลึกลับ พลังมหัศจรรย์อะไรต่างๆ ไว้ซัก 20 เรื่องมั้ง หนึ่งในนั้นมีเรื่องของการสะกดจิต อันนี้ถือว่าบันทึกไว้เป็นเรื่องเป็นราว แต่ว่าก็แค่เขียน ที่นี้เอาเป็นเรื่องเป็นราวจริงๆเนี่ยก็ 30 ปี ที่ผ่านมา คนแรกที่เอาการสะกดจิตมาทดลองและเขียนผลงานทางวิชาการเป็นหนังสืออย่างเป็น เรื่องเป็นราวคือ นพ.เชียร สิริยานนท์ เป็นจิตแพทย์ ท่านเอาการสะกดจิตมาทดลองและเผยแพร่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย แต่ตอนนั้นเนื่องจากว่ามันเป็นศาสตร์ใหม่ คนก็ยังรู้จักกันน้อย”
อาจารย์ชนาธิป ยังได้ให้ความเห็นถึงการระลึกชาติและรายละเอียดของการสะกดจิตระชาติว่า
“ผมมีความเห็นเหมือนกับคนในพระพุทธศาสนาทั่วๆไป ถ้าเชื่อในพระพุทธเจ้าก็น่าจะเชื่อได้ว่าการระลึกชาติมีจริง เพราะว่าถ้าไม่เชื่อว่าการระลึกชาติมีจริงก็ต้องบอกว่าพระพุทธเจ้าโกหก แต่ทีนี้ ในพระพุทธศาสนาก็บอกว่า โอ้โห...ต้องมีญาณมีอะไรถึงจะไประลึกชาติได้ ซึ่งนั่นก็เป็นการกระทำทางจิตต่อตัวเอง ซึ่งในทฤษฎีสะกดจิตเนี่ยมันจะตอบคำถามง่ายๆเลยว่า ถ้าเรากระทำทางจิตกับตัวเองเนี่ยมันยาก แต่ถ้ามีบุคคลอื่นมาช่วยกระทำทางจิตให้เราเนี่ยมันง่าย มันจะเร็วขึ้น เพราะฉะนั้นก็แปลว่าถ้าจิตสงบดำดิ่งลึกลงไป อยู่ในสภาวะที่พร้อมจะสื่อสารกับจิตใต้สำนึกได้ ก็มีแนวโน้มไปสู่การระลึกชาติภพที่ผ่านมาได้” ภาวะที่จิตสงบดำดิ่ง ขณะได้รับการสะกดจิตให้ระลึกชาตินั้นอาจารย์ชนาธิป กล่าวว่าเหมือนกับ “ภวังค์” ในภาวะที่ “จิตว่าง” ในระดับสูง ขณะที่เรานั่งสมาธิทำจิตให้สงบนั่นเอง และความนิยมในการสะกดจิตระลึกชาติสำหรับในเมืองไทยเวลานี้ก็มีการตื่นตัวและ ให้การยอมรับกันอย่างกว้างขวางหลายกลุ่ม “ความสนใจเรื่องสะกดจิตระลึกชาติปัจจุบันมีหมดเลยทุกกลุ่ม ทหาร หมอ อาจารย์มหาวิทยาลัย ด็อกเต้อร์ ชาวบ้าน แม่ค้า อยากรู้หมด เพราะฉะนั้นความอยากรู้เรื่องชาติภพที่แล้วเนี่ยไม่จำกัดกลุ่ม เพศ และวัย 60-70 ก็ยังอยากรู้ เด็กๆ 10 กว่าขวบ ยังเคยมาระลึกชาติ แต่ทุกคนที่มาให้สะกดจิตระลึกชาติ อาจทำได้ไม่ 100% จากประสบการณ์ของผมและก็เทียบกับผลงานทางวิชาการเรื่องระลึกชาติของนักสะกด จิตในต่างประเทศมันก็คล้ายๆกัน ในทุกๆ 10 คน จะมีอยู่ประมาณ 7-8 คน ที่สะกดจิตได้ อีก 2-3 คน สะกดไม่ได้มันเป็นความพร้อมของแต่ละคนขึ้นอยู่กับสภาวะทางจิตของเขา ทีนี้คนที่จะไประลึกชาติได้พบว่า สมมุติว่าสะกดจิตครั้งแรกเลย จะไประลึกชาติได้ใน 10 คนเนี่ย มีโอกาสทำได้แค่ 2-3 คน เท่านั้นเอง และมากน้อยไต่ระดับลงไปอีก และเห็นได้กี่ชาตินี่ในงานของคนอื่นก็มีไปได้เป็น 10 ชาติ แต่ตัวอย่างเท่าที่ผมรวมแล้วน่าจะประมาณ 300-400 คน ที่มาระลึกชาติกับผมและเท่าที่ผมพบก็ไปกันได้ซัก 5-6 ชาติ” สำหรับตัว อาจารย์ชนาธิปเองยังเคยมีประสบการณ์ในการสะกดจิตตัวเองให้ระลึกชาติมาแล้ว เหมือนกัน ซึ่งการสะกดจิตตัวเองให้ระลึกชาตินั้น อาจารย์บอกว่าหากศึกษาแล้วสามารถทำได้ไม่มีอันตราย เพียงแต่ว่าจะทำได้หรือไม่ได้เท่านั้นเอง ส่วนเรื่องราวในอดีตชาติที่อาจารย์ชนาธิปเคยย้อนไปดู อาจารย์ได้เล่าให้ฟังว่า “ผมเคยระลึกชาติตัวเองได้ซัก 2 ชาติ เริ่มที่ชาติก่อนหน้าโน้น เห็นว่าตัวเองเป็นผู้หญิงฝรั่งอ้วนกลมเหมือนฝรั่งสมัยโบราณเลยใส่ชุดสุ่ม มีลูกชาย 4 คน ลูกพวกนี้ขยัน เราก็เลี้ยงลูกอยู่แต่ในครัว พอลูกโตก็ออกจากบ้านไปเป็นทหารหมดเลย แต่การระลึกชาตินั้นไม่เห็นว่าใครเป็นสามี ไม่รู้ว่ามีสามีรึเปล่า แต่พอลูกออกไปหมดก็อยู่บ้านคนเดียว แล้วก็มีคำพูดแวบออกมาจากผู้หญิงคนนี้บอกว่า เป็นผู้หญิงน่ะไม่สนุกเลย พอมาอีกชาตินึง ก่อนหน้าชาติปัจจุบันเนี่ยเป็นผู้ชาย หน้าดูเป็นเอเชีย แต่ผมไม่รู้ว่าชาติไหนอาจจะเป็นฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโด หรือไทยแถวๆนี้คงจะรวย เพราะว่าแกมีสนามแบดมินตันในบ้าน แต่ว่าหน้าแกไม่มีความสุขเลย หน้าแกทุกข์มาก แล้วก็มาชาตินี้มันก็เลยทำให้ผมตอบคำถามตัวเองว่า อ้อ...เป็นไปได้ว่าชาติโน้นเป็นผู้หญิง แล้วก็รู้สึกว่าไม่สนุก ขอเปลี่ยนแล้วกัน พอมาเป็นผู้ชายก็ไม่สนุกอีกมันก็ไปสอดคล้องกับพุทธศาสนา คนเราเกิดมาเพราะ ‘อวิชชา’ คนเราเกิดมาเพื่อลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ เพื่อแสวงหาความสุขสูงสุดในชีวิต มาถึงตอนนี้ผมก็ตอบคำถามตัวเองนะ โดยเอาผลมาหาเหตุว่า มีความสุขหรือไม่มีความสุขก็ไม่เกี่ยวกับการเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ไม่เกี่ยวกับมีสตางค์ไม่มีสตาง ค์อยู่ที่ว่าเราทำใจเราให้เรามีความสุขได้หรือไม่ต่างหาก” “แล้วภาพที่เห็นระหว่างระลึกชาติมันก็เหมือนความฝันแต่ว่ามันจะมีข้อแม้อยู่ ก็คือ หนึ่งเราไม่ได้หลับไป สองเราไม่ได้คิดไปเองเพราะถ้าเราคิดไปเองเราจะไม่สงสัยในสิ่งที่เราคิดไปเอง คือผมจะไปคิดเองทำไมว่าชาติก่อนผมเป็นผู้หญิงน่ะ ถ้าเราคิดไปเองคนส่วนใหญ่น่าจะคิดไปประมาณว่า แบบเป็นเทวดาเหาะมา หรือชาติที่แล้วเป็นพระราชา เป็นเจ้าหญิงอะไรพวกนั้นน่ะ เพราะว่าหลายๆคนที่มาระลึกชาติกับผมเนี่ยมีหมดแหล่ะ เคยเป็นงูก็มี เป็นแพะก็มี เป็นกระต่าย สิงห์โตก็มี ซึ่งถ้าเขาคิดเองเขาจะคิดอย่างนั้นทำไม ใช่มั้ย เป็นควายยังมีเลย บางคนระลึกชาติปุ๊บเห็นภาพควายมา แถมยังรู้สึกด้วยว่า ควายตัวนั้นคือเขา” ฉบับหน้าจะมาติดตามกันต่อว่า บุญและกรรมในอดีตชาติจะตามมามีผลในชาติปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร

   การระลึกชาติเป็นปรากฏการณ์ปรจิตวิทยา

นักจิตวิทยาบางพวก กล่าวอ้างว่า การระลึกชาติเป็นปรากฏการณ์ปรจิตวิทยา ที่เกิดขึ้นในกลุ่มชนผู้เชื่อว่า มนุษย์เวียนว่ายตายเกิด เช่น ในกลุ่มชนผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธเป็น ต้น แต่ก็เคยมีปรากฏบางครั้งบางคราวในยุโรปเช่นกัน แม้ว่าผู้ที่คิดว่าตนระลึกชาติได้นั้นไม่ใช่พุทธหรือพราหมณ์ แต่ก็ปรากฏว่ามีชาวมุสลิมและคริสต์ระลึกชาติได้ ทั้งๆที่กระแสหลักในทั้งสองศาสนาไม่มีความเชื่อเรื่องนี้ [1] [2] [3] [4]
จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าศาสนามีบทบาทในปรากฏการณ์รำลึกชาติจริงหรือไม่
อย่างไรก็ตาม นักปรจิตวิทยาพยายามเสนอ โดยตั้งข้อสันนิษฐานว่า การระลึกชาตินี้เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผล ๒ ประการคือ
๑. การที่บุคคล ๆ นั้นได้นำข้อมูลออกมาจากจิตใต้สำนึก เป็นข้อมูลที่เคยได้ยินมาในอดีต แล้วลืมไป ต่อมาเมื่อตกอยู่ในภาวะภวังค์ (เช่นการสะกดจิตตนเอง หรือถูกสะกดจิต ที่เป็นไปในรูปแบบการนั่งวิปัสสนา เข้าทรง หรือ อื่น ๆ) ก็สามารถรำลึกถึงข้อมูลนี้ได้ ทว่าข้อมูลที่ได้มานั้น อาจผิดเพี้ยนไปด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ให้เป็นข้อมูลที่เกี่ยวตนเอง เช่นเรื่องของสตรีอเมริกันคนหนึ่งที่ระลึกชาติได้ว่า นางเคยเป็นสตรีชาวไอร์แลนด์ในอดีตเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว เมื่อถูกสะกดจิต นางก็สามารถร้องเพลงและเต้นรำแบบไอริชได้ อีกทั้งยังสามารถพูดภาษาไอริชได้อีกด้วย นักวิทยาศาสตร์สาขาพาราจิตวิทยาจึงศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นกับสตรีคนนี้ด้วย ความสนใจ แต่เมื่อได้สืบประวัติของนาง ก็ทราบผลมาว่าในอดีต นางเคยมีเพื่อนบ้านที่มาจากไอร์แลนด์ จึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า นางอาจเคยรู้เรื่องของไอร์แลนด์มาไม่มากก็น้อย การระลึกชาติของนางจึงอาจเป็นเพียงการระลึกถึงเรื่องที่นางเคยได้ยินมา แต่นางคิดว่าเกิดขึ้นกับตนจริง ๆ นางอาจจะไม่ได้ตั้งใจโกหก
๒. การการอ้างระลึกเพื่อเรียกร้องความสนใจ หากศึกษาการระลึกชาติของเด็กในอินเดีย อาจเป็นไปได้ว่า เด็กที่ระลึกชาติได้นั้น ส่วนมากจะเป็นเด็กฉลาด ที่มีปัญหาทางครอบครัว และพฤติกรรมอันนี้จะเพียงแค่ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะหายไป เด็กบางคนสามารถนำหลักฐานต่าง ๆ มาแสดงว่าตนเคยมีชีวิตอยู่ในอดีตจริง แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า เด็กเหล่านั้นเคยฟังผู้ใหญ่พูดเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอดีตขณะที่ยังเป็นเด็ก เล็ก ต่อมาอีกหลายปี เด็กคนนั้นก็จะเอาเรื่องดังกล่าวมาเล่าใหม่เป็นของตน ผู้ใหญ่รอบข้างก็จะยอมรับว่าถูกต้อง โดยลืมไปแล้วว่า อันที่จริงตนนั่นแหละที่เคยเล่าเรื่องดังกล่าวให้คนอื่นฟัง และคนที่นั่งฟังอย่างสนใจในตอนนั้นก็คือหนูน้อยตัวเล็ก ๆ ที่พวกเขาคิดว่าเป็นผู้วิเศษ ระลึกชาติได้ในวันนี้ การระลึกชาติประเภทนี้ก็คือ ความทรงจำและความฉลาดของคน ในการที่จะหลอกคนอื่นเพื่อเรียกร้องความสนใจ (หากเป็นเด็ก) หรือ เพื่อหารายได้เข้าตัว (หากเป็นผู้ใหญ่)

    การเพิ่มขึ้นของความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ในสังคมตะวันตก

เนื่องจากหลักฐานที่พิสูจน์ได้ และกรณีศึกษามากมายที่ได้รับการวิจัยจนเป็นที่ยอมรับ ว่าการเวียนว่ายตายเกิดเป็นเรื่องจริง และเป็นธรรมชาติอันสามัญธรรมดาของวงจรชีวิต ทำให้ในปัจจุบัน สังคมตะวันตกเริ่มให้การยอมรับในเรื่องนี้ จากผลการสำรวจในหลายๆปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีผู้เชื่อในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าสังคมอเมริกันจะมีกลุ่มศาสนาคริสต์หัวรุนแรง ที่ครอบงำสังคมอยู่ในหลายภาคส่วน แต่ก็มีผู้ที่เชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน ซึ่งตัวเลขนี้ก็ใกล้เคียงกับตัวเลขรวมจากยุโรปตะวันตกเช่นกัน
ในยุโรปตะวันออก ซึ่งมีอิทธิพลของกลุ่มศาสนาหัวรุนแรงครอบงำน้อยกว่านั้น บางประเทศอย่างเช่นลิธัวเนีย มีผู้เชื่อในเรื่องนี้กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ในรัสเซีย มีผู้เชื่อกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ [5] [6]

    References

  1. ^ Reincarnation in Islam [1]
  2. ^ Druze belief in Reincarnation [2]
  3. ^ Ian Stevenson [3]
  4. ^ Children's past lives [4]
  5. ^ Reincarnation in Popular Western Culture [5]
  6. ^ WHO Believes in Reincarnation? [6]

   ข้อมูลเพิ่มเติม

วิธีสะกดจิตตัวเอง


วิธีสะกดจิตตัวเอง

บางท่านอาจเคยผ่านหูผ่านตาเรื่องสะกดจิตมาก่อน อาจเคยเข้ารับการอบรม หรือซื้อตำรับตำรามาอ่าน หลายรายที่ได้มีโอกาสได้คุยมักจะบอกว่าปฏิบัติไม่ได้ ต่อไปนี้เป็นทริก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการเตรียมความพร้อมก่อนจะฝึกสะกดจิตตัวเองเหมือนเรียน ถีบจักรยาน หลักการไม่มีอะไรมาก เพียงแต่รู้จักการทรงตัวขณะเรากำลังเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ถ้าไม่เริ่มต้นถีบจักรยานก็จะไม่มีวันเป็น และไม่มีวันรู้ถึงประสบการณ์ที่จะต้องเคลื่อนไหวตัวเองหนีแรงโน้มถ่วง คิดว่ายกตัวอย่างการถีบจักรยานกับการฝึกสะกดจิตน่าจะไปด้วยกันได้ เพราะการสะกดจิตให้เป็นนั้นไม่ยาก แต่ต้องฝึกหัด และต้องเข้าถึงประสบการณ์ของสภาวการณ์ขณะตัวเองอยู่ภายใต้การสะกดจิตก่อน ไม่มีตำราเล่มไหนในโลก หรืออาจารย์ท่านใดอธิบายชัดเจนได้ หรือสมจริงสมจังได้เหมือนเราประสบเอง ฉะนั้นหลายคนที่ซื้อหนังสือมาศึกษาเองมักจะล้มเหลวไม่เป็นท่า ขอตั้งสังเกตอย่างนี้

1. ตำราที่ซื้อมามักเป็นหนังสือแปล ถ้าคนเขียนมั่ว คนแปลก็ยิ่งมั่ว โดยเฉพาะนักแปลเรื่องทำนองนี้ในเมืองไทย ผมกล้าบอกว่าไม่มีใครรู้จริงสักคน สักแต่แปลออกมา
2. หนังสือบางเรื่องเขียนเกินเลยความเป็นจริง และโดยเฉพาะเขียนวกไปวนมาอวดอ้างแต่อภินิหาร ไม่บอกเคล็ดลับวิธีการฝึกปฏิบัติที่ง่าย ๆ และถูกต้อง ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องเขียนให้คนอ่านหลงใหลเพ้อฝันไปด้วย คงอยากให้คนคิดว่าตัวเองเป็นมนุษย์เทพเป็นคนที่ติดต่อกับพลังอำนาจบางอย่าง ได้เป็นพวกที่อ้างจักรวาลอ้างจิต พวกนี้ไม่มีอภินิหารอะไรหรอกครับ ยกมาอวดอ้างไปวัน ๆ
3. หนังสือบางเล่มมักเอาเรื่องความเชื่อ ลัทธิ และศาสนามาปะปนอย่างนี้เรียกมั่วแท้ ๆ ทั้งสองเรื่องไม่เกี่ยวกันเลย ถามง่าย ๆ ว่าถ้านักสะกดจิตมีกันได้ที่รัสเซียทำไมไม่โดนคอมมิวนิสต์จับไปประหารตั้ง 50-60 ปีก่อน ถ้าหากว่ามันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องศาสานาหรือลัทธิต่าง ๆ หนำซ้ำยังสนับสนุนการค้นคว้ากันเป็นล่ำเป็นสัน
4. หนังสือบางเล่มพยายามบอกผู้อ่านว่าสิ่งที่เขานำเสนอคือต้นฉบับ เป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือทำนองการสะกดจิตจะต้องเป็นอย่างงี้ ๆ ถ้าเป็นอย่างอื่นแปลว่าไม่ใช่ ถ้าไม่เหมือนกันแปลว่าไม่จริง ขอยกตัวอย่างการสะกดจิตบางเล่มที่ได้ต้นฉบับมาจากประเทศในญี่ปุ่น มักจะเอาเรื่องญาณเรื่องลมปราณ เรื่องโยคะ เรื่องพลังจักรวาล หรือเลยเถิดไปว่าจะสะกดจิตให้ได้ดีต้องนุ่งขามห่มขาว ต้องกินเจ ถือศีล ถามอีกทีคนรัสเซียที่เขาเก่ง ๆ การสะกดจิตน่ะเขารู้เรื่องปราณ เรื่องโยคะหรือเปล่าไม่รู้จักหรอกครับ ยิ่งฝรั่งอเมริกันที่สอนการสะกดจิตและมีสมาชิกเป็นล้านคนนี่ยิ่งไม่รู้จัก ใหญ่เลย ไม่ต้องทำชีวิตพิสดารหรอกถ้าใครบอกว่าเขาต้องทำอย่างนั้นหรือเป็นอย่างนั้น เพื่อจะได้ทำการสะกดจิตให้ดีขึ้น เขาโกหกครับ

ฉะนั้น ภายใต้ทฤษฏีของการสะกดจิต เราสามารถสะกดจิตตัวเองเพื่อให้มีสมาธิในการทำสิ่ง

ต่าง ๆ ได้ และถ้าการฝึกฝนอยู่ในระดับชั่วโมงที่สูงขึ้นจะทำให้ตัวตนของความมีสมาธินั้น อยู่กับเรา และเพิ่มความเข้มของมันเองโดยตลอด เหมือนเรียนขี่จักรยาน เมื่อเป็นแล้วก็จะไม่มีวันลืม แต่หากไม่นำเอามาใช้ก็เพียงแต่จะทำไม่สำเร็จหรือทำไม่ได้คล่องแคล่ว แต่เรารู้จักหลักการวิธีการของการสะกดจิตได้ตลอดไป เมื่อไหร่พร้อมหรือมีโอกาสก็กลับมารื้อฟื้นได้เสมอ ฉันใดก็ฉันนั้นการเป็นนักขี่จักยานที่เก่งนอกจากการเรียนกลวิธีปลีกย่อย แล้ว ต้องมีชั่วโมงที่ขี่มากด้วย ยิ่งฝึกมากก็ยิ่งชำนาญมาก แต่จะเก่งลึกซึ้งหรือไม่ก็ต้องรู้กลวิธีและนำเอามาใช้เอามาฝึกปรือ รู้อย่างเดียวไม่นำเอามาใช้ก็ไม่น่าจะทำได้ และเช่นกัน ถ้าเป็นแบบพื้น ๆ ก็เก่งแบบพื้น ๆ อยู่นั่นไม่ได้พัฒนาขั้นที่สูงขึ้น

การทำจิตใจให้สูงขึ้น การกินเจ หรือนุ่งขาวห่มขาวก็ย่อมทำได้ แต่ไม่ใช่แก่นสารของการสะกดจิตและการมีพลังจิต ถ้ารู้หลักการ คือการทำใจนิ่งไม่แกว่งก็เพิ่มพลังจิตได้อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว อย่าหลงเชื่อพวกที่ทำให้มันดูยาก หรือดูเหมือนว่าต้องมีบุญญาบารมี พวกนี้หลอกเอาเงินทั้งนั้น

นอกจากนี้ภาพที่เราเห็นในการแสดง คนที่อาจทำการสะกดคนอื่นด้วยอำนาจจิตแท้ ๆ ใน

โลกนี้อาจจะมีอยู่จริง แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา อยากจะเปรียบเทียบอย่างนี้ว่าใคร ๆ ก็อาจเรียนเพื่อเป็นนักบิน และสามารถประกอบอาชีพที่เก่งกาจได้แต่จะให้เป็นนักบินขับยานอวกาศ โอกาสที่นักบินทั้งโลกจะก้าวไปถึงขั้นนั้นมีเท่ากับหนึ่งในล้านฉะนั้นขอให้ ท่านเก่งแบบนักสะกดจิตทั่ว ๆ ไปเหมือนนักบินทั่วไปก็ใช้ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องคาดหวังถึงขั้นนั้น และขาดหวังจริงย่อมได้แต่จะไปถึงหรือไม่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะในสหรัฐอเมริกาเขาไม่ได้ให้ความสนใจกับคนพิสดารพวกนี้เลย เพราะคนพวกนี้เก่งแต่ตัว สอนคนอื่นไม่ได้ ฉะนั้นทางวิชาการเขาถือว่าเก่งแบบนั้นไม่เป็นวิทยาศาสตร์ เก่งแต่โชว์เก็บตังค์เหมือนเล่นละครสัตว์อย่างหนึ่ง ไม่มีประโยชน์เกินกว่าการทำให้ผู้ชมตื่นเต้นและเข้าใจผิดว่าเป็นอิทธิฤทธิ ปาฏิหาริย์

การเตรียมความพร้อมเพื่อการสะกดจิตตัวเองนี้ สำหรับผู้ฝึกหัดใหม่เพราะอันที่จริงแล้ว ผู้มีประสบการณ์มาก ฝึกฝนบ่อยจะเรียนรู้วิธีการทฤษฎีมากพอสมควร จะสามารถทำได้เกือบทุกเวลา และสถานการณ์ เรียกว่ายิ่งเก่งมากยิ่งทำได้โดยเวลาเร็วขึ้น และแม้ในสถานที่ที่ไม่น่าจะพร้อมเลยก็สามารถทำได้ ไม่งั้นจะมีคนเก่งถึงขั้นสะกดจิตสะกดจิตรูดแหวนรูดสร้อยแล้วรู้สึกมัน ไว้มีโอกาสดี ๆ แล้วจะเขียนเรื่องนี้อีกสักหนหนึ่ง เรื่องสะกดจิตรูดแหวนรูดสร้อยนี้ถ้าเราได้รู้ว่าเขาทำอย่างไร มีความเป็นมามากน้อยแค่ไหน และจะป้องกันอย่างไร เขามีกลเม็ดของเขาอยู่นิดเดียว เราก็มีกลเม็ดของเราอยู่นิดเดียวเหมือนกัน ซึ่งถ้าหากได้รู้แล้วรับรองไม่มีวันที่ใครก็สะกดจิตปลดทรัพย์ได้แน่ ต่อจากนี้ไปก็จะพูดถึงเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนสะกดจิตตัวเอง ซึ่งแบ่งเป็น 9 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม แสงไฟในห้องไม่จ้าเกินไปอากาสภาพในห้องให้ถ่ายเทได้สะดวกไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป และไม่มีเสียงดังอึกทึก
2. เตรียมร่างกายให้พร้อม ถ้าอาบน้ำชำระร่างกายได้ก็จะยิ่งดีมากออกกำลังกายเล็กน้อย ยืดเส้นยืดสาย 2- 3 นาทีใช้ได้แล้ว
3. ทำให้การฝึกความพร้อมในการสะกดจิตตัวเอง ก่อนเข้านอนทุกวันก่อนเวลาปกติ
4. เลือกนอนบนที่นอนที่ไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป
5. ถ้ามีแสงไฟอยู่ในห้อง หรือมีแสงไฟหลอดเข้ามาในห้องให้นอนหันไปคนละทิศกับแสงไฟ สีภายในห้องมีสีดทนอ่อน เช่น ฟ้า เขียว ให้ดีที่สุดคือม่วง ควรหลีกเลี่ยงสีแดง ส้ม สีร้อนแรง
6. การนอนควรนอนในท่าหงายเหยียดตัวออกไป ไม่หนุนหมอนหรือหนุนหมอนที่หนาที่สุด เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนรวมถึงศีรษะเป็นเส้นตรง ซึ่งช่วยในการหายใจได้สะดวกขึ้น ให้ขยับศีรษะให้แหงนขึ้นเล็กน้อย หรือในทางตรงกันข้าม หลีกเลี่ยงวิธีที่จะทำให้ศีรษะและลำคององุ้ม ซึ่งจะทำให้การเดินทางของลมหายใจจากจมูกถึงปอดติดขัดทำให้หงุดหงิดรำคาญ โดยเฉพาะออกซิเจนที่จะเข้าไปช่วยในการฟอกโลหิตก็จะลดน้อยลง
7. เมื่อนอนแล้วให้วางมือสบาย ๆ ข้างลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น การหงายฝ่ามือขึ้นก็เพราะนิ้วมือทั้งสิบ มีปลายเส้นประสาทที่ละเอียดอ่อนมากเราจะมีความรู้สึกละเอียดอ่อนและไวที่ เส้นประสาทปลายนิ้ว ฉะนั้นการตัดการรับรู้อื่น ๆ โดยหงายฝ่ามือเพื่อไม่ให้ปลายนิ้วมือสัมผัสกับสิ่งใด ก็เพื่อสามารถมุ่งสมาธิไปที่การสะกดจิตและสั่งจิตใต้สำนึกเพื่ออย่างเดียว
8. เท้าให้เหยียดยาวออกไป วางในลักษณะเกือบตั้งตรงทั้งนี้ทุกส่วนของร่างกายจะไม่มีอาการเกร็ง การบิด หรืออยู่ในอาการเหยียดออกไปจนสุด
9. ไม่ควรมีหมอนข้าง ตุ๊กตาวางพาดหรือถูกส่วนใดของร่างกายผ้าห่มถ้าจะใช้ห่มควรห่มคลุมถึงลำคอ ไม่ควรห่มแต่บางส่วนของร่างกาย

ก่อนที่จะเข้าสู่การสะกดจิต เมื่อจัดทุกอย่างพร้อมตามหัวข้อที่กำหนด ก็เชื่อได้ว่าเรา

ใกล้ความสำเร็จมากมากขึ้น ผู้ฝึกหัดสะกดจิตส่วนใหญ่มักจะเห็นข้อกำหนดปลีกย่อยนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย และไม่ค่อยยอมทำตาม ก็เลยไม่สามารถเข้าสู่สภาวะการถูกสะกดจิต แล้วก็พานไม่เชื่อวิธีนี้ ถ้าหัดถีบจักรยานทั้งที่รู้ว่ายังไม่เติมลมยางล้อให้เรียบร้อย แล้วเมื่อไหร่จะถีบเป็นละจ๊ะ

มาพูดเรื่องแบบฝึกหัดง่าย ๆ ก่อนการสะกดจิตตัวเองดีกว่า มีอยู่ 3 สิ่งที่ควรจะเรียนรู้และฝึกฝนก่อน คือ 1. ฝึกสูตรลมหายใจ 2. ฝึกมอง 3. ฝึกหลับดำดิ่งลึกลงไป ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดดังนี้

1. ฝึกสูดลมหายใจ

การฝึกสูดลมหายใจก็มีส่วนสำคัญทำให้เข้าสู่สภาวะหลับลึก และเปิดจิตใต้สำนึกได้ดี การฝึกสูดลมหายใจนี้ไม่ใช่ลักษณะที่ต้องมาท่องพุทโธหรือยุบหนอพองหนอ ให้เราสูบลมหายใจเข้าปอดช้า ๆ ลึก ๆ สามครั้ง เมื่อล้มตัวลงนอนทุกครั้งให้จินตนาการลมหายใจที่เข้าปอดเป็นควันสีขาว ควันสีขาวแทรกซึมเข้าไปถึงส่วนส่วนหนึ่งของร่างกายก็รู้สึกมีความสุขดึกด่ำ ถึงตรงนั้น ในขณะเดียวกัน ลมหายใจที่ผ่อนออกมาให้จินตนาการว่าเป็นควันสีดำ ลมหายใจที่ผ่อนเข้าไปเป็นควันสีขาวแต่เมื่อผ่อนออกมาเป็นควันสีดำก็เพราะ ความเหน็ดเหนื่อยและความท้อแท้ต่าง ๆ ในร่างกายได้ผสมเข้าไปกับลมหายใจแล้วกลายเป็นสีดำ แล้วดึงออกมาพร้อมกับลมหายใจ ฉะนั้นยิ่งหายใจจิตใจยิ่งเบิกบาน ยิ่งสูดลมหายใจเข้าก็ยิ่งรู้สึกอิ่มใจ ยิ่งสูดลมหายใจออกก็ยิ่งรู้สึกสดชื่นมีกำลังใจจะฝึกอย่างนี้อยู่ทุกวันก็ได้ และจะฝึกทุกที่ทุกเวลาก็ได้ เพียงแต่จินตนาการถึงควันดำควันขาวที่เข้าออกในร่างกาย โดยเรารับรู้และเตือนตัวเองเสมอว่าควันขาวคืออะไรเราก็มีความสดชื่นมีกำลัง ทำงานอย่างกระปี้กระเปร่าทุกวัน

2. ฝึกมอง

เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การสะกดจิตตัวเอง เมื่อเราล้มตัวลงนอนในบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยมีแสงไฟสลัว ๆ แล้ว ให้นึกถึงตัวเองกำลังง่วงนอน กำลังอ่อนเพลียลงในทุกขณะมีความรู้สึกอยากจะหลับและพักผ่อน แต่ให้ฝืนไว้ไม่ยอมหลับตา ให้มองไปที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งมีระยะความห่างไม่เกิน 2 เมตร ให้มองเหมือนเรากวาดสายตาไปที่ใดที่หนึ่งอย่างไม่ตั้งใจ มองไปเฉย ๆ ไม่จ้อง ไม่เพ่ง พินิจพิจารณาสิ่งของนั้น มองอย่างว่างเปล่า

เมื่อสายตาเมื่อยล้าก็อยากพักสายตาหรือเปลี่ยนไปมองอย่างอื่น ให้มองไปเรื่อย เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งซึ่งไม่แน่นอน อาจจะ ภายใน 2-3 นาที หรือ 10 นาที เราจะรู้สึกเมื่อยล้าสายตา เราจะเริ่มฝืนตัวเองที่เปิดเปลือกตาไว้ไม่ไหว เมื่อถึงจุดนั้นแล้วเราก็เริ่มที่จะค่อย ๆ ปิดเปลือกตาลงช้า ๆ เมื่อเราหลับตาลงสนิทแล้วเราจะรู้สึกมีความสุขและสบายใจที่ได้ปิดเปลือกตาลง ถ้าจนแล้วจนรอดมองวัตถุต่าง ๆ แล้วก็ยังไม่เห็นรู้สึกอะไรหรือหมดความอดทนเสียก่อน หรือมัวแต่ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้แทนที่คิดถึงแต่เรื่องอยากจะนอน เราก็ไม่สามารถผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ และก็จะฝึกเพื่อสะกดจิตตัวเองไม่ได้ ให้ค่อย ๆ ทดลองทำอย่างนี้ไป ไม่ต้องนึกต้องคิดอะไรมาก อย่าใจร้อน อย่าตัดตอน อย่าทดสอบ

ใช้เวลาสัก 7 วันต้องเห็นผล แล้วถ้าในแต่ละคืน ครั้งแรกไม่สำเร็จ ให้ทดลองทำอีกไม่เกิน 2 ครั้ง เกินจากนี้ถ้าเรายังไม่สำเร็จก็จะเริ่มเครียดจะวู่วามไปควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ จะท้อแท้ไปเอง อย่าเร่ง อย่าตัดตอน อย่าสงสัย และระแวง เพราะใคร ๆ คนอื่นทำกันได้ทั้งนั้น การสะกดจิตตัวเองเป็นสภาวะของการหยุดการรับรู้ ถ้าเรายังคงมีสิ่งต่าง ๆ โลดแล่นอยู่ในสำนึก ในจิตใจ ในสมอง เราก็จะทำไม่สำเร็จ ลองบอกกับตัวเองว่าจะหยุดนึกหยุดคิดเป็นเวลา 1 นาที ได้อย่างนี้แล้วดีเอง

3. ฝึกเข้าสู่ประสบการณ์หลับแบบดำดิ่งลึก

การฝึกเข้าสู่ประสบการณ์หลับแบบดำดิ่งลึกเป็นอีกระยะที่อยากขึ้นไปอีก ต้องฝึกในขั้นที่ 2 ให้ได้ก่อนแล้วจึงจะฝึกในขั้นนี้ได้ เพราะจะทำได้ในช่วงที่ต่อเนื่องกันเท่านั้น

เมื่อเราเข้าสู่การฝึกมองและปิดเปลือกตาลงอย่างมีความสุขแล้ว ให้จินตนาการถึงกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเอามาประยุกต์ตามตัวอย่างที่ตัวเองชอบและพอใจ ดังนี้

1. จินตนาการว่าตัวเองไหลไปตามท่อวงรูปเกลียวและไหลวนอยู่อย่างนั้นจนไม่มีที่

สิ้นสุด

1. จินตนาการว่าตัวเองอยู่ในลิฟต์ชั้นที่ 100 และกำลังมาชั้นที่ 1
2. จินตนาการว่าตัวเองกำลังยืนอยู่ที่บันไดเลื่อน บันไดเลื่อนกำลังเคลื่อนลงช้า ๆ
3. จินตนาการว่าตัวเองกำลังเดินอยู่ริมหาดทรายกลางแสงจันทร์
4. จินตนาการว่ากำลังว่ายน้ำไปข้างหน้า จะเป็นในแม่น้ำหรือทะเลก็ได้โดยมีเป้าหมายคือ

ว่ายตรงไปทางแสงจันทร์

1. จินตนาการว่ากำลังนั่งดูน้ำที่ไหลมาจากน้ำตก และกำลังไหลห่างเราออกไป

ให้เลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่สร้างจินตนาการทุก ๆ เรื่อง หรือทีละ 2-3 เรื่อง เพราะจินตนาการเหล่านี้ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการฝึกการหลับแบบดำดิ่งลึกด้วย จินตนาการ จินตนาการที่ขาดตอน ที่ไม่ต่อเนื่องและไม่ปะติดปะต่อกันย่อมไม่ต่างอะไรจากการฝึกทำตัวเป็นคน ฟุ้งซ่าน ซึ่งนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ในทางเปิดจิตใต้สำนึกแล้ว ยังเสียเวลาด้วย

มีผู้มารับคำแนะนำเพื่อบำบัดอาการเครียดตื่นกลัวท่านหนึ่งบอกว่าได้ไปเรียน รู้ฝึกฝนอยู่ทุกวันเป็นเวลานานครึ่งปี โดยเริ่มจาการฝึกลมปราณตามด้วยจินตนาการถึงมือร้อน เท้าร้อน และหน้าท้องร้อน เสร็จแล้วจินตนาการว่าตัวเองลงลิฟต์ชั้นที่ 20 ลงมาถึงชั้นที่ 1 แล้ว ปรากฏผลว่ารู้สึกเหมือนไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยจนรู้สึกท้อแท้

สิ่งที่ผู้นี้ได้รับการเรียนรู้มาถือว่าถูกต้องพออนุโลมได้ในเรื่องทฤษฎีการ สะกดจิต แต่สำคัญมากที่จะฝึกอย่างใดอย่างหนึ่ง กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยจินตนาการอย่างต่อเนื่องจนตัวเองหลับไป การสร้างเรื่องจินตนาการแบบขาดตอนไม่เป็นเรื่องเดียวกันก็ไม่ต่างอะไรจากนอน คิดฟุ้งซ่านเรื่องนั้นทีเรื่องนี้ที

การสร้างจินตนาการเพื่อเข้าสู่สภาวะการสะกดจิตตัวเองและสั่งจิตใต้สำนึกได้ ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องในเรื่องเดียวกัน และควรอยู่ในบรรยากาศที่เย็นสบายแสงสลัว ๆ และหากรู้สึกกลัว เปลี่ยวเหงา อาจจะจินตนาการว่ามีเพื่อนหรือคนรักหรือคนที่เราไว้วางใจร่วมเดินทางไปกับ เราด้วยก็ได้ ให้ฝึกทำอย่างนี้ให้บ่อยและให้นานมากที่สุด เราจะรู้ด้วยตัวเองว่าเรารู้สึกอิ่มใจสบายใจและมีความสุขที่จะเพลิดเพลินไป กับจินตนาการนี้ เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกอึดอัด หงุดหงิดหรือเบื่อหน่าย แสดงว่าเรายังไม่สามารถเข้าสู่สภาวะหลับลึกแบบดื่มด่ำได้ เพราะผู้ที่เข้าสู่สภาวะนี้ได้จริงจะมีความสุข และเมื่อถึงจุดหนึ่งจะมีความรู้สึกอยากที่จะหยุดและเปิดเปลือกตาขึ้นมาเอง แต่ในจิตใจก็ยังรู้สึกอิ่มใจและมีความสุขที่ได้เข้าไปอยู่ในประสบการณ์ นั้น หรือไม่ก็รู้สึกได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และอยากจะหลับไปเอง

เมื่อท่านฝึกฝนทั้ง 3 ส่วนจนได้ผลเป็นอย่างดีแล้ว ก็จงเตรียมพร้อมที่จะสะกดจิตตนเองเพื่อเปิดจิตใต้สำนึกและสร้างข้อมูลเพื่อ การสร้างสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ

(ชมรมนักสะกดจิตแห่งประเทศไทย สะกดจิต สะกดจิตบำบัด พลังจิตพลังจิตบำบัด จิตสำนึก จิตใต้สำนึก พลังจิตใต้สำนึก สั่งจิต สั่งจิตใต้สำนึกแพทย์ทางเลือก จิตเหนือสำนึก จิตไร้สำนึก จิต เทคนิคจิตใต้สำนึก จิตวิทยา สุขภาพจิตจินตนาการ จินตภาพบำบัด จิตเป็นายกายเป็นบ่าว กล่อมเกลาจิตใต้สำนึก คลื่นสมองดนตรีบำบัด หลับยาก เครียดง่าย โมโหร้าย ใจร้อน กดดันตัวเอง คาดหวัง ตื่นเต้น วิตกท้อแท้ หดหู่ มะเร็ง ภูมิแพ้ สะเก็ดเงิน พาร์กินสัน หวาดกลัว พฤติกรรม นิสัยทัศนคติ ความเชื่อ พีระมิด เพนดูลั่ม หินบำบัด รักษา the society of thai hypnotists www.thaihypno.com hypnotism hypnosis hypnotizing hypnotize hypnotherapy imagination alternative medicine mind over matter Holistic healing intregeted curation brain wave music therapy science of vibration crystal bowl )

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พร้อมคำแปล

บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พร้อมคำแปล

พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่อง ของปรมัตถธรรม (มี ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน) (สภาวธรรม) ล้วน ๆ ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อกล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ส่วนที่เรียกชื่อว่า นาย ก นาย ข นั้นเรียกโดยสมมุติโวหารเท่านั้น ดังนั้น ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย

พระอภิธรรม ปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ (หัวใจพระอภิธรรม) ได้แก่

๑ คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มี ๔ กัณฑ์ คือ

๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกจิตและเจตสิกเป็นต้น

๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกรูปเป็นต้น

๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ แสดงธรรมที่เป็นแม่บท (มาติกา) ของปรมัตถธรรม

๔) อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจำแนกเนื้อความตามแม่บทของปรมัตถธรรม

๒ คัมภีร์วิภังค์ แสดงการจำแนกปรมัตถธรรมออกเป็นข้อ ๆ แบ่งออกเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น จำแนกขันธ์ (หมายถึง ขันธ์ ๕ อันประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก ส่วนวิญญาณขันธ์ ก็คือ จิต ดังนั้น ขันธ์ ๕ ก็คือ จิต เจตสิก รูป นั่นเอง) เรียกว่า ขันธวิภังค์

๓ ธาตุกถา แสดงการจัดหมวดหมู่ของปรมัตถธรรมโดยสงเคราะห์ด้วย ธาตุ (ธรรมชาติที่ ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)

๔ คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการและแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอัน เกี่ยวกับบุคคล

๕ คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ อันถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย

๖ คัมภีร์ยมก ในคัมภีร์นี้จะยกหัวข้อปรมัตถธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ

๗ คัมภีร์มหาปัฏฐาน แสดงเหตุปัจจัยและแสดงความสัมพันธ์อันเป็นเหตุ เป็นผลที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวงโดยพิสดาร

สรุป แล้ว พระอภิธรรมก็คือ ธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอัน แท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพานซึ่งเป็นจุดหมาย อันสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ธรรมชาติ ทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม หากแปลตามศัพท์ คำว่า อภิธัมม หรือ อภิธรรม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง ธรรมที่อยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรมล้วน ๆ โดยไม่มี บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร) เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงอยากให้ทำความเข้าใจไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ปรมัตถธรรมและบัญญัติธรรม นั้นต่างกันอย่างไร

จาก http://www.dharma-gateway.com




อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูง หัวใจของอภิธรรมจะกล่าวถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน สำหรับอภิธรรมส่วนใหญ่พระท่านจะสวดบทพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

มี อุปมาเอาไว้ว่า พระอภิธรรมปิฎกมีความสำคัญเปรียบเสมือนรากแก้ว พระวินัยปิฏกประหนึ่งลำต้น พระสุตตันตปิฎกเหมือน กิ่งก้านสาขา บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ พระอภิธรรมจึงมีความสำคัญที่สุด เป็นความรู้ระดับสูง ที่ท่านเรียกว่า ปรมัตถธรรม


คำอาราธนาธรรม

พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะตี กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อนุกัมปิมัง ปะชัง ฯ

พระสังคิณี

กุ สะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา, กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คัณธารัมมะณัง วา ระสารัมมะนัง วา โผฏฐัพพา รัมมะณังวา ธัมมา รัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนะรัพภะ ตัสมิงสะมะเย ผัสโส โหติ อะวิเข โป โหติ เย วา ปะนะ ตัสมัง สะมะเย อัญเญปิ อัตถิ ปฏิจจะสะมุปปันนา อรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา.


พระสังคิณี (แปล)

ธรรม ทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุคด้วยญาณเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใดๆ จะเป็นรุปารมณ์ก็ดี สัททารมณ์ก็ดี คันธารมณ์ก็ดี รสารมณ์ก็ดี โผฏฐัพพารมณ์ก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ในสมัยนั้น ผัสสะ ความฟุ้งซ้านย่อมมี อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใดแม้อื่น มีอยู่ เป็นธรรมที่ไม่มีรูป อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล.

พระวิภังค์

ปัญ จักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขักขันโธ, ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะ ตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิตธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา ทีนัง วา ปะณีตัง วา ยัง ทูเร วา สันติเก วา ตะเทกัชฌัง อภิสัญญูหิตวา อภิสังขิปิตวา อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ.


พระวิภังค์ (แปล)

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไร รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุปัน ภายในก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม นั้นกล่าวรวมกันเรียกว่ารูปขันธ์

พระธาตุกะถา

สัง คะโห อะสังคะโห, สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง สัมปะโยโค วิปปะโยโค, สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง.



พระธาตุกะถา (แปล)

การ สงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ สิ่งที่ไม่ให้สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้ สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากคือ การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไปจัดเป็นสิ่งที่สงเคราห์ไม่ได้.

พระปุคคะละปัญญัตติ

ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัติ อายะตะนะปัญญัตติ ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินทริยะปัญญัตติ ปุคคะละปัญญัตติ, กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม เจตะนา ภัพโพ อนุรักขะนาภัพโพ ปุถุชชะโน โคตระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต ปฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต อะระหา อะระหัตตายะ ปฏิปันโน.


พระปุคคะละปัญญัตติ (แปล)

บัญญัติ ๖ คือ ขันธบัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ สัจจบัญญัติ อินทรีย์บัญญัติ บุคคลบัญญัติ บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร มีการพ้นจากสิ่งที่ควรรู้ การพ้นจากสิ่งที่ไม่ควรรู้ ผู้มีธรรมที่กำเริบได้ ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้ ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา ผู้ที่เป็นปุถุชน ผู้รู้ตระกูลโคตร ผู้เข้าถึงภัย ผู้เข้าถึงอภัย ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ควร ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ไม่ควร ผู้เที่ยง ผู้ไม่เที่ยง ผู้ปฏิบัติ ผู้ตั้งอยู่ในผล ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหันต์.

พระกถาวัตถุ

ปุ คคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ อามันตา, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, นะ เหวัง วัตตัพเพ, อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, มิจฉา.


พระกถาวัตถุ (แปล)

(ถาม) ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ ความหมายที่แท้จริงหรือ
(ตอบ) ใช่... ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายที่แท้จริง
(ถาม) ปรมัตถ์ คือ ความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ
(ตอบ) ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้ ท่านจงรู้นิคคะหะเถิด ว่าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายอันแท้จริงแล้ว ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น คำตอบของท่านที่ว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์คือ โดยความหมายอันแท้จริงนั้นจึงผิด.

พระยะมะกะ

เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะลามูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา.


พระยะมะกะ (แปล)

ธรรม บางเหล่าเป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล อีกอย่าง ธรรมเหล่าใดมีกุศลเป็นมูล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล.

พระมหาปัฏฐาน

เห ตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อธิปะติปัจจะโย อนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากาปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย.


พระมหาปัฏฐาน (แปล)

ธรรม ที่มีเหตุเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้ ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย ธรรมที่มีธรรมเกิดก่อนเป็นปัจจัย ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย ธรรมทีมีฌานเป็นปัจจัย ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัย ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย.

นำมาจากงานเขียน คุณชงโค




พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

คำย่อพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือ สํ. วิ. ธา. ปุ. ก. ย. ป.
คำเต็มพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือ
๑. สํ. หมายถึง คัมภีร์พระธรรมสังคณี
๒. วิ. หมายถึง คัมภีร์พระวิภังค์
๓. ธา. หมายถึง คัมภีร์พระธาตุกถา
๔. ปุ. หมายถึง คัมภีร์พระปุคคลบัญญัติ
๕. ก. หมายถึง คัมภีร์พระกถาวัตถุ
๖. ย. หมายถึง คัมภีร์พระยมก
๗. ป. หมายถึง คัมภีร์พระมหาปัฎฐาน

คัมภีร์ที่ ๑ พระธรรมสังคณี
พระบาลี คำแปล
กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา, ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล, ธรรมทั้งหลาย
อพฺยากตา ธมฺมา ที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากฤต
กตเม ธมฺมา กุสลา? ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศาล เป็นไฉนเล่า?
ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ กามาวจรกุศลจิต สหรคตแล้วด้วยโสมนัส
จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ สัมปยุตแล้วด้วยญาณปรารภเอารูปารมณ์หรือ
โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ, หรือว่าสัททารมณ์ คันธารมณ์หรือ หรือว่า
รูปารมฺมณํ วา สฺททารมฺมณํ วา รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์หรือ หรือว่าธัมมา-
คนฺธารมฺมณํ วา รสารมฺมณํ วา รมณ์ ก็หรือว่าอารมณ์ใด ๆ เป็นจิตที่เกิดขึ้น
โผฏฺฐพฺพารมฺมณํ วา ธมฺมารมฺมณํ แล้ว ในสมัยใด,
วา ยํ ยํ วา ปนารพฺภ,
ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ, ในสมัยนั้น ผัสสะ ย่อมเกิด, อวิกเขปคือ
อวิกฺเขโป โหติ, เย วา ปน สมาธิย่อมเกิด, ก็หรือว่า นามธรรมเหล่าใด
ตสฺมึ สมเย, อญฺเญปิ อตฺถิ แม้เหล่าอื่นที่อาศัยกันเกิดขึ้นแล้วในสมัยนั้น
ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺนา, อรูปิโน มีอยู่, ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นกุศลฯ
ธมฺมา, อิเม ธมฺมา กุสลา.




ย่อสภาวะในคัมภีร์นี้
๑. กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นกุศล หมายเอา กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘

๒. อกุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอกุศล หมายเอา อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗

๓. อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอัพยากฤต หมายเอา วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ รูป ๒๘ นิพพาน ๑

๔. อารมณ์ ๖ หมายเอา รูป ๑ เสียง ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ โผฏฐัพพะ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อีก ๓ รวมเป็น ๗ เรียกว่า วิสัยรูป ๗

๕. ธัมมารมณ์ ๖ หมายเอา ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ พระนิพพาน ๑ และบัญญัติ

๖. ปโรปัณณาสธรรม ๕๖ คือ
ก. ผัสสปัญจกะ ๕ คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิตฯ
ข. วิตักกปัญจกะ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาฯ
ค. อินทรีย์อัฏฐกะ ๘ คือ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมสัสสินทรีย์ และชีวิตนทรีย์ฯ
ฆ. สัมมาทิฐิปัญจกะ ๕ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ
ง. สัทธาพลสัตตกะ ๗ คือ สัทธาพละ วีริยะพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละฯ
จ. อโลภติกะ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะฯ
ฉ. อนภิชฌาติกะ ๓ คือ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฐิ ฯ
ช. หิริทุกะ ๒ คือ หิริ โอตตัปปะ ฯ
ฌ. ปัสสิทธิทุกะ ๒ คือ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสิทธิ ฯ
ซ. กายลหุตาทุกะ ๒ คื กายลหุตา จิตตลหุตา ฯ
ญ. กายมุทุตาทุกะ ๒ คือ กายมุทุตา จิตตมุทุตา ฯ
ฎ. กายกัมมัญญตาทุกะ ๒ คือ กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา ฯ
ฎ.กายปาคุญญตาทุกะ คื ๑ คือ กายุชุกตา จิตตุชุกตา ฯ
ฐ. กายุชุกตาทุกะ ๒ คือ กายุชุกตา จิตตุชุกตา ฯ
ฑ. สติทุกะ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ ฯ
ฒ. สมถทุกะ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ ฯ
ณ. ปัคคาหทุกะ ๒๑ คือ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ฯ

๗. เย วา ปน ธรรมที่เกิดร่วมในจิตตุปบาทนั้นอีก ๙ คือ มนสิการ อธิโมกข์ ฉันทะ วิรตี ๓ และ อัปปมัญญา ๒ (รวม ๙)
หมาย เหตุ ปโรปัณณธรรม ๕๖ มีปรากฎอยู่ในพระธรรมสังคิณีบาลี หน้าต้น และเยวาปนธรรม ๙ มีปรากฎอยู่ในอรรถสาลินี ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๑๗๖ แม้ปโรปัณณาสกธรรม ๕๖ ท่านก็ได้แสดงไว้เหมือนกัน

รวมคัมภีร์นี้แล้วมี ๔ กัณฑ์ คือ
๑. จิตตุปปาทกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของจิตทั้งหมด
๒. รูปกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของรูปทั้งหมด
๓. นิกเขปกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของติกะ ทุกะ และสุตตันติกะทั้งหมด
๔. อรรถกถากัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของเนื้อความในติกะ ทุกะ และนิคมกถา ฯ

จบคัมภีร์พระธรรมสังคณี

คัมภีร์ที่ ๒ พระวิภังค์

ปญฺจกฺขนฺธา รูปกฺขนฺโธ, เวทนากฺขนฺโธ, สญฺญากฺขนฺโธ, สงฺขารกฺขนฺโธ วิญฺญาณกฺขนฺโธ. ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ? ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ, อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา, โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา, หีนํ วา, ปณีตํ วา, ยํ ทูเร วา, สนฺติเก วา, ตเทกชฺฌํ ภิสญฺญูหิตฺวา, อภิสงฺขิปิตฺวา อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ.


คำแปล
ขันธ์ ๕ ทั้งหลาย คือ รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์. ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น รูปขันธ์ เป็นไฉนเล่า ? รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันก็ดี, เป็นภายในหรือภายนอกก็ดี, หยาบหรือละเอียดก็ดี, เลวหรือประณีตก็ดี, หรือว่า รูปใดมีอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้, พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรวมรูปนั้นแล้วย่อเป็นอันเดียวกัน ตรัสเรียกว่า “รูป” นี้ว่า เป็นรูปขันธ์ ฯ

ย่อสภาวะในคัมภีร์นี้
ขันธ์ ๕ หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ฯ
๑. รูปขันธ์ หมายเอารูป ๒๘ ที่แจกออกเป็น มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔
๒. เวทนาขันธ์ หมายเอาเวทนาเจตสิก ๑ แจกออกเป็น สุข ทุกข์ อุเบกขาเวทนา
๓. สัญญาขันธ์ หมายเอาสัญญาเจตสิก ๑ ที่แจกออกเป็น รูป สัททะ คันธะ รสะ โผฏฐัพพะ และ ธัมมสัญญา ๖
๔. สังขารขันธ์ หมายเอาเจตสิก ๕๐ ที่เหลือปรุงแต่งจิตให้เป็นบุญบ้าง บาปบ้าง เป็นอัพยากฤตบ้าง
๕. วิญญาณขันธ์ หมายเอาจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง และรู้ธัมมารมณ์
๖. คำว่า “ขันธ์” ในที่นี้ หมายความว่า ขันธ์แต่ละขันธ์ ก็จะต้องกองด้วยลักษณะ ๑๑ อย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ จะเป็นรูปขันธ์หรือนามขันธ์ก็ตาม ก็จะต้องกองไว้ด้วยลักษณะ ๑๑ คือ อดีต, อนาคต, ปัจจุบัน, ภายใน, ภายนอก, หยาบ, ละเอียด, เลว, ประณีต, ไกล, ใกล้, ฯ
๗. ความหมายอีกอย่างหนึ่ง คำว่า “ขันธ์” หมายความว่า ทรงไว้ซึ่งความสูญเปล่า เน่าเสีย ทั้งนี้ก็เพราะว่า รูปทั้งหลายตั้งแต่เกิดปรากฏมาแต่ต้นจนกระทั่งเสียชีวิต ก็มิได้มีรูปใดหลงเหลืออยู่เลย กล่าวคือ เกิดมาเท่าไร ก็สูญไปหมดเท่านั้น แม้เวทนาคือสุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ ความจำเช่นจำรูป จำเสียง จำกลิ่น เป็นต้น สังขารคือความรัก ความชัง ความอิสสาริษยา เป็นต้น หรือวิญญาณที่เคยได้เห็น ได้ยิน ดมกลิ่น ลิ้มรส เป็นต้น เท่าที่เคยมีมาแล้วตั้งแต่หนุ่มสายตลอดจนเฒ่าแก่ ก็มิได้เหลืออยู่เลย เมื่อมีมาแล้วก็หมดไปอย่างนี้
ข้อที่ควรสังเกต อันที่จริง คัมภีร์วิภังค์ที่แปลว่า แจกคัมภีร์นี้องค์พระมหามุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงแจกไว้เพียงขันธวิภังค์เท่านั้น แต่ทรงแจกไว้ในพระคัมภีร์นี้ทั้ง ๑๘ วิภังค์ คือ นอกจากขันธวิภังค์แล้ว ก็ยังมี อายตนวิภังค์ ธาตุวิภังค์ สัจจวิภังค์ อินทรียวิภังค์ ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ สติปัฏฐานวิภังค์ สัมมัปปธานวิภังค์ อิทธิปาทวิภังค์ โพชฌังควิภังค์ มัคควิภังค์ ฌานวิภังค์ อัปปมัญญาวิภังค์ สิกขาปทวิภังค์ ปฏิสัมภิทาวิภังค์ ญาณวิภังค์ ขุททกวัตถุวิภังค์ และธัมมหทัยวิภังค์ และทรงแจกไว้ทั้งอภิธรรมภาชนีย์ และสุตตันตภาชนีย์ตลอดถึงปัญหาปุจฉกะ โดยแจกไปตามติกะ และทุกะ ซึ่งผู้ใคร่การศึกษา และปฏิบัติจะทราบรายละเอียดได้ในคัมภีร์วิภังค์นี้ทั้งหมด
ตัวย่างที่ควร ทราบ ทรงแจกขันธ์ตามภิธรรมภาชนีย์เป็นต้นว่า รูปขันธ์มีอย่างเดียวคือรูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุ, เป็นอเหตุกะไม่มีเหตุ ไม่ประกอบด้วย สัมปยุตเหตุเป็นต้นไปจนกระทั่งถึงธรรมที่ไม่เที่ยง และเป็นธรรมที่ถูกความเก่าคร่ำคร่าครอบงำแล้ว รวม ๔๔ อย่าง จากนั้นก็ทรงแจกเป็น ๒ อย่างไปจนถึงรูป ๑๑ อย่าง แล้วจึงทรงแจกเวทนาขันธ์ต่อไป จนครบขันธ์ ๕

สำหรับสุตตันตภาชนีย์นั้น ก็ทรงขยายรูป ๑๑ ลักษณะออกไปแต่ละอย่าง ๆ เช่นรูปที่เป็นอดีตก็ทรงแจกออกไปเป็น ๙ ลักษณะ มีอดีตล่วงไปแล้ว นิรุทธะดับไปแล้วเป็นต้น ทรงแจกทั้งมหาภูตรูป และอุปาทายรูป แม้นามขันธ์ก็ทรงแจกเช่นกัน และทรงแจกออกเป็นมูลหนึ่ง มูลสองเป็นต้นไป เมื่อจบแล้วก็ตั้งเป็นปัญหาปุจฉกะ คือตั้งเป็นคำถาม เช่นถามว่า รูปขันธ์ และนามขันธ์เป็นกุศลเท่าไร? อกุศลเท่าไร? อัพยา กฤตเท่าไร? แจกอกไปจนจบติกะแล้วก็แจกทุกะอีก ๑๐๐ จนจบ แม้ที่เหลืออีก ๑๗ วิภังค์ก็ทรงแจกโดยนัยนี้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นรายละเอียดต่าง ๆ ผู้ใคร่ในการศึกษาสภาวะของธรรมชั้นสูงจะทราบได้จากคัมภีร์วิภังค์ทั้งหมด ฯ

จบคัมภีร์วิภังค์

คัมภีร์ที่ ๓ ธาตุกถา

สงฺคโห อสงฺคโห. สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ. อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ, สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ, อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ, สมฺปโยโค วิปฺปโยโค, สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตตํ, วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ, อสงฺคหิตํ.


คำแปล
มาติกา คือแม่บท ๑๔ คือ ธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้ ธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ๑. ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ๑, ธรรมที่ประกอบกันได้ ธรรมที่ประกอบกันไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันได้และที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้และที่นับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบกันได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบกันได้ และประกอบกันไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับลงเข้ากันไม่ได้ ๑, และธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้ และนับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบกันไม่ได้ ๑ รวม ๑๔ นัย

ข้อที่ควรกำหนดมาติกา ๑๔ นัย
นัยที่ ๑ คือ สงฺคโห อสงฺคโห.
นัยที่ ๒ คือ สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ.
นัยที่ ๓ คือ อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ.
นัยที่ ๔ คือ สงฺคหิเต สงฺคหิตํ.
นัยที่ ๕ คือ อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ.
นัยที่ ๖ คือ สมฺปโยโค วิปฺปโยโค.
นัยที่ ๗ คือ สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตตฺตํ.
นัยที่ ๘ คือ วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ.
นัยที่ ๙ คือ สมฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ.
นัยที่ ๑๐ คือ วิปฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ.
นัยที่ ๑๑ คือ สงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ.
นัยที่ ๑๒ คือ สมฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ.
นัยที่ ๑๓ คือ อสงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ.
นัยที่ ๑๔ คือ วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ.

ตามนัยแห่งพระบาลีทรงจัดมาติกา ไว้ ๕ คือ :-
๑. นยมาติกา ๒. อัพภันตรมาติกา ๓. นยมุขมาติกา ๔. ลักขณมาติกา และ ๕. พาหิรมาติกา
ความประสงค์ของนัย
นัยที่ ๑ ทรงแสดงไขให้ทราบถึงธรรมที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้ และเข้ากันไม่ได้ แจกออกเป็น ๘ ตอน คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปปาทาทิ ติกะ ทุกะ
ยกตัวอย่างนัยที่ ๑ ที่ทรงแสดงไว้ในพระบาลีธาตุกถา ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๓ ข้อ ๖ ว่า
รูปกฺขนฺโธ กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิโต, รูปกฺขนฺโธ เอเกน ขนฺเธน รูปกฺขนฺโธ เอเกน ขนฺเธน เอกาทสหายตเนหิ เอกาทสหิ ธาตูหิ สงฺคหิโต, กตีหิ อสงฺคหิโต ? จตูหิ ขนฺเธหิ เอเกนายตเนน สตฺตหิ ธาตูหิ อสงฺคหิโต.

แปลว่า รูปขันธ์ นับสงเคราะห์เข้าได้ ด้วยขันธ์ทั้งหลายเท่าไร ? อายตนะทั้งหลายเท่าไร ธาตุทั้งหลายเท่าไร รูปขันธ์นับสงเคราะห์เข้าได้แล้วด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑ สงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยขันธ์เป็นต้นเท่าไร ? นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุทั้งหลาย ๗ (จากนั้นก็แจกอกไปเป็นมูละ ตั้งมูล ๑-๒-๓-๔ และ ๕ เป็นที่สุด)
หมายเหตุ ท่านที่ต้องการทราบรายละเอียดนัยมาติกาทั้ง ๑๔ นัยนี้ โปรดตรวจดูได้ ในพระบาลี และ
อรรถกถาของธาตุถถานี้ต่อไป สำหรับในที่นี้ขอแสดงไว้พอเป็นทัสนนัยเท่านั้น ฯ

จบคัมภีร์ธาตุกถา

คัมภีร์ที่ ๔ ปุคคลบัญญัติ

ฉ ปญฺญตฺติโย. ขนฺธปญฺญตฺติ, อายตนปญฺญตฺติ, ธาตุปญฺญตฺติ สจฺจปยฺญตฺติ, อินฺทฺริยปญฺญตฺติ, ปุคฺคลปญฺญตฺติ, กิตฺตาวตา, ปุคฺคลานํ ปุคคฺคลปญฺญตฺติ ?
สมยวิมุตฺโต อสมวิมุตฺโต กุปฺปธมฺโม, อกุปฺปธมฺโม, ปริหานธมฺโม, อปริหานธมฺโม, เจตนาภพฺโพ, อนุรกฺขนาภพฺโพ, ปุถุชฺชโน, โคตฺรภู, ภยูปรโต, อภยูปรโต, ภพฺพาคมโน, อภพฺพาคมโน, นิยโต, อนิยโต, ปฏิปนฺนโก, ผเลฏฐิโต, อรหา, อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน.


คำแปล

บัญญัติ ๖ คือ ขันธบัญญัติ, อายตนบัญญัติ, ธาตุบัญญัติ, สัจจบัญญัติ, อินทริยบัญญัติ, ปุคคลบัญญัติ มีอยู่ การบัญญัติบุคคลว่าเป็นปุคคลบัญญัติ จะมีได้ ด้วยประมาณเท่าไร ? แก้ว่า จะมีได้ ด้วยประมาณเท่านี้ คือ
บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากสมัย, บุคคลผู้ไม่พ้นวิเศษแล้วจากสมัย, บุคคลผู้มีฌานกำเริบ, บุคคลผู้มีฌานไม่กำเริบ, บุคคลผู้มีฌานธรรมเสื่อม, บุคคลผู้มีฌานธรรมไม่เสื่อม, บุคคลผู้ไม่ควรเสื่อมเพราะเจตนา, บุคคลผู้ควรแก่การตามรักษา, บุคคลผู้เป็นปุถุชน, บุคคลผู้ที่ได้โคราภูญาณ, บุคคลผู้อันเว้นจากภัย, บุคคลผู้อันไว้เว้นจากภัย, บุคคลผู้มาถึงความเป็นผู้ควร, บุคคลผู้มาถึงความเป็นผู้ไม่ควร, บุคคลผู้แน่นอน, บุคคลผู้ที่ปฏิบัติแล้ว, บุคคลผู้ที่ตั้งอยู่ในผล, บุคคลเป็นอรหันต์, บุคคลผู้ที่ดำเนินไปแล้ว เพื่อความเป็นอรหันต์ ฯ

ขยายความหมายบุคคล

๑. บุคคลผู้ที่พ้นวิเศษแล้วจากสมัยนั้น ตามอรรถกถานัย ท่านหมายเอาพระโสดาบัน พระสกทาคาม
และพระอนาคามีผู้ที่ได้สมาบัติแปดฯ

๒. อสมยวิมุตตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่พ้นโดยวิเศษไม่ได้แล้วจากสมัย ท่านหมายเอาพระขีณาสพผู้ที่เป็นสุกขวิปัสสกคือไม่ได้สมาบัติแปดนั้นเองฯ

๓. กุปปธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมกำเริบ ท่านหมายเอาบุคคลผู้ที่ได้สมาบัติแล้ว แต่ต่อมาสมาบัติเกิดเสื่อม

๔. อกุปปธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมไม่กำเริบ ท่านหมายถึง บุคคลผู้ที่ได้สมาบัติ แต่ทว่าไม่เสื่อมฯ

๕. ปริหานธรรม และอปริหานธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมเสื่อม และไม่เสื่อมนั้น ตามอรรถกถานัยฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๓๔ ข้อ ๕ ท่านแสดงได้ว่า “ปริหานธมฺมาปริหานธมฺมนิทฺเทสาปิ กุปฺปธมฺมากุปฺปธมฺมทฺเทสวเสเนว เวทิตพฺพา. เกวลญฺหิ อิธ ปุคฺคลสฺส ปมาทํ ปฏิจฺจ ธมฺมานํ ปริหานมฺปิ อปริหานมฺปิ คหิตนฺติ อิทํ ปริยายเทสนามตฺตเมว นามํ” ความว่า แม้นิเทสแห่งปริหานธรรม และอปริหานธรรมก็ควรเข้าใจเหมือนกับกุปปธรรม และอกุปปธรรมนั้นแหละ ท่านจัดไว้เพราะอาศัยความประมาทของบุคคลอย่างเดียว จึงเป็นเพียงปริยายเทศนาเท่านั้น (ความ) ไม่แตกต่างกันเลย ฯ

๖. เจตนาภัพพบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ที่ไม่ควรเพื่อความเสื่อมแห่งความตั้งใจ คือความตั้งใจเจริญสมาบัติอยู่อย่างเต็มที่แล้ว ไฉนเล่าจึงจะเสื่อมได้ ฯ

๗. อนุรักขนาภัพพบุคคล ท่านหมายถึงบุคคลที่ไม่เสื่อมจากสมาบัติ ด้วยการตามรักษาเจริญแต่อุปการธรรมเพื่อความเจริญงอกงามแห่งสมาบัติเท่านั้น ฯ

๘. ปุถุชนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ยังละทิฐิสัญโญชน์ สีลัพพตปรมาสสัญโญชน์ และวิจิกิจฉาสัญโญชน์ ด้วยสมุจเฉทปหานยังไม่ได้นั่นเอง เมื่อจะว่ากันตามสภาวปรมัตถ์แล้ว ก็ได้แก่บุคคลที่เป็นปุถุชน ๔ จำพวก คือ ทุคติบุคคล สุคติบุคคล ทวิเหตุบุคคล และติเหตุปุถุชนบุคคลนั่นเอง ฯ

๙. โคตรภูบุคคล คือ บุคคลที่กำลังเกิดวิปัสสนาญาณขั้นโคตรภู ที่ทำลายโคตรปุถุชนรับเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่ตรงหน้าโสดาปัตติมรรค ที่ในโสดาปัตติมรรควิถีนั้น อันนี้ ท่านเอาเฉพาะพระโยคาวจรผู้กำลังเกิดโคตรภูญาณอยู่ขณะนั้นเท่านั้น เรียกว่า ขณะที่โคตรภูญาณเกิดอยู่ ๓ ขณะ คือ อุปาทขณะ ปีติขณะ และภังคขณะ ๓ นั้นที่เรียกกันว่า “โคตรภูบุคคล” ฯ

๑๐. ภยูปรโตบุคคล คือ บุคคล ๘ คน คือ กัลยาณปุถุชนและพระเสขบุคคล ๗ จำพวกที่กลัวต่อภัยในทุคติ ๑ ภัยในวัฏฏะ ๑ ภัยที่เกิดจากกิเลส ๑ และภัยที่ถูกติเตียน ๑ จึงงดเว้นจากการทำบาปทั้งต่อหน้าและลับหลัง ฯ

๑๑. อภยูปรโตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่หมดจากความกลัวแล้ว ท่านหมายเอาพระขีณาสพผู้ที่สิ้นจาก อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อภัยอะไรอีกต่อไปแล้ว ฯ

๑๒. ภัพพาคมนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มาถึงความควรเพื่อบรรลุสัมมตนิยามอันหมายถึงพระอริยมรรค ๔ ตามที่พระบาลีธรรมสังคณีแสดงไว้ในข้อ ๑๐๓๖ หน้า ๒๑๑ แห่งธรรมสังคิณีบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา เพราะบุคคลพวกนี้ไม่มีกัมมันตราย คืออนันตริยกรรม ๕ ไม่มีกิเลสสันตรายคือนิยตมิจฉาทิฐิ และไม่มีวิปากันตรายคือวิบากขันธ์ที่เป็นทุคติ สุคติ หรือทวิเหตุกะมาเป็นเหตุกางกั้นอีกต่อไปแล้ว นั่นเอง ฯ

๑๓. อภัพพาคมนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มาถึงความควรเพื่อความยังหลุดพ้นไม่ได้ หมายถึงบุคคลผู้ที่ยังมีเครื่องกางกั้นพระอริยมรรค ๔ ที่เรียกว่าอันตรายคือ มีกัมมันตราย ๕ อย่าง มีฆ่ามารดาเป็นต้น ๑ มีความเห็นผิดอย่างดิ่งที่เรียกว่า “นิตยมิจฉาทิฐิ” ๑ มีวิบากขันธ์เป็นอันตรายต่อมรรคอันเป็นสัมมัตตนิยามธรรม คือเป็นสัตว์ที่หาเหตุไม่ได้คือเป็นทุคติบุคคล เป็นสุคติบุคคล เป็นบุคคลสองเหตุ ๑ มีความไม่เชื่อในพระรัตนตรัย ขาดปัญญาที่มาพร้อมกับปฏิสนธิปาริหาริกปัญญา และวิปัสสนาปัญญา ๑ เป็นผู้ที่ขาดจากอุปนิสัยแห่งมรรคผลเป็นอภัพพบุคคล ๑. ฯ

๑๔. นิยตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนต่อผลของกรรมที่ตนจะพึงได้รับ โดยไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางได้เลย ซึ่งในอรรถกถาปัญจปกรณ์ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๓๗ ข้อ ๑๔ ท่านได้พรรณนาไว้ว่า นิยตานิยตนิทฺเทเส อานนฺตริกาติ อานนฺตริกกมฺมสมงฺคิโน. มิจฺฉาทิฏฐิกาติ นิยตมิจฺฉาทิฏฺฐิสมงฺคิโน. สพฺเพปิ เหเต นิรยสฺส อตฺถาย นิยตตฺตา นิยตา นาม. อฏฺฐ ปน อริยปุคฺคลา สมฺมากาวาย อุปรูปริมคฺคผลตฺถายเจว อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถาย จ นิยตตฺตาทนิยตา นาม. ความว่า ในนิทเทสแห่งนิยตะ และ อนิยตบุคคล ควรมีความเข้าใจดังต่อไปนี้ บทว่า “อานนฺตริกา” หมายถึงผู้ที่มีอนันตริยกรรม บท “มิจฺฉาทิฏฐิกา” หมายถึงผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างดิ่ง ก็บุคคลตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ทุก ๆ จำพวกชื่อว่า นิยตบุคคลคือบุคคลผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะแน่นอนต่อประโยชน์แก่นรก ส่วนพระอริยบุคคล ๘ ที่ได้นามว่า นิยตบุคคล เพราะเป็นผู้ที่แน่นอน เพื่อประโยชน์แก่มรรคและผลที่สูง ๆ ขึ้นไป โดยการเจริญโดยชอบด้วย และแน่นอนเพื่ออนุปาทานิพพานด้วย ฯ

๑๕. อนิยตบุคคล คือ บุคคลที่นกเหนือจากบุคคลที่เป็นนิยตตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ ๑๔ นั่นเอง เพราะบุคคลดังกล่าวในข้อที่ ๑๕ นี้ เป็นบุคคลที่ไม่แน่นอนในส่วนของคติที่พึงจะเกิดไปด้วย ในผลแห่งกรรมที่คนจะพึงได้จากการกระทำด้วย ฯ

๑๖. ปฏิปันนกบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ปฏิบัติแล้ว ในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๑๗ ข้อ ๑๕ ท่านได้ให้คำอธิบายไว้ว่า (๑๕) ปฏิปนฺนกนิทฺเทเส มคฺคสมงฺคิโนติ มคฺคฏฺฐกปุคฺคลา เต หิ ผลตฺถาย ปฏิปนฺนตฺตา ปฏิปนฺนกา นาม. ควรทำความเข้าใจ ในนิทเทสแห่งปฏิปันนกบุคคลดังต่อไปนี้ บุคคลที่ตั้งอยู่ในมรรคชื่อว่า “มคฺคสมงฺคีบุคคล คือ บุคคลผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมรรค ด้วยว่าคนเหล่านั้น เท่าที่ได้นามว่า “ปฏิปนฺนกบุคคล” ก็เพราะเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ผล ฯ

ผเลฏฐิตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ตั้งอยู่แล้วในผล ซึ่งมีในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ในหน้าและข้อเดียวกัน ท่านก็ได้ให้อธิบายไว้ว่า ผลสงฺคิโนติ ผลปฏิลาภสมงฺคิตาย ผลสมงฺคิโน. ผลปฏิลาภโต ปฏฺฐาย หิ เต ผลสมาปตฺตึ อสมาปนฺนาปิ ผเล ฐิตาเยว นาม. ความว่า บทว่า “ผลสมงฺคิโน” ได้แก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยผล เพราะเป็นผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยผลโดยเฉพาะ ด้วยว่า พระอริยผลบุคคลเหล่านั้น นับตั้งแต่ได้ผลโดยเฉพาะเป็นต้นมา แม้ถึงไม่เข้าผลสมาบัติก็ได้ชื่อว่าตั้งอยู่ในผลได้แน่นอนทีเดียว ฯ
ส่วน พระอรหันต์และท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์นั้นในอรรถกถาที่มา ท่านมิได้อธิบายไว้โดยเฉพาะ แต่ท่านกลับอธิบายถึงพระอริยบุคคลที่เป็นสมสีสีไว้ ๓ จำพวกคือ
๑. อิริยาปถสมสีสี คือ พระอริยบุคคลผู้ที่กำลังเดินจงกรมเจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ได้บรรลุพระอรหัตนิพพาน เหมือนกับพระปทุมเถระเป็นตัวอย่าง บางองค์ก็นั่งเจริญวิปัสสนาอยู่ก็ได้บรรลุพระอรหัตแล้วก็นิพพานในอิริยาบถ นั่นเอง, บางองค์ก็นอนเจริญวิปัสสนาอยู่แล้วได้บรรลุพระอรหัตในขณะนอนแล้วก็นิพพาน ในขณะที่นอนอยู่นั่นเอง อย่างนี้เรียกว่า “อิริยาปถสมสีสี”
๒. โรคสมสีสีอริยบุคคล หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังเป็นโรคภัยไข้เจ็บอยู่ ท่านก็ไม่ประมาทรีบเจริญวิปัสสนาแล้วก็บรรลุพระอรหัตนิพพานอย่างพระติสสเถระ ที่มีตัวเน่าเป็นต้น ฯ
๓. ชีวิตสมสีสีอริยบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ที่สิ้นชีพไปพร้อมกับสีสะทั้งสองคืออวิชชากับชีวิตนั่นเอง

ในอรรถกถาแห่งนั้น ได้ขยายสีสะออกไปถึง ๑๓ อย่างคือ –
๑. ตัณหา เป็นปลิโพธสีสะเครื่องรบกวน
๒. มานะ เป็นวินิพันธสีสะเครื่องรบกวน
๓. ทิฐิ เป็นปรามาสสีสะเครื่องยึดมั่น
๔. อุทธัจจะ เป็นวิกเขปสีสะเครื่องทำให้ฟุ้งซ่าน
๕. อวิชชา เป็นสังกิเลสสีสะเครื่องทำให้เศร้าหมอง
๖. สัทธา เป็นอธิโมกขสีสะเครื่องทำให้น้อมใจเชื่อที่เป็นอุปสรรคของวิปัสสนา
๗. วิริยะ เป็นปัคคหสีสะเป็นเครื่องพยายามเกินขัดต่อวิปัสสนาปัญญาที่จะดำเนินต่อไป
๘. สติ เป็นอุปัฎฐานสีสะ สติเป็นสภาพที่ปรากฎชัดเกินไปจนวิปัสสนาปัญญาอัปรัศมี
๙. สมาธิ เป็นอวิกเขปสีสะเป็นเครื่องทำให้นิ่งเกินไป
๑๐. ปัญญา เป็นทัสนสีสะ คือเห็นชัดเกินไปจนศรัทธาเกิดยากไม่เสมอกัน
๑๑. ชีวิตทรีย์ เป็นสีสะอยู่ต่อไปหยุดไม่ได้
๑๒.วิโมกข์เป็นโคจรสีสะ คือเป็นอารมณ์
๑๓.นิโรธมีสังขารเป็นสีสะเครื่องปรุงแต่งดับไม่ได้ ฯ
ใน บรรดาสีสะทั้ง ๑๓ นั้น พระอรหัตมรรคทำลายอวิชชาซึ่งเป็นสีสะของกิเลส จุติจิต ทำลายชีวิติน ทรีย์ที่เป็นสีสะที่ทำให้เป็นไป หยุดไม่ได้ จิตทำลายชีวิตตินทรีย์ได้ แต่ไม่อาจจะทำลายอวิชชาได้ จิตที่ทำลายอวิชชากับจิตที่ทำลายชีวิตเป็นคนละอย่างกัน แต่สีสะทั้งสองคืออวิชชา และชีวิตของท่านผู้ใดถึงความสิ้นไปได้ ท่านผู้นั้นจึงจะเรียกว่า “ชีวิตสมสีสี” ฯ

จบคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ

คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ

ปฺคคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ?
อามนฺตา.
โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ, ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ?
นเหวํ วตฺตพฺเพ, อาชานาหิ หิคฺคหํ, หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ, สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน ?
เตน วต รเ วตฺตพฺเพ. โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ, ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺ- เถนาติ มิจฺฉา.


คำแปล

สกวาที ถามว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถที่อย่างยิ่งกระนั้นหรือ ?
ปรวาที ตอบว่า ใช่ ฯ
สกวาที ซักต่อไปว่า สภาพใดที่มีอรรถอันแจ่มแจ้ง และมีอรรถอย่างยิง มีปรากฎอยู่ ท่านเข้าไปหยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถอันยิ่งกระนั้นหรือ ?
ปรวาที กล่าวปฏิเสธว่า ไม่สมควรจะกล่าวอย่างนั้น
สกวาที กล่าวว่า ท่านรู้แต่พลั้งไป ถ้าว่า ท่านหยั่งรู้เห็นบุคคลได้โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และอรรถอย่างยิ่งได้แล้วไซร้ ?
เพราะ เหตุนั้นแล ท่านก็ควรจะกล่าวว่า สภาพใดมีอรรถที่แจ่มแจ้ง และมีอรรถอย่างยิ่งมีปรากฎอยู่ ข้าพเจ้าก็เข้าไปหยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยอรรถที่แจ่มแจ้งและโดยอรรถอันเยี่ยมยิ่งได้ เพราะเหตุนั้น ดังนี้ (ในปัญหากรรมนี้ ท่านควรจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าไปหยั่งเห็นบุคคลโดยอรรถที่แจ่มแจ้งแลโดยที่อย่างยิ่ง แต่ไม่สมควรจะกล่าวว่า สภาพใดมีอรรถที่แจ่มแจ้ง และมีอรรถอันอย่างยิ่งปรากฎอยู่ ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นบุคคลนั้นโดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถที่อย่างยิ่งดังนี้ คำของท่าน) จึงผิดพลาด ฯ
หมายเหตุ อันที่จริงบาลีตรงนี้ มีบาลีเต็ม แต่ในอภิธรรมคัมภีร์ที่ ๕ เท่าที่โบราณาจารย์ของเราคัดมา ไม่ได้
เอามาด้วย แต่เวลาแปลก็แปลให้เต็มบาลีที่มีอยู่ ฯ
ข้อ ความที่ควรทำความเข้าใจในคัมภีร์นี้ เป็นคัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตร ได้ยึดเอานัยเท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนาไว้แล้ว ก็ตั้งเป็นรูปสกวาที และตบกันเป็นสูตรสำหรับถาม ๕๐๐ สูตร และสูตรสำหรับแก้อีก ๕๐๐ สูตร เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะทำลายทิฐิ คือความเห็นที่ผิดพลาดของฝ่ายอื่นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคำสอนในพระพุทธศาสนานี้ นั่นเอง รวมคำถามของฝ่ายพุทธ ๕๐๐ ของฝ่ายอื่น ๕๐๐ สูตร จึงรวมเป็น ๑,๐๐๐ สูตรพอดี สำหรับท่านที่สนใจโปรดตรวจดูได้ในกถาวัตถุ และอรรถกถาที่ท่านได้แก้ไว้อย่างวิจิตรพิสดารแล้ว ในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ฯ

จบคัมภีร์กถาวัตถุ

คัมภีร์ที่ ๖ ยมก

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลมูลา ?
เย วา ปน กุสลมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา.
เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลามูเลน เอกมูลา ?
เย วา ปน กุสลมูเล เอกมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา.


คำแปล
อนุโลมปุจฉาว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นมูลของกุศลใช่ไหม ?
ปฏิโลมปุจฉาว่า ก็หรือว่าธรรมะเหล่าใด ที่ชื่อว่าเป็นมูลของกุศลมีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ?
อนุโลมปุจฉาว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นมูลเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม ?
ปฏิโลมปุจฉาว่า ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใด ที่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ?
หมาย เหตุ ตามคำแปล และบาลีเท่าที่ยกมาสวดตามประเพณีทั้งหมดนี้ จะเห็นว่ามีแต่เฉพาะคำถามเท่านั้นทั้งส่วนอนุโลมและปฏิโลมปุจฉาไม่ได้มีคำ วิสัชนาอยู่เลย ถ้าจะทำความเข้าใจเฉพาะบาลีที่ได้นำเอามาสวดกับคำแปลเท่านั้น ก็ย่อมจะทำความเข้าใจให้ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย ยิ่งเป็นพระหรือชาวบ้านที่ไม่มีพื้นการศึกษาสภาวะอยู่บ้างแล้ว ก็ยิ่งจะมืดแปดด้านเหมือนกับเดินเข้าถ้ำที่ปราศจากแสงสว่างทีเดียว เพื่อให้เกิดแสงสว่างตามที่พอจะทำได้ก็จะขอแยกความเข้าใจไว้ในที่นี้สักเล็ก น้อยพอเป็น นิทัสสนนัย ก่อนอื่นควรจะทราบถึงคำว่า “กุศล” กับคำว่า “มูล คือรากเหง้าของกุศล” เสียก่อน จึงจะแยกออกว่าอะไร เป็นอะไร ไม่อย่างนั้น มันจะปนกันไปหมดอย่างชนิดที่ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้เลย ก็คำว่า “กุศล” เท่าที่ทรงแสดงองค์ธรรมไว้ในกุสลติกะนั้นก็ได้แก่ กุศลจิต ๒๑ กับเจตสิกที่เกิดร่วมกันอีก ๓๘ เท่านั้น ส่วนมูลที่เป็นรากเหง้าของกุศลนั้น มี ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ เท่านั้น ที่ว่านี้ เป็นองค์ธรรมของข้อความในพระบาลีทั้ง ๔ ตอนนี้
เมื่อได้รับทราบถึงตัวธรรมะของคำว่า “กุศล” และคำว่า “มูลคือรากเหง้าของกุศล” แล้ว ก็หันมาพิจารณาดูพระบาลี และคำแปลที่ได้ยกเอามาสวดกันดูว่า ตามคำถามที่ได้ถามนั้น หมายความถึงอะไร ? คำถามในอนุโลมปุจฉาที่เป็นสันนิษฐานบทที่ว่า เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ? ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่, สพฺเพ เต กุสลมูลา ? ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมดเป็นมูลของกุศลใช่ไหม ? ซึ่งคำถามตอนหลังนี้เป็นอนุโลมปุจฉา สังสยบท ก็จะมีคำวิสัชนาออกมาว่า ตีเณว กุสลมูลานิ, อวเสลา ธมฺมา น กุสล-มูลา. ความว่า เฉพาะความไม่โลภ ความไม่โกรธ และความไม่หลง ๓ ตัวนี้เท่านั้น ที่จัดเป็นมูลคือรากเหง้าของกุศล, กุศลธรรมที่เหลือคือกุศลจิต ๒๑ เจตสิกอีก ๓๕ (โดยยกเอากุศลเหตุ ๓ ตัว ที่ออกไปเสียแล้ว) เป็นเพียงกุศล แต่ไม่ใช่เป็นมูลคือรากเหง้าของกุศล ฯ
ส่วนบาลีในปฏิโลมปุจฉาทั้งสันนิฏฐานบท และสังสยบทที่ว่า เย วา ปน กุสลมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ? ความว่า ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใดที่ว่าเป็นมูลของกุศลมีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ? คำวิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. รับรองว่า “ใช่” ที่ว่านี้หมายความว่ากุศลมูลคือตัวของความไม่โลภ ความไม่โกรธและความไม่หลงซึ่งเป็นรากเหง้าของกุศลนั้น นอกจากตัวเขาจะเป็นรากเหง้าของกุศลนั้น นอกจากตัวเขาจะเป็นรากเหง้าให้เกิดกุศลแล้ว ตัวเองก็เป็นกุศลด้วย (ที่อธิบายมาทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของบาลีที่เป็นคำถามในตอนแรก พูดถึงเรื่องของมูล มูลของกุศลกับกุศลเท่านั้น)
ส่วนพระบาลีในท่อนที่ ๒ ต่อมาที่ว่า เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลมูเลน เอกมูลา ? ความว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่งเป็นกุศลมีอยู่ทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล ใช่ไหม ? เมื่อมีคำถามขึ้นมาอย่างนี้ คำวิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. ซึ่งแปลว่า “ใช่” ที่ว่านี้หมายความว่า กุศลธรรมทั้งหมดที่เกิดร่วมกันเมื่อจะแยกออกให้เห็นชัด ๆ แล้ว ก็พอจะจำกัดความได้ว่า ในกุศลจิตตุปบาทอย่างหนึ่ง เช่นเกิดจิตกุศลขึ้น ๑ จะมีเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกันถึง ๓๘ คราวนี้ในเจตสิก ๓๘ นั้น ก็ยกเอา เจตสิกที่เป็นมูลของกุศลคือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ออกเสีย ๓ ตัว ส่วนที่เหลืออีก ๓๕ และจิตอีก ๑ เป็น ๓๖ เมื่อถามว่า กุศลจิต ๑ กับเจตสิกที่นอกจากมูลอีก ๓๕นั้น ทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศมูลใช่ไหม ตอบว่า “ใช่” ที่ว่านี้หมายความว่า มี ๒ อย่างด้วยกันคือ อย่างที่ ๑ กุศลจิต ๑ กับเจตสิกที่เหลือจากมูล ๓๕ ก็เป็นธรรมที่มีมูลเป็นอันเดียวกับกุศลมูลคือตัว อโลภะ อโทสะ และอโมหะ อย่างที่ ๒ หมายเอาตัวมูลเองก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลเหมือนกันคือ อโลภะ ก็มีอโทสะและอโมหะเป็นมูล อโทสะ ก็มีอโลภะและ อโมหะเป็นมูล และอโมหะ ก็มีอโลภะและอโทสะเป็นมูล เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า “มีมูล” เป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลตามบาลีนั้น คราวนี้ คำถามที่เกี่ยวกับยมกที่เป็นมูลเดียวกันในปฏิโลมปุจฉาทั้งสันนิฏฐานบท และสงสัยบทที่ว่า เย วา ปน กุสลมูเล เอกมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ? ความว่า ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล มีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ? คำวิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. ซึ่งแปลว่า “ใช่” หมายความว่า ธรรมะที่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลนั้น ก็พอจะรวมได้เป็น ๒ พวกคือ กุศลที่ไม่ใช่มูล แต่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลย่างหนึ่ง และกุศลที่เป็นตัวมูล และก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นในพระบาลีที่ว่า เย วา ปน กุสลมูเลน เอกมูลา, ก็หมายเอาทั้งกุศล และกุศลมูล โดยเน้นถามลงไปว่า ทั้งกูศลและทั้งกุศลมูลนั้นเป็นกุศลใช่ไหม ? ก็ต้องตอบว่า “ใช่” เรื่องของเรื่องก็มีอยู่เท่านั้น เป็นเพียงเอกเทศเท่านั้น เพราะธรรมะที่เกิดมาจากกุศลที่อยู่ในปัญจโวการภพ มิใช่มีแต่เฉพาะนามขันธ์เท่านั้น แม้รูที่เกิดมาจากกุศลเป็นสมุฏฐานก็ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ในคำตบของปฏิโลมปุจฉานี้ ท่านจึงได้ออกวิสัชนาเป็นตัวธรรมะที่มีได้ทั้งรูปทั้งนามว่า รูปที่เกิดจากกุศลเป็นสมุฏฐาน ก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล แต่ทว่าไม่ใช่กุศล, ส่วนกุศลที่เหลือก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลด้วย และเป็นได้ทั้งกุศลด้วย คำตอบที่ว่านี้ เป็นคำตอบที่เต็มตามสภาวธรรมทีเดียว ตัวธรรมะทั้งหมดตรงนี้ก็ได้แก่ กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ และกุศลจิตตัชรูปอีก ๑๗ นั่นเอง ฯ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคัมภีร์ยมก เท่าที่ได้ยกเอามาสวดนี้ มีเพียงคำถามเท่านั้น และก็ย่อเอามาเฉพาะมูลยมก กล่าวถึงเรื่องกุศลมูลของกุศลและธรรมที่เป็นมูลเดียวกันกับกุศลเท่านั้น ในส่วนที่ยังเหลืออีกมากมายถึง ๑๐ คัมภีร์ และในคัมภีร์หนึ่ง ๆ ก็มีมากมาย เช่นในมูลยมกนิทเทสวารของกุศลติกะ ก็มีถึง ๑๐ วาระ และใน ๑๐ วาระนั้น ก็มีถึง ๔ นัยคือ
กุศลบท ๔ นัย คือ มูลนัย ๑ มูลมูลนัย ๑ มูลกนัย มูลมูลกนัย ๑ แม้ในอกุศลบทและอัพยากตบทก็มี อย่าง ๔ นัยเหมือนกัน นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีนามบทอีก ๔ นัย ถือ มูลนัย ๑ มูลมูลนัย ๑ มูลกนัย ๑ มูลมูลนัย ๑ เมื่อทรงแสดงมูลยมกจบแล้ว ก็ทรงแสดง ขันธยมก อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก สังขารยมก อนุสยยมก จิตตยมก และอินทริยยมก ในยมกเหล่านี้ก็ทรงแสดงไว้อีกมากมาย เช่นทรงแสดงถึงมหาวาระไว้ ในอนุสยยกว่า อุปปัตติวาระ มหาวาระ
๑. อนุสยวาระ แยกออกเป็น ๓ ตอน คือ อนุโลมบุคคล อนุโลมโอกาส และอนุโลมปุคคโลกาส และแยกออกอีก ๓ ตอน คือ ปฏิโลมบุคคล ปฏิโลมโอกาส และปฏิโลมปุคคโลกาส
๒. สานุสยวาระ แยกออกเป็น ๒ ตอน คือ เป็นฝ่ายอนุโลม ๓ คือ อนุโลมบุคคล อนุโลมโอกาส อนุโลมปุคคโลกาส แม้ฝ่ายปฏิโลมก็มี ๓ เช่นกัน
๓. ปชหนวาระ ฝ่ายอนุโลม ๓ ฝ่ายปฏิโลม ๓ รวมเป็น ๖
๔. ปริญญาวาระ ฝ่ายอนุโลม ๓ ฝ่ายปฏิโลม ๓ รวมเป็น ๖
๕. ปหีนวาระ ฝ่ายอนุโลม ๓ ฝ่ายปฏิโลม ๓ รวมเป็น ๖
แม้ ในยมกที่ยังเหลืออีก ๙ ยมก หรือ ๙ คัมภีร์ที่ยังมิได้ยกมาแสดง ก็ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์นั้นอย่างวิจิตรพิสดารเช่นกัน ผู้ต้องการโปรดตรวจดูได้ในที่นั้นเถิด เพราะในอรรถกถาปัญจปกรณ์แก้คัมภีร์ที่หกได้อธิบายไว้อย่างวิจิตรพิสดารแล้ว สำหรับในสถานที่นี้จะขอยกเอามาแสดงไว้พอเป็นนิทัสสนนัยเท่านั้น ฯ

จบคัมภีร์ยมก

คัมภีร์ที่ ๗ มหาปัฏฐาน

เหตุปจฺจโย, อารมฺมณปจฺจโย, อธิปติปจฺจโย, อนนฺตรปจฺจโย, สมนนฺตรปจฺจโย, สหชาตปจฺจโย, อญฺญมญฺญปจฺจโย, นิสฺสยปจฺจโย, อุปนิสฺสยปจฺจโย, ปุเรชาตปจฺจโย, ปจฺฉาชาตปจฺจโย, อาเสวนปจฺจโย, กมฺมปจฺจโย, วิปากปจฺจโย, อาหารปจฺจโย, อินฺทริยปจฺจโย, ฌานปจฺจโย, มคฺคปจฺจโย, สมฺปยุตฺตปจฺจโย, วิปฺปยุตฺตปจฺจโย, อตฺถิปจฺจโย, นตฺถิปจฺจโย, วิคตปจฺจโย, อวิคตปจฺจโย.


คำแปล
ธรรมที่มีเหตุหกเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีอารมณ์หกเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีอธิบดีสองประเภทเป็น ปัจจัย, ธรรมที่มีนามขันธ์ที่ดับไปอย่างหาระหว่างขั้นมิได้เป็นปัจจัย. ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ดับไปอย่างหาระหว่างคั่นมิได้โดยลำดับเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมเป็นที่อาศัยสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมอาศัยกันอย่างมีกำลังแรงสามประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีรูปธรรมที่เกิดก่อนสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ซึ่งเกิดในภายหลังเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีอาเสวนชวนะเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีเจตนากรรมสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีมรรถเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีวิบากเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์สมปยุตกันเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามรูปเป็นวิปปยุตกันเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีรูปนามที่กำลังมีอยู่เป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ไม่มีแล้วเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ดับไปแล้วเป็นปัจจัย, และธรรมะที่มีนามรูปที่ยังไม่ดับไปเป็นปัจจัย ฯ

อธิบายโดยย่อ ในคัมภีร์ปัฏฐานมหาปกรณ์นี้ เป็นคัมภีร์ที่ทรงแสดงไว้อย่างกว้างขวางวิจิตรพิสดารอย่างเหลือเกิน ซึ่งก็พอจะสรุปให้เห็นเป็นรูปร่างย่อ ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ธรรมะทั้งหมดที่มีปรากฎอย่างในปัจจัย ๒๔ นี้ ถ้าจะจัดเข้าเป็นตอน ๆ แล้วจัดเป็น ๓ ตอน คือ
๑. ธรรมะที่เป็นฝ่ายปัจจัย คือ ผู้อุปการะ
๒. ธรรมะที่เป็นฝ่ายปัจจยุบัน คือ ผู้ได้รับอุปการะหรือที่เกิดมาจากปัจจัย
๓. ธรรมที่นกเหนือออกไปจากธรรมที่เกิดจากปัจจัย เช่น อย่างอารัมมณปัจจัยเป็นตัวอย่าง
รู ปารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดการเห็น รูปารมณ์เป็นตัวปัจจัย ส่วนการเห็นและเจตสิกที่เกิดร่วมอีก ๗ ผัสสะ เป็นต้น ก็เป็นปัจจยุบัน คือ เป็นธรรมที่เกิดจากรูปารมณ์เป็นปัจจัยให้ ส่วนปรมัตถธรรม คือจิต เจตสิก และรูปที่เหลือซึ่งไม่ได้มีปรากฎอยู่ในปัจจุบันธรรมนั้น ก็เป็นปัจจนิกไปเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่า ธรรมะที่เป็นปัจจัยก็คือเป็นผู้ให้อุปการะ ธรรมะที่เป็นปัจจยุบันที่เกิดจากปัจจัยก็คือผู้รับ ส่วนธรรมะที่ไม่ได้รับ อุปการะก็ตกเป็นปัจจนิกธรรมไป จากนั้นก็ทรงแสดงไว้ถึง ๗ วาระ และแสดงไปตามติกาะ ๒๒ ทุกะ ๑๐๐ แสดงอนุโลม ๑ เป็นปฏิโลม ๑ อนุโลมปฏิโลม ๑ เป็นต้น ฯ

จบคัมภีร์มหาปัฏฐาน