หน้าเว็บ

แจกวัตถุมงคล รอบนี้


ที่นี่เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่มและบุคคลหากไม่มีศรัทธาอย่ามาก่อกวน ภาพและบทความมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย


วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง พญานาค

พญานาค

ถ่ายเมื่อวันออกพรรษา 23 ตุลาคม 2553 พิจารณาอย่างมีเหตุและผลนะครับ

นาค หรือ พญานาค เป็นความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่าง ๆ กัน แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย
ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่
ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้น เล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในนำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม
ตระกูลของนาค
นาคเป็นเจ้าแห่งงู แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา นาคแบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ
  • ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
  • ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว
  • ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง
  • ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ
พญานาคเกิดได้ทั้ง 4 แบบ คือ
  1. แบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที
  2. แบบสังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม
  3. แบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์
  4. แบบอัณฑชะ เกิดจากฟองไข่
พญานาคชั้นสูงเกิดแบบโอปปาติกะ เป็นชนชั้นปกครอง ที่อยู่ของพญานาคมีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พวกพญานาคอยู่ในการปกครองของท้าววิรูปักษ์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก เหตุที่มาเกิดเป็นพญานาคเพราะทำบุญเจือด้วยราคะ
ความเชื่อเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณสมบัติ
ชาวฮินดูถือว่า นาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่างๆ เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ตรงกับความเชื่อของลัทธิพราหมณ์ ที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นปีนี้ นาค ให้น้ำ 1 ตัว แปลว่า น้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ไร่นา ถ้าปีไหน นาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อย ตัวเลขนาคให้น้ำจะกลับกันกับเหตุการณ์ เนื่องจาก ถ้านาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อยเพราะนาคกลืนน้ำไว้
นาคมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ มีอิทธิฤทธิ์และมีชีวิตใกล้กับคน สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น
นาค ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5 จะต้องปรากฏรูปลักษณ์เป็นนาคเช่นเดิม คือ ขณะเกิด, ขณะลอกคราบ, ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค ขณะนอนหลับโดยไม่มีสติ และตอนตาย ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม
นาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก, มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน
นาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อนๆ กัน ชั้นสูงๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์
นาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วสมสู่กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร
สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลกจนถึงสวรรค์ ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆ
ความเชื่อเกี่ยวพันกับชีวิต น้ำและธรรมชาติ
นาคเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ จึงปรากฏความเชื่อเรื่องนาคที่เกี่ยวกับน้ำไว้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ในตำนานสิงหนวัติ กล่าวว่า เมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติอพยพคนมาจากทางเหนือ พญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ และขอให้อยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืนก็ ขึ้นมาสร้างคูเมือง 4 ด้าน เป็น เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมาเมื่อยกทัพปราบเมืองอื่นได้ และรวมดินแดนเข้าด้วยกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนาคราช
ที่ปราสาทพนมรุ้ง คูเมืองที่เป็นสระน้ำ 4 ด้าน รอบปราสาทและมี พญานาค อยู่ด้วย ตามความเชื่อของคนสมัยโบราณ ดังนั้น นาคจะมีความหมายเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากน้ำ เช่น การสร้างศาสนสถานไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ นาคที่ราวบันได จึงมี พญานาค ซึ่งตามความเป็นจริง (ความเชื่อ) การสร้างต้องสร้างกลางน้ำ เพื่อให้ดูเหมือนว่าศาสนสถานนั้นลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ก็ไม่ต้องสร้างจริงๆ เพียงแต่มีสัญลักษณ์ พญานาค ไว้ เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
แม้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ก็จะมีอยู่ในราศีเกิด เช่นของคนนักษัตรปีมะโรง ที่มีความหมายถึง ความยิ่งใหญ่และพลังอำนาจ ที่มี พญานาค เป็นสัญลักษณ์

นาคให้น้ำ
ด้วยความที่นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำ ดังนั้น คำเสี่ยงทายในแต่ละปีที่จะทำนายถึงปริมาณของน้ำและฝนที่จะตกในแต่ละปีเพื่อใช้ในการเกษตร จึงเรียกว่า "นาคให้น้ำ" จำนวนนาคให้น้ำมีไม่เกิน 7 ตัว ถ้าปีไหนอุดมสมบูรณ์มีน้ำมากเรียกว่า "นาคให้น้ำ 1 ตัว" แต่หากปีไหนแห้งแล้งเรียกว่าปีนั้น "มีนาคให้น้ำ 7 ตัว" จะวัดกลับกันกับจำนวนนาค ก็คือที่น้ำหายไป เกิดความแห้งแล้งนั้นก็เพราะ พญานาคเกี่ยงกันให้น้ำ แต่ละตัวจึงกลืนน้ำไว้ในท้องไม่ยอมพ่นน้ำลงมา ซึ่งคำทำนายเรื่องนาคให้น้ำนี้ จะปรากฏเห็นได้ชัดที่สุด คือ ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคลของแต่ละปี
ในประติมากรรมไทย
ในประติมากรรมไทย มักจะเห็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับนาคได้เสมอ ในงาน จิตรกรรม ประติมากรรม และหัตถกรรม นาคเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะตามอาคารวัดต่างๆ หลังคาอาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถานบันศาสนสถาน ตามคตินิยมที่ว่า นาคยิ่งใหญ่คู่ควรกับสถาบันอันสูงส่ง เช่น นาคสะดุ้ง ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได นาคลำยอง ซึ่งเป็นป้านลมหลังคาโบสถ์ ที่ต่อเชื่อมกับนาคสะดุ้ง นาคเบือน นาคจำลอง และนาคทันต์ คันทวยรูปพญานาค
อีกทั้งยังเป็นโขนเรือ (หัวเรือ) ในขบวนเรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค ในพระราชพิธีอีกด้วย อันได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

พญานาคกับตำนานในพระพุทธศาสนา
เมื่อ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่างๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ "มุจลินท์" ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อมุจลินทร์ เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นชายหนุ่มยืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า
ความเชื่อดังกล่าวทำให้เป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดา
พญานาค เป็นสะพาน (สายรุ้ง) ที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ โลกศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อที่ว่า พญานาค กับ รุ้ง เป็นอันเดียวกัน ก็คือสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์นั่นเอง
นาคสะดุ้ง ซึ่งเป็นประติมากรรมที่ ราวบันไดโบสถ์นั้นได้สร้างขึ้นตามความเชื่อถือ "บันไดนาค" ก็ด้วยความเชื่อดังกล่าว แม้ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ก็โดยบันไดแก้วมณีสีรุ้ง ที่เทวดาเนรมิตขึ้นและมีพญานาคจำนวน 2 ตน เอาหลังหนุนบันไดไว้
ตุง ในวัฒนธรรมของล้านนาและพม่า ก็เชื่อกันว่าคลี่คลายมาจากพญานาค และหมายถึงบันไดสู่สวรรค์
ความเชื่อของชาวฮินดู ก็ถือว่า นาคเป็นสะพานเชื่อมภาวะปกติ กับที่สถิตของเทพ ทางเดินสู่วิษณุโลก เช่น ปราสาทนครวัด จึงทำเป็น พญานาคราช ที่ทอดยาวรับมนุษย์ตัวเล็ก ๆ สู่โลกแห่งความศักดิ์สิทธิ์ หรือบั้งไฟของชาวอีสานที่ทำกันในงานประเพณีเดือนหก ก็ยังทำเป็นลวดลาย และเป็นรูปพญานาค พญานาคนั้นจะถูกส่งไปบอกแถนบนฟ้าให้ปล่อยฝนลงมา
ในสมัยพระพุทธเจ้า มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูป อื่นไปเห็นเข้า ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน
ต่อจากนั้นมาพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไม่ให้สัตว์เดรัจฉาน ไม่ว่าจะเป็นนาค ครุฑ หรือสัตว์อื่นๆ บวชอีกเป็นอันขาด และก่อนที่อุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม อันตรายิกธรรม หรือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ รวม 8 ข้อเสียก่อน ในจำนวน 8 ข้อนั้น มีข้อหนึ่งถามว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า" และจึงเรียกการบวชนี้ว่า "บวชนาค"
ความเชื่อในดินแดนต่าง ๆ ของไทย
ในประเทศไทย ดินแดนที่มีความเชื่อเรื่องของนาคมักจะเป็นภาคที่ติดกับแม่น้ำโขง คือ ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคเหนือ
มีตำนานเกี่ยวกับพญานาคอยู่เช่นกัน ดังในตำนานสิงหนวัติซึ่ง เป็นตำนานเก่าแก่ของทางภาคเหนือเองเมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติอพยพคนมาจากทางเหนือ พญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ และขอให้อยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืนก็ขึ้นมาสร้างคูเมืองเป็นเมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมายกทัพปราบเมืองอื่นได้และรวมดินแดนเข้าด้วยกันจึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนคร ต้นวงศ์ของพญามังรายผู้ก่อกำเนิดอาณาจักรล้านนานั่นเอง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงเชื่อว่า แม่น้ำโขงเกิดจากการแถตัวของพญานาค 2 ตน จึงเกิดเป็นแม่น้ำโขงและแม่น้ำน่าน นอกจากนี้ยังรวมถึงบั้งไฟพญานาค โดยมีตำนานว่าในวันออกพรรษาหรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พญานาคแห่งแม่น้ำโขงต่างชื่นชมยินดี จึงเฮ็ด (จุด) บั้งไฟถวายการเสด็จกลับของพระพุทธเจ้าจนกลายเป็นประเพณีทุกปี
พญานาคกับสัญลักษณ์ของวิชาแพทย์
พญานาค หมายถึง วิชาแพทย์ ที่พระวิศวามิตร์เล่าไว้ในบ่อเกิดรามเกียรติ์ว่า เทวดาและอสูรต้องการเป็นอมตะ จึงทำพิธีกวนเกษียรสมุทร โดยใช้เขามนทรคีรีเป็นไม้กวน นำพญาวาสุกรี (พญานาค) เป็นเชือก เป็นผลให้เกิดประถมแพทย์ "ธันวันตะรี" ซึ่งผู้ชำนาญในอายุรเวท

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทสวดสะเดาะเคราะห์ด้วยตนเอง

การสวดมนต์ในแบบของการแผ่เมตตาบารมี และขอขมาเจ้ากรรมนายเวร สวดทุกวันยิ่งดี สวดทุกวันไม่ได้ก็สวดวันพระ

บทขอขมา
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓ จบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
 อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินบิดา-มารดาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ครูบาอาจารย์พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยะสงฆ์เจ้าตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวรจะด้วยกาย วาจา ใจ ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วยหากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา ข้าพเจ้าขออนุญาตมีคู่มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐานคำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีตขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระ
ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควรขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัวตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขขะ พละ ลาภ ยศ สรรเสริญสติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใด ๆ โรคภัยใด ๆ ขอให้มลายสิ้นไปขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรมตั้งแต่บัดนี้จนตราบเข้าสู่นิพพานเทอญ
ข้าพเจ้าขอถอนคำสัญญา คำสาบาน คำอธิษฐาน ที่ผูกมัดตัวเองและผู้อื่นขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระจากสัญญาทั้งปวง  เมื่ออายุไขข้าพเจ้าสิ้นแล้ว ข้าพเจ้าขอมีชีวิตอยู่บำเพ็ญกุศบารมีต่อ
หากมีผู้ใดเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตามข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความอาฆาต ความพยาบาทและคำสาปแช่งในทุกชาติ ทุกภพขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชนของเจ้ากรรม ขอให้พ้นจากนรกภูมิและพบแสงสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม

การอัญเชิญเทพเทวดา เจ้าที่เจ้าทาง ผีบ้านผีเรือน มาสวดมนต์ด้วย
บทอัญเชิญ
ข้าขออัญเชิญเทพยาดาทุกชั้นฟ้า มาสถิตในจิตข้า ขอเชิญพระแม่ธรณี พระแม่คงคา ขอเชิญผีป่า ผีบ้าน ผีเรือน ขอเชิญเจ้าที่เจ้าทาง อีกทั้งญาติทั้งหลายที่ล่วงลับ ขอเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในตัวข้า ทั้งรอบกายข้า ทั้งที่รักษาตัวข้า จงได้มา สวดมนต์พระคาถาบูชา ร่วมกับข้า มาร่วมแผ่เมตตาให้กว้างทั่วไพศาล มาอัญเชิญพระกถาศาสดาจารให้ระบือเรืองนาม ทั้งสามโลก ผู้ทุกข์โศก ตกทุกข์ อยู่หนใด ขอให้ได้อานิสงค์นี้ด้วยเถิด

คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )
บทสวดพุทธานุสสติ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
บทสวดธัมมานุสสติ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)
บทสวดสังฆานุสสติ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย,
ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
ก้มหมอบแล้วสวด
 กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ,          

   กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง,
ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม

    กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ
คาถาชุมนุมเทวดา
สัคเค กาเม จะรูเป คิริสิขะระตะเฏ  จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ  คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะ
วัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา  ชะละถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะ จะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
 
เมตตาพรหมวิหารภาวนา สูตร
เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ
ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ
วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ?
(1) สุขัง สุปะติ (2) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (3) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (4) มะนุสสานัง ปิโย โหติ
(5) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (6) เทวะตา รักขันติ (7) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (8) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ
(9) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ (10) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (11) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ
เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ
ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ
อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ
สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

(1) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

(1) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา
อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา
อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา
อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา
อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา
ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ
เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ
เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.


กรวดน้ำ
ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม  เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกา
เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐา วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน
สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง เตภุมมา จะตุโยนิกาปัจเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว
ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง
มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะเหตุนา สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา


ขอสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ จงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้ แลแห่งบุญอื่นที่ได้ทำแล้ว
คือชนเหล่าใด อันเป็นที่รักผู้มีบุญคุณ มี มารดาบิดา และเจ้ากรรมนายเวร ของข้าพเจ้าเป็นต้น ที่ข้าพเจ้าเห็น หรือแม้ไม่ได้เห็นเกิดในภูมิสาม, ถือในกำเนิดทั้งสี่, มีขันธ์ห้าแลขันธ์หนึ่งแลขันธ์สี่ ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยแลภพใหญ่สัตว์เหล่าใด ทราบการให้ส่วนบุญของข้าพเจ้าแล้ว ขอสัตว์เหล่านั้นจงอนุโมทนาเองเถิด ก็ส่วนสัตว์เหล่าใดย่อมไม่ทราบการให้ส่วนบุญนี้ ขอเทพทั้งหลายพึงแจงแก่สัตว์เหล่านั้น เพราะเหตุคืออนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าให้แล้ว ขอสัตว์ทั้งหลาย จงอย่ามีเวร อยู่เป็นสุขเสมอเถิด แลจงถึงทางอันเกษมเถิด ขอความหวังอันดีของสัตว์เหล่านั้น จงสำเร็จเถิด

ขออานิสงค์ในการแผ่เมตตาในครั้งนี้  กุศลทั้งหลาย จงไปสู่ บิดา มารดา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวรน้อยใหญ่อย่าได้เว้น ตลอดจนเทพเทวดาทุกชั้นฟ้า สรรพสัตว์น้อยใหญ่ สัมพเวสี  บุตรภรรยาในทุกภพทุกชาติ ครูบาอาจารย์ที่พร่ำสอนวิชาการ ขอให้ได้การแผ่เมตตาในครั้งนี้เถิด
ขอความสุขทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด 

อนุโมทนา
เรียบเรียงโดย ตันติปาล

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เริ่มต้นการฝึกพลังจิตจากฝ่ามือ บทที่1

   อนุโมทนาสำหรับผู้ที่สนใจทุกท่านครับ การฝึกแบบนี้จริงๆแล้วก็มีมาแต่โบราณแล้ว แต่การถ่ายทอดนั้น
ค่อนข้างมีน้อย เพราะพอฝึกไปนานๆก็จะหาทางออกไม่ได้ ตัวผมเองก็ได้ทดลองมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่
กล้าอธิบายมากเท่าไหร่ เดี๋ยวเขียนไปแล้วคนฝึกไปเจอปัญหาแล้วแก้ให้เขาไม่ได้ เราจะเป็นบาปไปเปล่าๆ

   การฝึกในแบบที่เรียกว่า Psi Ball นั้นหลายคนคงเคยฝึก แล้วก็เลิกไปเพราะไม่เห็นผลอะไร นอกจากรู้สึกร้อนมือ บางคนฝึกจนมือบวมไปเลยก็มี แต่ก็เลิกไปเพราะไปต่อไม่ได้ ตัวผมแม้ว่ายังไม่สำเร็จอะไรมากมาย
แต่ก็เริ่มแก้ปัญหาต่างๆได้พอสมควร

   ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าการฝึกแบบ Psi Ball ต้องฝึกในรูปแบบของ อานาปานุสติ คือการกำหนดลม
หายใจเข้าออก ไม่ต้อมีคำบริกรรม แต่ให้กำหนดเพ่งที่กระแสของพลังที่เกิดขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกหรือ
เคยฝึกมาแล้วก็ตาม ผมแนะนำให้กลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อน ถ้าพร้อมแล้วมาฝึกเลยครับ
    ก่อนอื่นเราต้อชำระ 3 อย่างออกก่อนลงมือฝึก คือ กาย วาจา ใจ
1.กาย คือการชำระล้างกายให้สะอาดก่อน จากนั้นก็ดื่มน้ำอุ่นเข้าไปหนึ่งแก้ว
2.วาจา อันนี้สำคัญมาก เรารู้จักระงับการพูดจาที่ไม่ดีทุกอย่าง เพราะเทวดาท่านไม่ชอบ การพูดที่ทำให้
คนอื่นเป็นทุกข์ เดือดร้อน ควรงด และท่านต้องแผ่เมตตาก่อนที่จะลงมือฝึกทุกครั้ง
3.ใจ ในขณะฝึกท่านต้องระงับอารมณ์ของ นิวรณ์ ทั้ง 5 ในขณะเดียวกันก็ต้อง เจริญพรหมวิหาร 4 ด้วย
อย่าคิดว่าไม่สำคัญนะครับเรื่องนี้ คนที่ฝึกไปแล้วหาทางออกไม่ได้ ก็เพราะไปติดตรงนี้

   ฝึกการหายใจ
   เมื่อท่านพร้อมแล้ว ให้ท่านกำหนดลมหายใจของท่านโดยการสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆจนเต็มปอดแล้ว
ก็กลั่นหายใจสักพัก จนรู้สึกว่าจะขาดใจ ก็ค่อยๆปล่อยลมหายใจออกมาจนหมดปอดค่อยๆนะครับ อย่า
ปล่อยออกมาแรง เพราะจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว พอปล่อยลมหายใจออกจนหมดปอดแล้วก็กลั่นลมหายใจ
อีกจนรู้สึกว่าจะขาดใจแล้วค่อยสูดลมหายใจเข้าไปอีก ทำอย่างนี้ซ้ำๆจนชิน ไม่ต้องรีบครับโลกยังไม่แตก
วันนี้หรอก

   เริ่มต้นฝึก
   เมื่อรู้สึกว่าใจสงบแล้ว ท่านก็ค่อยๆนำฝามือทั้งสองมาประกบกัน หายใจเข้าออกสักครู่ จากนั้นก็ค่อยๆ
กางฝ่ามือออกจากกันทีละนิดๆ จากนั้นท่านก็จะเริ่มสัมผัสถึงกระแสไฟอยู่ระหว่างฝ่ามือท่าน ไม่ต้องรีบ
ครับ ทำใจเย็นๆ ถนนไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว ตั้งสติให้มั่นอย่าส่งใจออกนอก ลมหายใจให้อยู่ในระดับ
เดิม กระแสพลังที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะบวกกับลบสลับกัน จนทำให้มีความรู้สึกคล้ายลูกบอลกลมๆบนฝ่า
มือ ให้เรารักษาอารมณ์ที่เกิดขึ้น อย่าไปสนใจสิ่งรอบข้างที่เกิขึ้นกับเรา ทั้งอาการคันเสียงกระซิบ หรือ
อะไรก็ตามไม่ต้องไปสนใจ
   ท่านฝึกอย่างนี้ไปก่อน แล้วหากเกิดปัญหาติดขัดแล้วค่อยมาคุยกัน หากท่าไม่ทำตามที่กล่าวมาก็ฝึกได้ครับแต่จะไม่เกิดปัญญา แล้วจะรู้สึกเบื่อหน่าย
   
   ปัญหาที่เกิดขณะฝึก
   แน่นอนครับทุกอย่าที่ทำต้องเกิดปัญหา เรามาดูปัญหาที่เกิขึ้นในการฝึกกัน
1.จะรู้สึกร้อนที่ฝ่ามือ อันนี้ปกติครับเพราะการฝึกแบบนี้จะเป็นการถ่ายเทพลัง คือของใหม่เข้าของเก่าออก
2.ร่างกายจะร้อนจนคล้ายเป็นไข้ อันนี้เกิดขึ้นเพราะร่างกายยังรับไม่ค่อยได้ แก้ไข
 2.1โดยการทำสมาธิปกติ แล้งเอามือแช่ในน้ำ ความร้อนจะถ่ายออกเอง  
 2.2 หากอยูในที่ๆไม่สะดวก ให้ใช้มือสัมผัสวัตถุที่เป็นหินหรือโลหะก็ได้
 2.3 กรณีที่ไม่ได้ทำสมาธิ ให้อาบน้ำเลยครับ
3.จะรู้สึกเวียนหัว คลื่นใส้ เป็นเพราะเพ่งมากเกินไปครับ ให้ถอนออกโดยการแยกมือออกจากกัน และหงายมือบนหัวเข่า เพื่อรับพลังจากอากาศธาตุ ให้ควบคุมการหายใจตามแนวทางที่กล่าวมาแล้ว

การฝึกแบบนี้เป็นการฝึกแบบโยคี ส่วนมากเขาจะฝึกในที่ๆเย็น เป็นการฝึกโดยการรวมธาตุทั้ง 5 เข้าด้วยกัน หากที่บ้านใครมีอ่างน้ำก็ลงไปฝึกในอ่างน้ำได้ครับ จะช่วยลดความร้อนได้ จะเห็นว่าเวลาโยคีฝึกเขาจะไปนั่งสมาธิในน้ำบ้าง ในน้ำตกบ้าง
   เอาเป็นว่าฝึกตามนี้ไปก่อน อย่าพึ่งไปทดลองอะไรมาก ขนาดตัวผมฝึกมาตั้งแต่ ปี 2005 ตอนฝึกใหม่ก็ค้นหาข้อมูลไปทั่ว จนได้มาเป็นสมชิกของเว็บพลังจิตเพื่อหาข้อมูลการฝึก ตอนปี 2005 นั่นแหละครับ ผมจะมาแนะนำขั้นตอนเรื่อยๆถ้าเขียนไปหมดเดี๋ยวจะพากันเรียนลัด แล้วพบกันใหม่นะครับ ขอความสำเร็จจงมีแด่ทุกท่าน 
                                                               อนุโมทนาครับ
                                                                  ตันติปาล
                                      ติดปัญหาก็ E-mail มาครับ ที่ nonga2008@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นักบุญปีเตอร์ผู้กำความลับการฝึกสมาธิของพระเยซูที่อินเดีย

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

เขียนโดย ตันติปาล

มมี โอกาสได้สนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านเป็นที่เคารพของผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองผมจึงขอสงวนที่จะเอ่ยชื่อของ ท่าน วันนั้นผมสนทนากับท่านหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องที่ท่านไปอินเดียกับรัฐมนตรี ท่านหนึ่ง ท่านเล่าให้ผมฟังว่าตอนที่ท่านไปที่อินเดียก็มีนักแสวงบุญท่านหนึ่งมาสนทนา ด้วย เรื่องที่สนทนากันนั้นเป็นเรื่องของพระเยซูกับนักบุญปีเตอร์
นักแสวงบุญท่านนี้จริงๆแล้วท่านเป็นนักวิจัย ท่านค้นคว้าเรื่องช่วงเวลาที่หายไปของจีซัสและปีเตอร์ แต่ท่านกลับถูกต่อต้านจากผู้ที่เคร่งในศาสนา ท่านจึงต้องมาวิจัยในคราบของนักแสวงบุญ ท่านอาจารย์ถามนักแสวงบุญว่าแล้วเจอคำตอบบ้างไหม ท่านก็ตอบว่าเจอคำตอบบางอย่างแล้ว แต่มันก็ยากเกินกว่าที่ชาวคริสต์จะรับได้ อาจารย์จึงถามต่อว่าเรื่องอะไรที่ท่านค้นพบ
นักแสวงบุญก็เล่าเรื่องราวของพระเยซูที่เพิ่งค้นพบให้ฟัง ในส่วนนี้ผมขอข้ามไปก็แล้วกัน เพราะรู้สึกว่าจะเคยมีคนเอาเรื่องของพระเยซูเดินทางมาอินเดียมาโพสต์แล้วลอง หาอ่านกันดูก็แล้วกัน เรื่องราวก็เหมือนกันดังนั้นผมจะขอเล่าเรื่องของนักบุญปีเตอร์ไปเลย

ท่านที่นับถือศาสนาคริสต์ท่านก็คงทราบดีว่า นักบุญปีเตอร์นั้นได้รับการยกย่องให้เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาองค์แรกของศาสนา คริสต์ โดยท่านจะมีสัญญาลักษณ์เป็นรูปกุญแจและคนตรึงกางเขนห้อยหัว ที่สำคัญท่านนักบุญปีเตอร์ท่านนี้เก็บงำความลับของพระเยซูไว้มากมายยิ่งนัก เดิมทีนักบุญปีเตอร์มีนามว่า ไซมอน อาศัยอยู่ตำบลเบทไซดา มีอาชีพเป็นชาวประมงและต่อมาได้ย้ายมาอยู่ ที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม ท่านได้รู้จักกับพระเยซูจากการแนะนำของน้องชายท่าน คือนักบุญแอนดรูว์กับนักบุญจอห์น แบ็พทิสต์
หลังจากที่ได้รับฟังคำสอนของพระเยซูก็เกิดความศรัทธา จึงขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์จากนั้นพระเยซูก็ได้เปลี่ยนชื่อจากโซมอลเป็น เปโตร ตั้งแต่นั้นมา จากนั้นพระเยซูก็ได้มอบหมายให้เป็นผู้ดูแลศาสนาคริสต์แทน โดยมอบกุญแจแห่งอาณาจักรเมืองสวรรค์ ก็หมายความว่าหากพระเยซูต้องไปนักบุญปีเตอร์ก็รับหน้าที่ต่อจากพระเยซู

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่



Name: Pope-peter_pprubens.jpg

Views: 15

Size: 32.9 KB

ID: 1164205

นักบุญปีเตอร์ในมือถือจุญแจแห่งอณาจักรเมืองสวรรค์

นักบุญปีเตอร์เป็นพยานในชุดแรกที่เห็นการฟื้นขึ้นมาของพระเยซู ก่อนที่พระเยซูจะกลับสู่สวรรค์ ซึ่งจริงๆแล้วสวรค์ที่ว่านั้นก็คือการเดินทางมายังแคชเมียร์ ตามคติความเชื่อโบราณบริเวณแคชเมียร์เทือกเขาหิมาลัยก็เป็นดินแดนสวรรค์ เป็นที่ๆเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนายิ่งนัก ข้อสันนิฐานของนักแสวงบุญนี้ค่อยข้างจะมีหลักฐานข้อมูลพอสมควร ซึ่งหลักฐานส่วนใหญ่นั้นจะถูกค้นและทำลายโดยวาติกันเกือบหมด จะเหลือแต่เพียงพระศพที่ยังไม่ถูกค้นพบในสมัยนั้นที่ยังไม่โดนทำลาย เพราะถ้าหากรู้ว่าพระเยซูแอบมาฝึกสมาธิแบบพุทธก็จะทำให้คนเสื่อมศรัทธาไปได้ การค้นพบพระศพที่อ้างกันว่าเป็นพระศพของพระเยซูนั้นจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ อย่างยิ่ง แต่การพิสูจน์นั้นเป็นเรื่องยากเพราะทางวาติกันก็จะขัดขวางทุกวิถีทางเช่น กัน

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่



Name: 8391_mummy.jpg

Views: 16

Size: 10.5 KB

ID: 1164204

พระศพที่ผู้ค้นพบคาดว่าจะเป็นพระศพของพระเยซู

ในช่วงแรกนั้นคำสอนของคริสต์นั้นจะเป็นเรื่องของการมีเมตตา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การแบ่งปันจนไปถึงการไม่ถือโทษโกรธเคือง แต่หลังจากที่พระเยซูได้เดินทางมาที่แคชเมียร์หลังฟื้นขึ้นมา ก็ได้มาศึกษาในเรื่องของจิตวิญญาณ ภายหลังที่พระเยซูออกมาได้ไม่นาน จะเป็นเหตุผลใดไม่ทราบได้ ท่านักบุญปีเตอร์ก็ได้เดินทางมาที่อินเดียเพื่อพบพระเยซู และก็ได้ฝึกสมาธิในรูปแบบของศาสนาพุทธ เวลาที่ท่านมานั้นน่าจะ 4-5 ปีได้ จากนั้นท่านก็กลับไปที่เยรูซาเลมเพื่อทำการเผยแพร่เพิ่มเติมในเรื่องของจิต วิญญาณ แม้ว่านักแสวงบุญท่านนี้จะไม่ได้เล่าอะไรมากนักแต่ก็พอจับต้นชนปลายถูก
ในภาวะการเกิดของศาสนาคริสต์นั้นอยู่ในช่วงสงคราม จึงเป็นเรื่องยากที่จะมาสอนการทำสมาธิแบบพุทธ แม้แต่ตัวของพระเยซูกับนักบุญปีเตอร์เองก็ยังถือเป็นเรื่องยาก การที่จะบรรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้นไปจึงจำเป็นที่จะต้องหาที่ๆสงบจริงๆ จึงเป็นเหตุให้พระเยซูต้องหนีความวุ่นวายนั้น และสั่งให้นักบุญปีเตอร์มาหาในเวลาอันควรเพื่อที่จะเผยแพร่คำสอนให้สมบูรณ์
การค้นพบพระศพนั้นก็จะเป็นหลักฐานยืนยันในเรื่องนี้ได้ ซึ่งเราต้องรอดูกันต่อไป หากการยืนยันในเรื่องนี้เป็นจริงเท่ากับว่าศาสนาพุทธเป็นต้นแบบของปัญญาโดย แท้จริง

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่



Name: นักบุญปีเตอร์.jpg

Views: 17

Size: 114.3 KB

ID: 1164206

นักบุญปีเตอร์ท่านได้ขอร้องให้เอาศีรษะทิ่มลงหิน โดยกล่าวว่าท่านไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูเจ้าพระอาจารย์

จริงๆ แล้วเรื่องนี้ผมไม่อยากเขียนเท่าไหร่พระมันคาบเกี่ยวกับศรัทธาของคน หลังจากปรึกษาผู้หลักผู้ใหญ่แล้วท่านก็ให้คำแนะนำมาในการเขียน เช่นการใช้ถ้อยคำ การวิจาร การอ้างอิงเป็นต้น

อ้างอิง(หาข้อมูลเพิ่มเตอมที่)
http://atheistcamel.blogspot.com/201...e-cancels.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...B8%A3%E0%B9%8C
http://www.jesus-in-india-the-movie....ravellers.html
http://reluctant-messenger.com/issa.htm
http://www.alislam.org/books/jesus-in-india/index.html

ในหลวงของเรา...มหากษัตริย์ยอดกตัญญู

ในหลวงของเรา...มหากษัตริย์ยอดกตัญญู

โดย พ.อ. (พิเศษ)ทองคำ ศรีโยธิน


คัดลอกโดย ตันติปาล

ลูกๆ ทุกคน...ก็ได้รูกันแล้วว่า ความหวังของแม่ ที่มีต่อลูก ๓ หวังคือ
ยามแก่เฒ่า หวังเจ้า เฝ้ารับใช้
ยามป่วยไข้ หวังเจ้า เฝ้ารักษา
เมื่อถึงยาม ต้องตาย วายชีวา
หวังลูกช่วย ปิดตา เมื่อสิ้นใจ

ทีนี้...มาดูตัวอย่างบ้าง...บุคคลที่เป็นยอดกตัญญู ที่ประทับใจอาจารย์มากที่สุด คือใคร ทราบไหม? คือคนในภาพนี้... ในหลวงของเรา...ในหลวง... นอกจากจะเป็นยอดพระมหากษัตริย์ของโลก...เป็น THE KING OF KING แล้ว ในหลวงของเรา ยังเป็นกษัตริย์ยอดกตัญญูด้วย

ความหวังของแม่...ทั้ง ๓ หวัง ในหลวงปฏิบัติได้ครบถ้วน...สมบูรณ์ เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดให้แก่เรา ในหลวงทำกับแม่ยังไง? ตามอาจารย์มา...อาจารย์จะฉายภาพให้เห็น...

หวังที่ ๑. ยามแก่เฒ่า...หวังเจ้า...เฝ้ารับใช้...ใครเคยเห็นภาพที่...สมเด็จย่า เสด็จไปในที่ต่างๆ แล้วมีในหลวง...ประคองเดินไปตลอดทาง...เคยเห็นไหม...? ใครเคยเห็น...กรุณายกมือให้ดูหน่อย...ขอบคุณ...เอามือลง

ตอนที่สมเด็จย่าเสด็จไปไหนเนี่ย... มีคนเยอะแยะ... มีทหาร...มีองค์รักษ์...มีพยาบาล... ที่ประคองสมเด็จย่าอยู่แล้ว แต่ในหลวงบอกว่า

ไม่ต้อง...คนนี้...เป็นแม่เรา...เราประคองเอง

ตอน เล็กๆ แม่ประคองเราเดิน...สอนเราเดิน หัดให้เราเดิน...เพราะฉะนั้นตอนนี้แม่แก่แล้ว... เราต้องประคองแม่เดิน เพื่อเทิดทูลพระคุณท่าน... ไม่ต้องอายใคร...

เป็นภาพที่...ประทับใจมาก... เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านกตัญญูต่อแม่...ประคองแม่เดิน ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จ... สองข้างทาง ฝั่งนี้ ๕,๐๐๐ คน ฝั่งนู้น... ๘,๐๐๐ คน

ยกมือขึ้น...สาธุ แซ่ซ้อง...สรรเสริญ กษัตริย์ยอดกตัญญู... ในหลวง...เดินประคองแม่... คนเห็นแล้ว...เขาประทับใจ ถ่ายรูป...เอามาทำปฏิทิน...เอาไปติดไว้ที่บ้าน เพื่อแสดงความเคารพ... กราบไหว้
ลองหันมาดูพวกเรา...ส่วนใหญ่ เวลาออกไปไหน แต่งตัวโก้...ลูกชาย...แต่งตัวโก้...ลูกสาว...แต่งตัวสวย แต่เวลาเดิน... ไม่มีใครประคองแม่...กลัวไม่โก้...กลัวไม่สวย ข้าราชการ...แต่งเครื่องแบบเต็มยศ... ติดเหรียญตรา...เหรียญกล้าหาญ...เต็มหน้าอก...แต่เวลาเดิน...ไม้กล้าประคอง แม่... กลัวไม่สง่า... กลัวเสียศักดิ์ศรี....ประคองแม่ เป็นเรื่องของ...คนใช้... หลายคน...ให้ประครองแม่... ไม่กล้าทำ อาย....

เวลาทำดี... ไม่กล้าทำ...อาย, เวลาทำชั่ว...กล้า...ไม่อาย... ใครเห็นภาพนี้ที่ไหน...กรุณาซื้อใส่กรอบ... แล้วเอาไปแขวนไว้ในบ้าน...เอาไว้สอนลูก เห็นภาพชัดเจนไหมครับ? เท่านั้นยังน้อยไป... มาดูภาพที่ชัดเจนกว่านั้น....

หลังงานพระบรมศพสมเด็จย่า...เสร็จสิ้นลงแล้ว ราชเลขา...ของสมเด็จย่า...มาแถลงในที่ประชุม...ต่อหน้าสื่อมวลชนว่า... ว่า...ก่อนสมเด็จย่า จะสิ้นพระชนม์ปีเศษตอนนั้นอายุ ๙๓ ในหลวง... เสด็จจากวังสวนจิตร... ไปวังสระประทุมตอนเย็นทุกวัน
ไปทำไมครับ...? ไปกินข้าวกับแม่ ไปคุยกับแม่...ไปทำให้แม่ชุ่มชื่นหัวใจ... พอเขาแถลงถึงตรงนี้ อาจารย์ตะลึง
โอ้โห!... ขนาดนี้เชียวหรือในหลวงของเรา

เสด็จไปกินข้าวมื้อเย็นกับแม่... สัปดาห์ละกี่วัน...ทราบไหมครับ? พวกเราทราบไหมครับ...สัปดาห์ละกี่วัน?... ๕ วัน...
มีใครบ้างครับ...? ที่อยู่คนละบ้านกับแม่ แล้วไปกินข้าวกับแม่...สัปดาห์ละ ๕ วัน หายาก...

ในหลวงมีโครงการเป็นร้อย.... เป็นพันโครงการ... มีเวลาไปกินข้าวกับแม่ สัปดาห์ละ ๕ วัน พวกเรา ซี ๗ ซี ๘ ซี ๙ ร้อยเอก...พลตรี...อธิบดี...ปลัดกระทรวง ไม่เคยไปกินข้าวกับแม่...บอกว่า...งานยุ่ง
แม่บอกว่า... ให้พาไปกินข้าวหน่อย... บอกไม่มีเวลา จะไปตีกอล์ฟ...ไม่มีเวลาพาแม่ไปกินข้าว... แต่มีเวลาไปตีกอล์ฟ...เห็นตัวเองหรือยัง ...?

พ่อแม่...พอแก่แล้ว ก็เหมือนไม้ใกล้ฝั่ง... ฝนตก...น้ำเซาะ...อีกไม่นานก็โค่น... พอถึงวันนั้น...พวกเราก็ไม่มีแม่ให้กราบแล้ว.....

ในหลวงจึงตัดสินพระทัย... ไปกินข้าวกับแม่สัปดาห์ละ ๕ วัน เมือตอนที่สมเด็จย่าอายุ...๙๓
สัปดาห์หนึ่งมี ๗ วัน ในหลวงไปกินข้าวกับแม่ ๕ วัน อีก ๒ วันไปไหนครับ....? ดร.เชาว์ ณ ศิลวันต์...องคมนตรี บอกว่า

ในหลวง ...ถือศิล ๘ วันพระ ...ถือศิล ๘ นี่ยังไง...? ต้อง งดข้าวเย็น...เลยไม่ได้ไปหาแม่...วันนี้เพราะถือศิล อีกหนึ่งวันที่เหลือ... อาจกินข้าวกับพระราชินี...กับคนใกล้ชิด แต่ ๕ วันให้แม่ เห็นภาพชัดแล้วไช่ใหม...?

ตอนนี้เราขยับเข้าไปใกล้ๆ หน่อย ไปดูตอนกินข้าว... ทุกครั้ง...ที่ในหลวงไปหาสมเด็จย่า... ในหลวงต้องเข้าไปกราบที่ตัก... แล้วสมเด็จย่า...ก็จะดึงตัวในหลวงเข้ามากอด...กอดเสร็จก็หอมแก้ม...
ตอนสมเด็จย่า...หอมแก้มในหลวง...อาจารย์คิดว่า แก้มในหลวง...คงไม่หอมเท่าไร ...เพราะไม่ได้ใส่น้ำหอม แต่ทำไม... สมเด็จย่าหอมแล้ว...ชื่นใจ...เพราะ ท่านได้กลิ่นหอม... จากหัวใจในหลวง หอมกลิ่นกตัญญู
ไม่นึกเลยว่า...ลูกคนนี้ จะกตัญญูขนาดนี้ จะรักแม่ขนาดนี้

ตัวแม่เองคือ สมเด็จย่า...ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ เป็นคนธรรมดา...สามัญชน...เป็นเด็กหญิงสังวาล เกิดหลังวัดอนงค์...เหมือนเด็กหญิงทั่วไป... เหมือนพวกเราทุกคนในที่นี้ ในหลวงหน่ะ... เกิดเป็นพระองค์เจ้า เป็นลูกเจ้าฟ้า ปัจจุบันเป็นกษัตริย์...เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่เหนือหัว

แต่ในหลวง...ที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน... ก้มลงกราบ...คนธรรมดา...ที่เป็นแม่ หัวใจของลูก...ที่เคารพแม่...กตัญญูกับแม่อย่างนี้ หาไม่ได้อีกแล้ว...บางคน...พอได้เป็นใหญ่เป็นโต ไม่กล้าใหว้แม่...เพราะแม่มาจากเบื้องต่ำ... เป็นชาวนา...เป็นลูกจ้าง ไม่เคารพแม่...ดูถูกแม่...

แต่นี่...ในหลวง เทิดแม่ไว้เหนือหัว... นี่แหละครับความหอม นี่คือเหตุที่สมเด็จย่า... หอมแก้มในหลวงทุกครั้ง... ท่านหอมความดี... หอมคุณธรรม... หอมกตัญญู...ของในหลวง หอมแก้มเสร็จแล้ว...ก็ร่วมโต๊ะเสวย...ตอนกินข้าวนี่... ปกติ...แค่เห็นลูกมาเยี่ยม...ก็ชื่นใจแล้ว...

นี่ลูกมากินข้าวด้วย...โอย...ยิ่งปลื้มใจ

แม่ทั้งหลาย...ลองคิดดูซิ... อะไรอร่อยๆ ในหลวงก็จะตักใส่ช้อนให้แม่... อันนี้อร่อย...แม่ลองทาน... รู้ว่าแม่ชอบทานผัก... หยิบผักม้วนๆ ใส่ช้อนแม่... เอ้าแม่...แม่ทานซะ...ของที่แม่ชอบ... แทนที่จะกินแค่ ๓ คำ ๔คำ ก็เจริญอาหาร... กินได้เยอะ เพราะมีความสุขที่ได้กินข้าวกับลูก มีความสุขที่ลูกดูแล... เอาใจใส่...

กินข้าวเสร็จแล้ว...ก็มานั่งคุยกับแม่...ในหลวงดำรัสกับแม่ว่ายังไง...ทราบไหม...?
ตอนในหลวงเล็กๆ... แม่เคยสอนอะไรที่สำคัญ... อยากฟังแม่สอนอีก เป็นไงบ้าง...? เป็นกษัตริย์... ปกครองประเทศ... อยากฟังแม่สอนอีก...

พวกเราเป็นไง...? เรา คิดว่า...เรารู้มาก...เราเรียนสูง...เรามีปริญญา...แม่จบ ป.๔ เวลาแม่สอน...ตะคอกแม่ ตวาดแม่ กระทืบเท้าใส่แม่ เบื่อจะตายอยู่แล้ว...รำคาญ... พูดจาซ้ำซาก... เมื่อไหร่จะหยุดพูดซะที... เราเหยียบย่ำ หัวใจแม่

พอสมเด็จย่าสอน... ในหลวงจะเอากระดาษมาจด... มีอยู่เรื่องหนึ่ง...ที่จำได้แม่น... สมเด็จย่า...เล่าว่า ตอนเรียนหนังสือที่ Swiss ในหลวงยังเล็กอยู่... เข้ามาบอกแม่ว่า...อยากได้จักรยาน เพื่อนๆ เขามีจักรยานกัน

แม่บอกว่า... ลูกอยากได้จักรยาน... ลูกก็เก็บสตางค์...ที่แม่ให้ไปกินที่โรงเรียนไว้ซิ...เก็บมาหยอดกระปุก...วันละเหรียญ...สองเหรียญ พอได้มากพอ...ก็เอาไปซื้อจักรยาน...
นี่เป็นสิ่งที่แม่สอน... แม่สอนอะไร...ทราบไหมครับ...?

ถ้าเป็นพ่อแม่บางคน... พอลูกขอ...รีบกดปุ่ม ATM ให้ เลย ประเคนให้เลย... ลูกก็ฟุ้งเฟ้อ...ฟุ่มเฟือย...เหลิง...และหลงตัวเอง พอโตขึ้น...ขับรถเบนซ์ชนตำรวจ...ก็ได้...ยิงตำรวจ...ยังได้...เพราะหลงตัว เอง...พ่อตนใหญ่ เห็นไหม...? เทิดทูน จนเสียคน...
แต่สมเด็จย่านี่...เป็นยอดคุณแม่...สร้างคุณธรรมให้แก่ลูก...ลูกอยากได้... ลูกก็เก็บสตางค์ที่แม่ให้...ไปหยอดกระปุก... แม่สอน ๒ เรื่อง คือ...ให้ประหยัด...ให้ยืนอยู่บนขาของตัวเอง

ความประหยัด...เป็นสมบัติของเศรษฐี ใครสอนลูกให้ประหยัดได้... คนนั้นกำลังมอบความเป็นเศรษฐีให้แก่ลูก

พอถึงวันขึ้นปีใหม่...สมเด็จย่าก็บอกว่า... ปีใหม่แล้ว...เราไปซื้อจักรยานกัน...“เอ้าแคะกระปุก...ดูซิว่ามีเงินเท่าไร...?” เสร็จแล้ว... สมเด็จย่าก็แถมให้... ส่วนที่แถมนะ...มากกว่าเงินที่มีในกระปุกอีก...
มีเมตตา...ให้เงินลูก... ให้...ไม่ได้ให้เปล่า...สอนลูกด้วย...สอนให้ประหยัด สอนว่า...อยากได้อะไร...ต้องเริ่มจากตัวเรา...คำสอนนั้น...ติดตัวในหลวงมาจนทุกวันนี้...

เขาบอกว่า...ในสวนจิตรเนี่ย... คนที่ประหยัดที่สุด...คือ...ในหลวง...ประหยัดที่สุด...ทั้งน้ำ...ทั้งไฟ... เรื่องฟุ่มเฟือย...ไม่มี...เป็นอันว่า...ภาพนี้ชัดเจน...

หวังที่ ๒. ยามป่วยไข้...หวังเจ้า...เฝ้ารักษา ดูว่าในหลวง ทำกับแม่ยังไง...? สมเด็จย่า...ประชวรอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช... ในหลวงไปเยี่ยมตอนไหนครับ...?
ไปเยี่ยมตอน ตี ๑ ตี ๒ ตี ๔ เศษๆ...จึงเสด็จกลับ... ไปเฝ้าแม่วันละหลายชั่วโมง...

แม่...พอเห็นลูกมาเยี่ยม...ก็หายป่วยไปครึ่งหนึ่งแล้ว...

ทีม แพทย์ที่รักษาสมเด็จย่า... เห็นในหลวงมาเยี่ยม มาก็ประทับใจ ก็ต้องฟิต...ตามไปด้วย ต้องปรึกษาหารือกันตลอดว่า...จะให้ยายังไง...จะเปลี่ยนยาไหม...? จะปรับปรุงการรักษายังไง...ให้ดีขึ้น... ทำให้สมเด็จย่า...ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น...เห็นภาพไหม...?

กลางคืน...ในหลวงไปอยู่กับสมเด็จย่า... คืนละหลายชั่วโมง...ไปให้ความอบอุ่นทุกคืน
ลองหันมาดูตัวเราเองซิ... ตอนพ่อแม่ป่วย...โผล่หน้าเข้าไปดูหน่อยนึง ถามว่า...ตอนนี้...อาการเป็นยังไง...?

พ่อแม่...ยังไม่ทันตอบเลย ฉันมีธุระ งานยุ่ง ต้องไปแล้ว...โพล่หน้าให้เห็นพอแค่เป็นมารยาท... แล้วก็กลับ...เราไม่ได้ไปเพราะความกตัญญู... เราไม่ได้ไปเพื่อทดแทนบุญคุณท่าน...น่าอายไหม...?
ในหลวง...เสด็จไปประทับกับแม่... ตอนแม่ป่วยไปทุกวัน... ไปให้ความอบอุ่น... ประทับอยู่วันละหลายชั่งโมง...นี่คือ...สิ่งที่ในหลวงทำ

คราวหนึ่ง...ในหลวงป่วย... สมเด็จย่าก็ป่วย... ไปอยู่ศิริราช...ด้วยกัน...อยู่คนละตึก... ตอนเช้า...ในหลวงเปิดประตู...แอ๊ด...ออกมา... พยาบาลกำลังเข็นรถสมเด็จย่า ...ออกมารับลมหน้าห้องพอดี
ในหลวง...พอเห็นแม่... รีบออกจากห้อง...มาแย่งพยาบาลเข็นรถ มหาดเล็ก...กราบทูลว่า ไม่เป็นไร... ไม่ต้องเข็น มีพยาบาลเข็นให้อยู่แล้ว ในหลวงรับสั่งว่า...แม่ของเรา... ทำไมต้องให้คนอื่นเข็น...เราเข็นเองได้...

นี่ ขนาดพระเจ้าแผ่นดิน...เป็นกษัตริย์...ยังมาเดินเข็นรถให้แม่ ยังมาป้อนข้าว...ป้อนน้ำให้แม่...ป้อนยาให้แม่ให้ความอบอุ่นแก่แม่...เลี้ยง หัวใจแม่...ยอดเยี่ยมจริงๆ...เห็นภาพนี้แล้ว...ซาบซึ้ง...

มาตามดูต่อ

หวังที่ ๓. เมื่อถึงยาม...ต้องตาย...วายชีวา... หวังลูกช่วย...ปิดตา...เมื่อสิ้นใจ วันนั้น...ในหลวง...เฝ้าสมเด็จย่า อยู่จนถึงตี ๔ ตี ๕ เฝ้าแม่อยู่ทั้งคืน... จับมือแม่...กอดแม่...ปรนนิบัติแม่...จนกระทั้ง “แม่หลับ…” จึงเสด็จกลับ...
พอ ไปถึงวัง... เขาก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า...สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์... ในหลวง...รีบเสด็จกลับไป...ศิริราช... เห็นสมเด็จย่านอนหลับตาอยู่บนเตียง... ในหลวงทำยังไงครับ...?
ในหลวงตรงเข้าไป...คุกเข่า... กราบลงที่หน้าอกแม่...พระพักตร์ในหลวง... ตรงกับหัวใจแม่... ขอหอมหัวใจแม่...เป็นครั้งสุดท้าย... ซบหน้านิ่ง...อยู่นาน... แล้วค่อยๆ ...เงยพระพักตร์ขึ้น...น้ำพระเนตร
ไหลนอง...
ต่อ ไปนี้...จะไม่มีแม่ให้หอมอีกแล้ว...เอามือ...กุมมือแม่ไว้ มือนิ่มๆ ...ที่ไกวเปลนี้แหละที่ปั้นลูก...จนได้เป็นกษัตริย์...เป็นที่รักของคนทั้ง บ้านทั้งเมือง...ชีวิตลูก...แม่ปั้น...
มอง เห็นหวี...ปักอยู่ที่ผมแม่... ในหลวงจับหวี...ค่อยๆ หวีให้แม่...หวี...หวี...หวี... หวี...ให้แม่สวยที่สุด... ในวันสุดท้ายของแม่...

เป็นภาพที่ประทับใจอาจารย์ที่สุด...เป็นสุดยอดของลูกกตัญญู...หาที่เปรียบไม่ได้อีกแล้ว...

คัดลอกมาจากหนังสือเรื่อง หยุดความเลว..ที่..ไล่ล่าคุณ โดย พ.อ. (พิเศษ)ทองคำ ศรีโยธิน

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รังสีออร่าในตัวคุณ




          หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า "รังสีออร่า" แต่รู้กันไหมล่ะว่ามันคืออะไร และสามารถบอกถึงอะไรในตัวเราได้บ้าง

          โดยรังสีออร่า คือสีของความคิดและอารมณ์จะมีลักษณะเป็นหมอกไหลปรากฏเป็นหย่อมๆ เห็นได้ชัดเจนบริเวณรอบศีรษะและเหนือบ่า

          วิธีคิดหารังสีออร่าของตัวคุณ เพียงคำนวณตามสูตร นำวัน เดือน ปี ค.ศ. ที่เกิด มาบวกกัน สมมุติว่า เกิดวันที่ 5 เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1960 ก็นำเลขทั้งหมดมาบวกกันคือ 5 + 5 + 1960 = 1970

          จากนั้นก็แยกตัวเลขออกมาบวกกันอีกครั้ง จะได้เป็น 1 + 9 + 7 + 0 = 17 ก็นำมาแยกบวกอีกจนกว่าจะได้เลขตัวเดียว ซึ่งก็คือ 1 + 7 = 8

          เมื่อได้ผลลัพธ์เป็นเลขตัวเดียว แล้วขอให้ดูว่าตัวเลขที่ได้ตรงกับสีพื้นฐานสีอะไร มีความหมายว่าอย่างไร แต่ถ้าเลขบวกกันแล้วได้ผลเป็น 11 และ 22 ไม่ต้องแยกบวกอีก เพราะเป็นพวกพิเศษกว่าพวกอื่น 

           1. สีแดง : ผู้นำ

          พวกมีสีแดงเป็นสีพื้นฐาน จะมีความกระตือรือร้น เป็นผู้นำ
ทะเยอทะยาน เต็มไปด้วยพลังงาน มีความกระฉับกระเฉงและพลังทางเพศ มีเสน่ห์ พูดจาโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้ดี เป็นคนสนุกสนาน โอบอ้อมอารี กล้าหาญ

         คุณวิ่งไม่เร็ว มองโลกในแง่ดี ชอบการแข่งขัน เป็นสีที่นำมาซึ่งความสำเร็จ คุณควรหาอะไรที่ท้าทายความสามารถทำ ชอบสร้างโครงการท้าทายความสามารถ แต่ต้องพิจารณาให้พอเหมาะสมกับตัวด้วย

          ข้อเสีย มักจะขี้กังวล ตื่นตระหนกและอาจหลงตัวเอง รวมทั้งอาจจะบ้างานมากไปจนเครียด ควรรู้จักพักผ่อน และคลายความเครียด 

     2. สีส้ม/ แสด : มนุษยสัมพันธ์ดี

          คุณเป็นคนอบอุ่น น่าคบ เข้ากับคนง่าย กระฉับกระเฉงว่องไว มีความสุข เป็นสีที่คอบควบคุมกล้ามเนื้อ แต่มีมากไปจะเย่อหยิ่ง ชอบเป็นที่ปรึกษาปัญหาให้ใครต่อใคร ชอบช่วยเหลือ และทำตัวให้เป็นประโยชน์อยู่เสมอ จิตใจสมถะ ชอบปิดทองหลังพระ คุณควรคบกับคนที่มีนิสัยคล้ายคลึงกัน ไม่งั้นคนอื่นจะเอาเปรียบคุณ

          ข้อเสีย ขี้เกียจ ใจน้อย มักถูกคนอื่นเอาเปรียบ 

     3. สีเหลือง : มีความคิดสร้างสรรค์ ฉลาด

          คุณเป็นคนคิดอะไรรวดเร็ว มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ เข้าสังคมง่ายปรับตัวเก่ง ชอบคุยถกเถียงปัญหา ชอบเรียนรู้ และทำอะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เป็นคนฉลาด หลักแหลม และเรียนรู้อะไรได้รวดเร็ว มีเมตตา รักเพื่อนมนุษย์ เป็นสีคุ้มกันโรคภัย มีพรสวรรค์ด้านการพูด งานที่ทำควรเกี่ยวกับการพูดเป็นสื่อ เช่น ครู เซลล์แมน นักการทูต ที่ปรึกษา ฯลฯ หรืองานอาชีพที่ต้องใช้คำพูดเป็นหลัก

          ข้อเสีย จับจด ขี้อาย โกหกเก่ง 

    4. สีเขียว : รักษาโรค

          คุณเป็นคนรักสงบ ละเอียดอ่อน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น จิตใจดี มีพลังจิต ไว้วางใจได้ คุณอาจมีลักษณะภายนอกหงิมๆ หรือเรียบง่าย แต่ส่วนลึกแล้วดื้อน่าดู คุณเป็นพวกสู้งาน หนักเอาเบาสู้ มีความสามารถในการใช้มือ เป็นสีแห่งความสมดุลและปรับตัว

          ข้อเสีย ดื้นรั้น ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

   5. สีน้ำเงิน : เป็นได้ทุกอย่าง

          คุณเป็นพวกมองโลกในแง่ดี แม้ชีวิตจะลุ่มๆ ดอนๆ ไปบ้างแต่ยังยิ้มสู้เสมอ เชื่อมั่นในตนเอง ซื่อตรง พยายามยืนหยัดด้วยตัวเอง แสงออร่าของคุณจึงกว้างและสว่างไสวเสมอ ทำให้กระชุ่มกระชวยดูอ่อนกว่าวัย

คุณมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ปากกับใจตรงกัน รักการผจญภัย มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ ชอบพบปะผู้คน และสนใจการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม มีพรสวรรค์หลายๆ ด้าน


          ข้อเสีย ชอบทำงานหลายๆ อย่างในคราวเดียวกัน จึงกลายเป็นคนจับจด ทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่างนอกจากนั้นยังเป็นพวกชีพจรลงเท้า และขาดความอดทนอีกด้วย 

  6. สีคราม : มีความรับผิดชอบสูง

          คุณชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์ ช่วยเหลือผู้อื่น ชอบรับผิดชอบงาน จิตใจโอบอ้อมอารี เป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ ไม่เห็นแก่ตัว เป็นสีของพลังจิต สัมผัสที่ 6 โทรจิตต่างๆ มีความคิดฉลาดล้ำลึกและสร้างสรรค์ นิยมความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ มีความจริงใจ ชอบค้นหาสัจจะความจริงของชีวิต

          ข้อเสีย ปฏิเสธใครไม่เป็น ควรหาเวลาเป็นตัวของตัวเองบ้าง มีมาตรฐานการทำงานสูง จึงมักหงุดหงิดกับอะไรๆ ที่ไม่ได้ตามมาตรฐานของตนเอง

  7. สีม่วง : ฉลาดล้ำลึก และสันโดษ

          คุณมีจิตใจละเอียดอ่อน สนใจในศาสตร์ลึกลับจนบางครั้งดูเหมือนเป็นคนลึกลับ คุณมีประสาทสัมผัสที่ 6 สูง รักสันโดษจนดูเหมือนคุณจะเข้ากับใครไม่ได้ มักมีปัญหาบริเวณท้อง

          ข้อเสีย มักดูถูกความคิดผู้อื่น และเก็บความรู้สึกมากเกินไป 

 8. สีชมพู : นักบริหาร นักธุรกิจ
          คุณเป็นคนมีความตั้งใจจริง แต่ค่อนข้างดื้อรั้น วางมาตรฐานตัวเองไว้สูง มุ่งมั่นที่จะให้บรรลุเป้าหมายและความสำเร็จ ถ้าคุณรู้ว่าเป็นฝ่ายถูก คุณจะยืนหยัดต่อสู้อย่างไม่ยอมถอย มีพลังที่แจ่มใส รักสงบ เต็มไปด้วยความรัก โรแมนติก อารมณ์ขัน ถ่อมตน ปลอบประโลมคนเก่ง


          ข้อเสีย มักจะใจคอโลเล อาชีพของคุณจึงต้องเกี่ยวกับการบริหารและความรับผิดชอบ 

9. สีทองเหลือง : นักสังคมสงเคราะห์

          คุณเป็นคนอ่อนโยน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นทั้งนักปราชญ์และเป็นคนมีคุณธรรมเต็มเปี่ยม มีความสุขมากที่สุดเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นคนมีความสุขและมองโลกในแง่ดี

          ข้อเสีย ปฏิเสธใครไม่เป็น จึงถูกเอาเปรียบบ่อยๆ ควรรู้จักปฏิเสธบ้าง



    11. สีเงิน : นักอุดมคติ

          คุณมีประสาทสัมผัสที่ 6 มีศักยภาพสูงในหลายๆ ด้าน
เต็มไปด้วยความคิดแปลกๆ ใหม่ๆ ชอบฝันหวาน แต่คุณมักจะฝันมากกว่าลงมือทำจริงๆ เป็นคนซื่อสัตย์ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มองโลกในแง่ดี ถ้ามุมานะสร้างความฝันให้เป็นความจริงคุณจะไปได้ไกลมากทีเดียว

         ข้อเสีย ขี้เกียจ และบางครั้งจะเครียดจนใครๆ ไม่กล้าเข้าใกล้ ควรหาเวลาพักผ่อน ฝึกสมาธิ หรือโยคะ 

 22. สีทอง : ไม่มีขอบเขตจำกัด
          คุณสามารถทำเรื่องใหญ่ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก หรือทำงานใหญ่ให้กลายเป็นเรื่องปอกกล้วยเข้าปาก คุณจะประสบความสำเร็จไปแทบทุกเรื่อง เป็นคนมีเสน่ห์จูงใจ ทำงานหนักเอาเบาสู้ มีเป้าหมาย ในการทำงานที่แน่นอน มีอุดมคติและความสามารถสูง เป็นผู้นำสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การฝึกลมปราณในระดับพื้นฐาน

การฝึกลมปราณในระดับพื้นฐาน

   ใครที่ชอบอ่านหนังสือหรือดูหนังประเภทนิยายกำลังภายใน บางคนคงคิดว่าเป็นเรื่องโม้ แต่บางคนคงเชื่อว่า "ศาสตร์เร้นลับเช่นนี้ต้องมีจริงแน่ๆ" เมื่อก่อน ตนเองพยายามเสาะแสวงหาตำราประเภทนี้เป็นภาษาไทย กลับหาไม่พบ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นคนจีนในเมือง

ไทยส่วนใหญ่จะเก็บวิชาพวกนี้เอาไว้เป็นความลับ แต่โชคเข้าข้างตัวเอง นั่นก็คือ ชาวจีนและญี่ปุ่นโพ้นทะเล  มีแนวคิดที่ว่า  ศาสตร์เร้นลับประเภทนี้  เมื่อ สมัยก่อนต้องปิดบัง  เนื่องจากผู้ที่ได้ความรู้ไป สามารถกลายเป็นเจ้ายุทธจักร์ได้ และหากเป็นผู้ไร้คุณธรรมแล้วด้วยละก็ จะสร้าง

ความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นได้เป็นอย่างมาก  แต่ในช่วงหลังๆนี้ชาวจีนและ ญี่ปุ่นเหล่านั้น ต่างก็ตระหนักดีว่า "วรยุทธ์โบราณ ไม่สามารถต้านทานอาวุธปืนหรืออาวุธที่ร้ายแรงสมัยใหม่อย่างอื่นได้"  ดัง นั้นพวกเขาจึง  นำศาสตร์โบราณเหล่านี้ออกมาเผยแพร่โดยการเปิดสำนักสอน หรือ

เขียนตำราไว้เป็นภาษาอังกฤษ  ซึ่งบ่อยครั้งที่ความรู้ในเรื่องศาสตร์เหล่า นี้ สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นอาการป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ อีกทั้งยังนำมาใช้ปรับปรุงสุขภาพ และคงไว้ซึ่งความอ่อนวัยได้เช่นกัน

หลักการสำคัญในการฝึกลมปราณ (สาระสำคัญของวิชา) พอที่จะสรุปได้ 4 ประการคือ

1.  ตั้งสมาธิอยู่ที่จุด dantian (ภาษาจีนกลาง) หรือ tanden (ภาษาญึ่ปุ่น)
2.  ส่ง qi (ภาษาจีนกลาง) หรือ ki (ภาษาญี่ปุ่น)  (พลังลมปราณ) ให้แพร่กระจายออกไปไกลสุดสายตา และครอบคลุมจักรวาล
3.  ผ่อนคลาย (ร่างกายและจิตใจ) ให้มากที่สุด
4.  ทำให้น้ำหนักตัวที่ทุกจุด ให้ใฝ่หาที่ต่ำ

ก่อนที่จะเขียนต่อไป ก็ขอให้นิยามศัพท์บางคำก่อน

qi คืออะไร

คนจีนเรียกพลังชีวิตว่า “ชี่” จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า “ขี่” ภาษาสันสกฤตใช้คำว่า “ปราณ” (prana) ส่วนคนญี่ปุ่นเรียกพลังชีวิตว่า “ กิ” (ki) และในภาษากรีกเรียกว่า “ นูมา” (pneuma)

qi หรือลมปราณมีความละเอียดดุจใยไหม  มีสภาพคล้ายของเหลว, ของไหลแก๊ส และมีคุณสมบัติในเชิงไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ศาสตร์การแทงเข็ม (acupuncture) เป็นการปรับเปลี่ยนดุลยภาพของ qi ในอวัยวะต่างๆ  จึงรักษาโรคได้  โดยอาศัย The Law of the Five

Elements (หลักการแห่งธาตุทั้ง 5) ใน Daoism (Taoism หรือลัทธิเต๋า)


พลังชี่ทั้ง ๓

ในคัมภีร์อี้จิงเก่าแก่ของจีน กล่าวว่าคนเราสัมพันธ์กับชี่ 3 ประเภท หรือ พลังทั้ง 3 คือ พลังชี่ของฟ้าหรือสวรรค์ พลังชี่ของดินหรือของโลก และพลังชี่ของมนุษย์

1. พลังชี่ของฟ้าหรือชี่สวรรค์ คือพลังธรรมชาติที่อยู่บนท้องฟ้าและในจักรวาล เช่น พลังจากดวงอาทิตย์ แรงดึงดูดจากดวงจันทร์และดวงดาว พลังงานที่เกิดจากลม พายุ สายฝน ก้อนเมฆ และอากาศทั้งหมด
2. พลังชี่ของดินหรือชี่ของโลก คือ พลังธรรมชาติที่อยู่บนโลก ทั้งบนดินและใต้ดิน ก้อนหิน ดินทราย สายน้ำ แร่ธาตุ ต้นไม้ และสัตว์ต่าง ๆ
3. พลังชี่ของมนุษย์ ความจริงชี่ของคน ก็จัดเป็นชี่ของโลกด้วยเช่นเดียวกับชี่ของสัตว์และต้นไม้ แต่เพราะมนุษย์แต่ไหนแต่ไรมา เห็นว่าตนเองแตกต่างจากสัตว์และพืช

จึงแยกตัวเองออกมาเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะอย่างที่พิเศษกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และเพื่อสามารถศึกษาค้นคว้าให้เกิดชุดความรู้ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการบำบัดรักษาตัวเองด้วย

ชี่ก็คือชีวิต พลังชี่ก็คือพลังแห่งชีวิต ชี่คือสิ่งมีอยู่แล้วในร่างกายของเรา ต่อไปจะเรียกชี่ว่าปราณนะครับ

ตั้งแต่เกิดเมื่อมีพลังปราณจึงมีชีวิต เมื่อสิ้นชีวิตพลังปราณก็จะหายไป

เราจะแบ่งปราณในตัวเราออกเป็น3ชนิดด้วยกันคือ

เว่ยชี่ - หมายถึงปราณที่แล่นอยู่นอกเส้นชีพจรหรือเส้นเลือดทำหน้าที่ในการบำรุงเลี้ยง ร่างกายให้เกิดความอบอุ่นรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ป้องกันไม่ให้ถูกปัจจัยภายนอกเข้ามาจู่โจมร่างกายเรา
อิ๋งชี่ - หมายถึงปราณที่แล่นอยู่ในเส้นชีพจรหรือเส้นเลือด ซึ่งก็คือระบบการไหลเวียนของเลือดนั่นเอง
จั้นฝู่จือชี่ - หมายถึงพลังปราณที่อยู่ในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้อวัยวะนั้นๆทำงานได้