หน้าเว็บ

แจกวัตถุมงคล รอบนี้


ที่นี่เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่มและบุคคลหากไม่มีศรัทธาอย่ามาก่อกวน ภาพและบทความมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย


วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทสวดสะเดาะเคราะห์ด้วยตนเอง

การสวดมนต์ในแบบของการแผ่เมตตาบารมี และขอขมาเจ้ากรรมนายเวร สวดทุกวันยิ่งดี สวดทุกวันไม่ได้ก็สวดวันพระ

บทขอขมา
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓ จบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
 อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินบิดา-มารดาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ครูบาอาจารย์พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยะสงฆ์เจ้าตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวรจะด้วยกาย วาจา ใจ ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วยหากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา ข้าพเจ้าขออนุญาตมีคู่มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐานคำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีตขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระ
ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควรขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัวตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขขะ พละ ลาภ ยศ สรรเสริญสติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใด ๆ โรคภัยใด ๆ ขอให้มลายสิ้นไปขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรมตั้งแต่บัดนี้จนตราบเข้าสู่นิพพานเทอญ
ข้าพเจ้าขอถอนคำสัญญา คำสาบาน คำอธิษฐาน ที่ผูกมัดตัวเองและผู้อื่นขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระจากสัญญาทั้งปวง  เมื่ออายุไขข้าพเจ้าสิ้นแล้ว ข้าพเจ้าขอมีชีวิตอยู่บำเพ็ญกุศบารมีต่อ
หากมีผู้ใดเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตามข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความอาฆาต ความพยาบาทและคำสาปแช่งในทุกชาติ ทุกภพขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชนของเจ้ากรรม ขอให้พ้นจากนรกภูมิและพบแสงสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม

การอัญเชิญเทพเทวดา เจ้าที่เจ้าทาง ผีบ้านผีเรือน มาสวดมนต์ด้วย
บทอัญเชิญ
ข้าขออัญเชิญเทพยาดาทุกชั้นฟ้า มาสถิตในจิตข้า ขอเชิญพระแม่ธรณี พระแม่คงคา ขอเชิญผีป่า ผีบ้าน ผีเรือน ขอเชิญเจ้าที่เจ้าทาง อีกทั้งญาติทั้งหลายที่ล่วงลับ ขอเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในตัวข้า ทั้งรอบกายข้า ทั้งที่รักษาตัวข้า จงได้มา สวดมนต์พระคาถาบูชา ร่วมกับข้า มาร่วมแผ่เมตตาให้กว้างทั่วไพศาล มาอัญเชิญพระกถาศาสดาจารให้ระบือเรืองนาม ทั้งสามโลก ผู้ทุกข์โศก ตกทุกข์ อยู่หนใด ขอให้ได้อานิสงค์นี้ด้วยเถิด

คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )
บทสวดพุทธานุสสติ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
บทสวดธัมมานุสสติ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)
บทสวดสังฆานุสสติ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย,
ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
ก้มหมอบแล้วสวด
 กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ,          

   กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง,
ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม

    กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ
คาถาชุมนุมเทวดา
สัคเค กาเม จะรูเป คิริสิขะระตะเฏ  จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ  คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะ
วัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา  ชะละถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะ จะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
 
เมตตาพรหมวิหารภาวนา สูตร
เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ
ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ
วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ?
(1) สุขัง สุปะติ (2) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (3) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (4) มะนุสสานัง ปิโย โหติ
(5) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (6) เทวะตา รักขันติ (7) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (8) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ
(9) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ (10) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (11) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ
เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ
ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ
อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ
สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

(1) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

(1) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา
อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา
อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา
อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา
อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา
ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ
เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ
เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.


กรวดน้ำ
ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม  เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกา
เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐา วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน
สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง เตภุมมา จะตุโยนิกาปัจเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว
ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง
มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะเหตุนา สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา


ขอสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ จงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้ แลแห่งบุญอื่นที่ได้ทำแล้ว
คือชนเหล่าใด อันเป็นที่รักผู้มีบุญคุณ มี มารดาบิดา และเจ้ากรรมนายเวร ของข้าพเจ้าเป็นต้น ที่ข้าพเจ้าเห็น หรือแม้ไม่ได้เห็นเกิดในภูมิสาม, ถือในกำเนิดทั้งสี่, มีขันธ์ห้าแลขันธ์หนึ่งแลขันธ์สี่ ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยแลภพใหญ่สัตว์เหล่าใด ทราบการให้ส่วนบุญของข้าพเจ้าแล้ว ขอสัตว์เหล่านั้นจงอนุโมทนาเองเถิด ก็ส่วนสัตว์เหล่าใดย่อมไม่ทราบการให้ส่วนบุญนี้ ขอเทพทั้งหลายพึงแจงแก่สัตว์เหล่านั้น เพราะเหตุคืออนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าให้แล้ว ขอสัตว์ทั้งหลาย จงอย่ามีเวร อยู่เป็นสุขเสมอเถิด แลจงถึงทางอันเกษมเถิด ขอความหวังอันดีของสัตว์เหล่านั้น จงสำเร็จเถิด

ขออานิสงค์ในการแผ่เมตตาในครั้งนี้  กุศลทั้งหลาย จงไปสู่ บิดา มารดา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวรน้อยใหญ่อย่าได้เว้น ตลอดจนเทพเทวดาทุกชั้นฟ้า สรรพสัตว์น้อยใหญ่ สัมพเวสี  บุตรภรรยาในทุกภพทุกชาติ ครูบาอาจารย์ที่พร่ำสอนวิชาการ ขอให้ได้การแผ่เมตตาในครั้งนี้เถิด
ขอความสุขทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด 

อนุโมทนา
เรียบเรียงโดย ตันติปาล

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เริ่มต้นการฝึกพลังจิตจากฝ่ามือ บทที่1

   อนุโมทนาสำหรับผู้ที่สนใจทุกท่านครับ การฝึกแบบนี้จริงๆแล้วก็มีมาแต่โบราณแล้ว แต่การถ่ายทอดนั้น
ค่อนข้างมีน้อย เพราะพอฝึกไปนานๆก็จะหาทางออกไม่ได้ ตัวผมเองก็ได้ทดลองมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่
กล้าอธิบายมากเท่าไหร่ เดี๋ยวเขียนไปแล้วคนฝึกไปเจอปัญหาแล้วแก้ให้เขาไม่ได้ เราจะเป็นบาปไปเปล่าๆ

   การฝึกในแบบที่เรียกว่า Psi Ball นั้นหลายคนคงเคยฝึก แล้วก็เลิกไปเพราะไม่เห็นผลอะไร นอกจากรู้สึกร้อนมือ บางคนฝึกจนมือบวมไปเลยก็มี แต่ก็เลิกไปเพราะไปต่อไม่ได้ ตัวผมแม้ว่ายังไม่สำเร็จอะไรมากมาย
แต่ก็เริ่มแก้ปัญหาต่างๆได้พอสมควร

   ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าการฝึกแบบ Psi Ball ต้องฝึกในรูปแบบของ อานาปานุสติ คือการกำหนดลม
หายใจเข้าออก ไม่ต้อมีคำบริกรรม แต่ให้กำหนดเพ่งที่กระแสของพลังที่เกิดขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกหรือ
เคยฝึกมาแล้วก็ตาม ผมแนะนำให้กลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อน ถ้าพร้อมแล้วมาฝึกเลยครับ
    ก่อนอื่นเราต้อชำระ 3 อย่างออกก่อนลงมือฝึก คือ กาย วาจา ใจ
1.กาย คือการชำระล้างกายให้สะอาดก่อน จากนั้นก็ดื่มน้ำอุ่นเข้าไปหนึ่งแก้ว
2.วาจา อันนี้สำคัญมาก เรารู้จักระงับการพูดจาที่ไม่ดีทุกอย่าง เพราะเทวดาท่านไม่ชอบ การพูดที่ทำให้
คนอื่นเป็นทุกข์ เดือดร้อน ควรงด และท่านต้องแผ่เมตตาก่อนที่จะลงมือฝึกทุกครั้ง
3.ใจ ในขณะฝึกท่านต้องระงับอารมณ์ของ นิวรณ์ ทั้ง 5 ในขณะเดียวกันก็ต้อง เจริญพรหมวิหาร 4 ด้วย
อย่าคิดว่าไม่สำคัญนะครับเรื่องนี้ คนที่ฝึกไปแล้วหาทางออกไม่ได้ ก็เพราะไปติดตรงนี้

   ฝึกการหายใจ
   เมื่อท่านพร้อมแล้ว ให้ท่านกำหนดลมหายใจของท่านโดยการสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆจนเต็มปอดแล้ว
ก็กลั่นหายใจสักพัก จนรู้สึกว่าจะขาดใจ ก็ค่อยๆปล่อยลมหายใจออกมาจนหมดปอดค่อยๆนะครับ อย่า
ปล่อยออกมาแรง เพราะจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว พอปล่อยลมหายใจออกจนหมดปอดแล้วก็กลั่นลมหายใจ
อีกจนรู้สึกว่าจะขาดใจแล้วค่อยสูดลมหายใจเข้าไปอีก ทำอย่างนี้ซ้ำๆจนชิน ไม่ต้องรีบครับโลกยังไม่แตก
วันนี้หรอก

   เริ่มต้นฝึก
   เมื่อรู้สึกว่าใจสงบแล้ว ท่านก็ค่อยๆนำฝามือทั้งสองมาประกบกัน หายใจเข้าออกสักครู่ จากนั้นก็ค่อยๆ
กางฝ่ามือออกจากกันทีละนิดๆ จากนั้นท่านก็จะเริ่มสัมผัสถึงกระแสไฟอยู่ระหว่างฝ่ามือท่าน ไม่ต้องรีบ
ครับ ทำใจเย็นๆ ถนนไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว ตั้งสติให้มั่นอย่าส่งใจออกนอก ลมหายใจให้อยู่ในระดับ
เดิม กระแสพลังที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะบวกกับลบสลับกัน จนทำให้มีความรู้สึกคล้ายลูกบอลกลมๆบนฝ่า
มือ ให้เรารักษาอารมณ์ที่เกิดขึ้น อย่าไปสนใจสิ่งรอบข้างที่เกิขึ้นกับเรา ทั้งอาการคันเสียงกระซิบ หรือ
อะไรก็ตามไม่ต้องไปสนใจ
   ท่านฝึกอย่างนี้ไปก่อน แล้วหากเกิดปัญหาติดขัดแล้วค่อยมาคุยกัน หากท่าไม่ทำตามที่กล่าวมาก็ฝึกได้ครับแต่จะไม่เกิดปัญญา แล้วจะรู้สึกเบื่อหน่าย
   
   ปัญหาที่เกิดขณะฝึก
   แน่นอนครับทุกอย่าที่ทำต้องเกิดปัญหา เรามาดูปัญหาที่เกิขึ้นในการฝึกกัน
1.จะรู้สึกร้อนที่ฝ่ามือ อันนี้ปกติครับเพราะการฝึกแบบนี้จะเป็นการถ่ายเทพลัง คือของใหม่เข้าของเก่าออก
2.ร่างกายจะร้อนจนคล้ายเป็นไข้ อันนี้เกิดขึ้นเพราะร่างกายยังรับไม่ค่อยได้ แก้ไข
 2.1โดยการทำสมาธิปกติ แล้งเอามือแช่ในน้ำ ความร้อนจะถ่ายออกเอง  
 2.2 หากอยูในที่ๆไม่สะดวก ให้ใช้มือสัมผัสวัตถุที่เป็นหินหรือโลหะก็ได้
 2.3 กรณีที่ไม่ได้ทำสมาธิ ให้อาบน้ำเลยครับ
3.จะรู้สึกเวียนหัว คลื่นใส้ เป็นเพราะเพ่งมากเกินไปครับ ให้ถอนออกโดยการแยกมือออกจากกัน และหงายมือบนหัวเข่า เพื่อรับพลังจากอากาศธาตุ ให้ควบคุมการหายใจตามแนวทางที่กล่าวมาแล้ว

การฝึกแบบนี้เป็นการฝึกแบบโยคี ส่วนมากเขาจะฝึกในที่ๆเย็น เป็นการฝึกโดยการรวมธาตุทั้ง 5 เข้าด้วยกัน หากที่บ้านใครมีอ่างน้ำก็ลงไปฝึกในอ่างน้ำได้ครับ จะช่วยลดความร้อนได้ จะเห็นว่าเวลาโยคีฝึกเขาจะไปนั่งสมาธิในน้ำบ้าง ในน้ำตกบ้าง
   เอาเป็นว่าฝึกตามนี้ไปก่อน อย่าพึ่งไปทดลองอะไรมาก ขนาดตัวผมฝึกมาตั้งแต่ ปี 2005 ตอนฝึกใหม่ก็ค้นหาข้อมูลไปทั่ว จนได้มาเป็นสมชิกของเว็บพลังจิตเพื่อหาข้อมูลการฝึก ตอนปี 2005 นั่นแหละครับ ผมจะมาแนะนำขั้นตอนเรื่อยๆถ้าเขียนไปหมดเดี๋ยวจะพากันเรียนลัด แล้วพบกันใหม่นะครับ ขอความสำเร็จจงมีแด่ทุกท่าน 
                                                               อนุโมทนาครับ
                                                                  ตันติปาล
                                      ติดปัญหาก็ E-mail มาครับ ที่ nonga2008@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นักบุญปีเตอร์ผู้กำความลับการฝึกสมาธิของพระเยซูที่อินเดีย

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

เขียนโดย ตันติปาล

มมี โอกาสได้สนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านเป็นที่เคารพของผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองผมจึงขอสงวนที่จะเอ่ยชื่อของ ท่าน วันนั้นผมสนทนากับท่านหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องที่ท่านไปอินเดียกับรัฐมนตรี ท่านหนึ่ง ท่านเล่าให้ผมฟังว่าตอนที่ท่านไปที่อินเดียก็มีนักแสวงบุญท่านหนึ่งมาสนทนา ด้วย เรื่องที่สนทนากันนั้นเป็นเรื่องของพระเยซูกับนักบุญปีเตอร์
นักแสวงบุญท่านนี้จริงๆแล้วท่านเป็นนักวิจัย ท่านค้นคว้าเรื่องช่วงเวลาที่หายไปของจีซัสและปีเตอร์ แต่ท่านกลับถูกต่อต้านจากผู้ที่เคร่งในศาสนา ท่านจึงต้องมาวิจัยในคราบของนักแสวงบุญ ท่านอาจารย์ถามนักแสวงบุญว่าแล้วเจอคำตอบบ้างไหม ท่านก็ตอบว่าเจอคำตอบบางอย่างแล้ว แต่มันก็ยากเกินกว่าที่ชาวคริสต์จะรับได้ อาจารย์จึงถามต่อว่าเรื่องอะไรที่ท่านค้นพบ
นักแสวงบุญก็เล่าเรื่องราวของพระเยซูที่เพิ่งค้นพบให้ฟัง ในส่วนนี้ผมขอข้ามไปก็แล้วกัน เพราะรู้สึกว่าจะเคยมีคนเอาเรื่องของพระเยซูเดินทางมาอินเดียมาโพสต์แล้วลอง หาอ่านกันดูก็แล้วกัน เรื่องราวก็เหมือนกันดังนั้นผมจะขอเล่าเรื่องของนักบุญปีเตอร์ไปเลย

ท่านที่นับถือศาสนาคริสต์ท่านก็คงทราบดีว่า นักบุญปีเตอร์นั้นได้รับการยกย่องให้เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาองค์แรกของศาสนา คริสต์ โดยท่านจะมีสัญญาลักษณ์เป็นรูปกุญแจและคนตรึงกางเขนห้อยหัว ที่สำคัญท่านนักบุญปีเตอร์ท่านนี้เก็บงำความลับของพระเยซูไว้มากมายยิ่งนัก เดิมทีนักบุญปีเตอร์มีนามว่า ไซมอน อาศัยอยู่ตำบลเบทไซดา มีอาชีพเป็นชาวประมงและต่อมาได้ย้ายมาอยู่ ที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม ท่านได้รู้จักกับพระเยซูจากการแนะนำของน้องชายท่าน คือนักบุญแอนดรูว์กับนักบุญจอห์น แบ็พทิสต์
หลังจากที่ได้รับฟังคำสอนของพระเยซูก็เกิดความศรัทธา จึงขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์จากนั้นพระเยซูก็ได้เปลี่ยนชื่อจากโซมอลเป็น เปโตร ตั้งแต่นั้นมา จากนั้นพระเยซูก็ได้มอบหมายให้เป็นผู้ดูแลศาสนาคริสต์แทน โดยมอบกุญแจแห่งอาณาจักรเมืองสวรรค์ ก็หมายความว่าหากพระเยซูต้องไปนักบุญปีเตอร์ก็รับหน้าที่ต่อจากพระเยซู

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่



Name: Pope-peter_pprubens.jpg

Views: 15

Size: 32.9 KB

ID: 1164205

นักบุญปีเตอร์ในมือถือจุญแจแห่งอณาจักรเมืองสวรรค์

นักบุญปีเตอร์เป็นพยานในชุดแรกที่เห็นการฟื้นขึ้นมาของพระเยซู ก่อนที่พระเยซูจะกลับสู่สวรรค์ ซึ่งจริงๆแล้วสวรค์ที่ว่านั้นก็คือการเดินทางมายังแคชเมียร์ ตามคติความเชื่อโบราณบริเวณแคชเมียร์เทือกเขาหิมาลัยก็เป็นดินแดนสวรรค์ เป็นที่ๆเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนายิ่งนัก ข้อสันนิฐานของนักแสวงบุญนี้ค่อยข้างจะมีหลักฐานข้อมูลพอสมควร ซึ่งหลักฐานส่วนใหญ่นั้นจะถูกค้นและทำลายโดยวาติกันเกือบหมด จะเหลือแต่เพียงพระศพที่ยังไม่ถูกค้นพบในสมัยนั้นที่ยังไม่โดนทำลาย เพราะถ้าหากรู้ว่าพระเยซูแอบมาฝึกสมาธิแบบพุทธก็จะทำให้คนเสื่อมศรัทธาไปได้ การค้นพบพระศพที่อ้างกันว่าเป็นพระศพของพระเยซูนั้นจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ อย่างยิ่ง แต่การพิสูจน์นั้นเป็นเรื่องยากเพราะทางวาติกันก็จะขัดขวางทุกวิถีทางเช่น กัน

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่



Name: 8391_mummy.jpg

Views: 16

Size: 10.5 KB

ID: 1164204

พระศพที่ผู้ค้นพบคาดว่าจะเป็นพระศพของพระเยซู

ในช่วงแรกนั้นคำสอนของคริสต์นั้นจะเป็นเรื่องของการมีเมตตา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การแบ่งปันจนไปถึงการไม่ถือโทษโกรธเคือง แต่หลังจากที่พระเยซูได้เดินทางมาที่แคชเมียร์หลังฟื้นขึ้นมา ก็ได้มาศึกษาในเรื่องของจิตวิญญาณ ภายหลังที่พระเยซูออกมาได้ไม่นาน จะเป็นเหตุผลใดไม่ทราบได้ ท่านักบุญปีเตอร์ก็ได้เดินทางมาที่อินเดียเพื่อพบพระเยซู และก็ได้ฝึกสมาธิในรูปแบบของศาสนาพุทธ เวลาที่ท่านมานั้นน่าจะ 4-5 ปีได้ จากนั้นท่านก็กลับไปที่เยรูซาเลมเพื่อทำการเผยแพร่เพิ่มเติมในเรื่องของจิต วิญญาณ แม้ว่านักแสวงบุญท่านนี้จะไม่ได้เล่าอะไรมากนักแต่ก็พอจับต้นชนปลายถูก
ในภาวะการเกิดของศาสนาคริสต์นั้นอยู่ในช่วงสงคราม จึงเป็นเรื่องยากที่จะมาสอนการทำสมาธิแบบพุทธ แม้แต่ตัวของพระเยซูกับนักบุญปีเตอร์เองก็ยังถือเป็นเรื่องยาก การที่จะบรรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้นไปจึงจำเป็นที่จะต้องหาที่ๆสงบจริงๆ จึงเป็นเหตุให้พระเยซูต้องหนีความวุ่นวายนั้น และสั่งให้นักบุญปีเตอร์มาหาในเวลาอันควรเพื่อที่จะเผยแพร่คำสอนให้สมบูรณ์
การค้นพบพระศพนั้นก็จะเป็นหลักฐานยืนยันในเรื่องนี้ได้ ซึ่งเราต้องรอดูกันต่อไป หากการยืนยันในเรื่องนี้เป็นจริงเท่ากับว่าศาสนาพุทธเป็นต้นแบบของปัญญาโดย แท้จริง

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่



Name: นักบุญปีเตอร์.jpg

Views: 17

Size: 114.3 KB

ID: 1164206

นักบุญปีเตอร์ท่านได้ขอร้องให้เอาศีรษะทิ่มลงหิน โดยกล่าวว่าท่านไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูเจ้าพระอาจารย์

จริงๆ แล้วเรื่องนี้ผมไม่อยากเขียนเท่าไหร่พระมันคาบเกี่ยวกับศรัทธาของคน หลังจากปรึกษาผู้หลักผู้ใหญ่แล้วท่านก็ให้คำแนะนำมาในการเขียน เช่นการใช้ถ้อยคำ การวิจาร การอ้างอิงเป็นต้น

อ้างอิง(หาข้อมูลเพิ่มเตอมที่)
http://atheistcamel.blogspot.com/201...e-cancels.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...B8%A3%E0%B9%8C
http://www.jesus-in-india-the-movie....ravellers.html
http://reluctant-messenger.com/issa.htm
http://www.alislam.org/books/jesus-in-india/index.html

ในหลวงของเรา...มหากษัตริย์ยอดกตัญญู

ในหลวงของเรา...มหากษัตริย์ยอดกตัญญู

โดย พ.อ. (พิเศษ)ทองคำ ศรีโยธิน


คัดลอกโดย ตันติปาล

ลูกๆ ทุกคน...ก็ได้รูกันแล้วว่า ความหวังของแม่ ที่มีต่อลูก ๓ หวังคือ
ยามแก่เฒ่า หวังเจ้า เฝ้ารับใช้
ยามป่วยไข้ หวังเจ้า เฝ้ารักษา
เมื่อถึงยาม ต้องตาย วายชีวา
หวังลูกช่วย ปิดตา เมื่อสิ้นใจ

ทีนี้...มาดูตัวอย่างบ้าง...บุคคลที่เป็นยอดกตัญญู ที่ประทับใจอาจารย์มากที่สุด คือใคร ทราบไหม? คือคนในภาพนี้... ในหลวงของเรา...ในหลวง... นอกจากจะเป็นยอดพระมหากษัตริย์ของโลก...เป็น THE KING OF KING แล้ว ในหลวงของเรา ยังเป็นกษัตริย์ยอดกตัญญูด้วย

ความหวังของแม่...ทั้ง ๓ หวัง ในหลวงปฏิบัติได้ครบถ้วน...สมบูรณ์ เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดให้แก่เรา ในหลวงทำกับแม่ยังไง? ตามอาจารย์มา...อาจารย์จะฉายภาพให้เห็น...

หวังที่ ๑. ยามแก่เฒ่า...หวังเจ้า...เฝ้ารับใช้...ใครเคยเห็นภาพที่...สมเด็จย่า เสด็จไปในที่ต่างๆ แล้วมีในหลวง...ประคองเดินไปตลอดทาง...เคยเห็นไหม...? ใครเคยเห็น...กรุณายกมือให้ดูหน่อย...ขอบคุณ...เอามือลง

ตอนที่สมเด็จย่าเสด็จไปไหนเนี่ย... มีคนเยอะแยะ... มีทหาร...มีองค์รักษ์...มีพยาบาล... ที่ประคองสมเด็จย่าอยู่แล้ว แต่ในหลวงบอกว่า

ไม่ต้อง...คนนี้...เป็นแม่เรา...เราประคองเอง

ตอน เล็กๆ แม่ประคองเราเดิน...สอนเราเดิน หัดให้เราเดิน...เพราะฉะนั้นตอนนี้แม่แก่แล้ว... เราต้องประคองแม่เดิน เพื่อเทิดทูลพระคุณท่าน... ไม่ต้องอายใคร...

เป็นภาพที่...ประทับใจมาก... เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านกตัญญูต่อแม่...ประคองแม่เดิน ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จ... สองข้างทาง ฝั่งนี้ ๕,๐๐๐ คน ฝั่งนู้น... ๘,๐๐๐ คน

ยกมือขึ้น...สาธุ แซ่ซ้อง...สรรเสริญ กษัตริย์ยอดกตัญญู... ในหลวง...เดินประคองแม่... คนเห็นแล้ว...เขาประทับใจ ถ่ายรูป...เอามาทำปฏิทิน...เอาไปติดไว้ที่บ้าน เพื่อแสดงความเคารพ... กราบไหว้
ลองหันมาดูพวกเรา...ส่วนใหญ่ เวลาออกไปไหน แต่งตัวโก้...ลูกชาย...แต่งตัวโก้...ลูกสาว...แต่งตัวสวย แต่เวลาเดิน... ไม่มีใครประคองแม่...กลัวไม่โก้...กลัวไม่สวย ข้าราชการ...แต่งเครื่องแบบเต็มยศ... ติดเหรียญตรา...เหรียญกล้าหาญ...เต็มหน้าอก...แต่เวลาเดิน...ไม้กล้าประคอง แม่... กลัวไม่สง่า... กลัวเสียศักดิ์ศรี....ประคองแม่ เป็นเรื่องของ...คนใช้... หลายคน...ให้ประครองแม่... ไม่กล้าทำ อาย....

เวลาทำดี... ไม่กล้าทำ...อาย, เวลาทำชั่ว...กล้า...ไม่อาย... ใครเห็นภาพนี้ที่ไหน...กรุณาซื้อใส่กรอบ... แล้วเอาไปแขวนไว้ในบ้าน...เอาไว้สอนลูก เห็นภาพชัดเจนไหมครับ? เท่านั้นยังน้อยไป... มาดูภาพที่ชัดเจนกว่านั้น....

หลังงานพระบรมศพสมเด็จย่า...เสร็จสิ้นลงแล้ว ราชเลขา...ของสมเด็จย่า...มาแถลงในที่ประชุม...ต่อหน้าสื่อมวลชนว่า... ว่า...ก่อนสมเด็จย่า จะสิ้นพระชนม์ปีเศษตอนนั้นอายุ ๙๓ ในหลวง... เสด็จจากวังสวนจิตร... ไปวังสระประทุมตอนเย็นทุกวัน
ไปทำไมครับ...? ไปกินข้าวกับแม่ ไปคุยกับแม่...ไปทำให้แม่ชุ่มชื่นหัวใจ... พอเขาแถลงถึงตรงนี้ อาจารย์ตะลึง
โอ้โห!... ขนาดนี้เชียวหรือในหลวงของเรา

เสด็จไปกินข้าวมื้อเย็นกับแม่... สัปดาห์ละกี่วัน...ทราบไหมครับ? พวกเราทราบไหมครับ...สัปดาห์ละกี่วัน?... ๕ วัน...
มีใครบ้างครับ...? ที่อยู่คนละบ้านกับแม่ แล้วไปกินข้าวกับแม่...สัปดาห์ละ ๕ วัน หายาก...

ในหลวงมีโครงการเป็นร้อย.... เป็นพันโครงการ... มีเวลาไปกินข้าวกับแม่ สัปดาห์ละ ๕ วัน พวกเรา ซี ๗ ซี ๘ ซี ๙ ร้อยเอก...พลตรี...อธิบดี...ปลัดกระทรวง ไม่เคยไปกินข้าวกับแม่...บอกว่า...งานยุ่ง
แม่บอกว่า... ให้พาไปกินข้าวหน่อย... บอกไม่มีเวลา จะไปตีกอล์ฟ...ไม่มีเวลาพาแม่ไปกินข้าว... แต่มีเวลาไปตีกอล์ฟ...เห็นตัวเองหรือยัง ...?

พ่อแม่...พอแก่แล้ว ก็เหมือนไม้ใกล้ฝั่ง... ฝนตก...น้ำเซาะ...อีกไม่นานก็โค่น... พอถึงวันนั้น...พวกเราก็ไม่มีแม่ให้กราบแล้ว.....

ในหลวงจึงตัดสินพระทัย... ไปกินข้าวกับแม่สัปดาห์ละ ๕ วัน เมือตอนที่สมเด็จย่าอายุ...๙๓
สัปดาห์หนึ่งมี ๗ วัน ในหลวงไปกินข้าวกับแม่ ๕ วัน อีก ๒ วันไปไหนครับ....? ดร.เชาว์ ณ ศิลวันต์...องคมนตรี บอกว่า

ในหลวง ...ถือศิล ๘ วันพระ ...ถือศิล ๘ นี่ยังไง...? ต้อง งดข้าวเย็น...เลยไม่ได้ไปหาแม่...วันนี้เพราะถือศิล อีกหนึ่งวันที่เหลือ... อาจกินข้าวกับพระราชินี...กับคนใกล้ชิด แต่ ๕ วันให้แม่ เห็นภาพชัดแล้วไช่ใหม...?

ตอนนี้เราขยับเข้าไปใกล้ๆ หน่อย ไปดูตอนกินข้าว... ทุกครั้ง...ที่ในหลวงไปหาสมเด็จย่า... ในหลวงต้องเข้าไปกราบที่ตัก... แล้วสมเด็จย่า...ก็จะดึงตัวในหลวงเข้ามากอด...กอดเสร็จก็หอมแก้ม...
ตอนสมเด็จย่า...หอมแก้มในหลวง...อาจารย์คิดว่า แก้มในหลวง...คงไม่หอมเท่าไร ...เพราะไม่ได้ใส่น้ำหอม แต่ทำไม... สมเด็จย่าหอมแล้ว...ชื่นใจ...เพราะ ท่านได้กลิ่นหอม... จากหัวใจในหลวง หอมกลิ่นกตัญญู
ไม่นึกเลยว่า...ลูกคนนี้ จะกตัญญูขนาดนี้ จะรักแม่ขนาดนี้

ตัวแม่เองคือ สมเด็จย่า...ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ เป็นคนธรรมดา...สามัญชน...เป็นเด็กหญิงสังวาล เกิดหลังวัดอนงค์...เหมือนเด็กหญิงทั่วไป... เหมือนพวกเราทุกคนในที่นี้ ในหลวงหน่ะ... เกิดเป็นพระองค์เจ้า เป็นลูกเจ้าฟ้า ปัจจุบันเป็นกษัตริย์...เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่เหนือหัว

แต่ในหลวง...ที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน... ก้มลงกราบ...คนธรรมดา...ที่เป็นแม่ หัวใจของลูก...ที่เคารพแม่...กตัญญูกับแม่อย่างนี้ หาไม่ได้อีกแล้ว...บางคน...พอได้เป็นใหญ่เป็นโต ไม่กล้าใหว้แม่...เพราะแม่มาจากเบื้องต่ำ... เป็นชาวนา...เป็นลูกจ้าง ไม่เคารพแม่...ดูถูกแม่...

แต่นี่...ในหลวง เทิดแม่ไว้เหนือหัว... นี่แหละครับความหอม นี่คือเหตุที่สมเด็จย่า... หอมแก้มในหลวงทุกครั้ง... ท่านหอมความดี... หอมคุณธรรม... หอมกตัญญู...ของในหลวง หอมแก้มเสร็จแล้ว...ก็ร่วมโต๊ะเสวย...ตอนกินข้าวนี่... ปกติ...แค่เห็นลูกมาเยี่ยม...ก็ชื่นใจแล้ว...

นี่ลูกมากินข้าวด้วย...โอย...ยิ่งปลื้มใจ

แม่ทั้งหลาย...ลองคิดดูซิ... อะไรอร่อยๆ ในหลวงก็จะตักใส่ช้อนให้แม่... อันนี้อร่อย...แม่ลองทาน... รู้ว่าแม่ชอบทานผัก... หยิบผักม้วนๆ ใส่ช้อนแม่... เอ้าแม่...แม่ทานซะ...ของที่แม่ชอบ... แทนที่จะกินแค่ ๓ คำ ๔คำ ก็เจริญอาหาร... กินได้เยอะ เพราะมีความสุขที่ได้กินข้าวกับลูก มีความสุขที่ลูกดูแล... เอาใจใส่...

กินข้าวเสร็จแล้ว...ก็มานั่งคุยกับแม่...ในหลวงดำรัสกับแม่ว่ายังไง...ทราบไหม...?
ตอนในหลวงเล็กๆ... แม่เคยสอนอะไรที่สำคัญ... อยากฟังแม่สอนอีก เป็นไงบ้าง...? เป็นกษัตริย์... ปกครองประเทศ... อยากฟังแม่สอนอีก...

พวกเราเป็นไง...? เรา คิดว่า...เรารู้มาก...เราเรียนสูง...เรามีปริญญา...แม่จบ ป.๔ เวลาแม่สอน...ตะคอกแม่ ตวาดแม่ กระทืบเท้าใส่แม่ เบื่อจะตายอยู่แล้ว...รำคาญ... พูดจาซ้ำซาก... เมื่อไหร่จะหยุดพูดซะที... เราเหยียบย่ำ หัวใจแม่

พอสมเด็จย่าสอน... ในหลวงจะเอากระดาษมาจด... มีอยู่เรื่องหนึ่ง...ที่จำได้แม่น... สมเด็จย่า...เล่าว่า ตอนเรียนหนังสือที่ Swiss ในหลวงยังเล็กอยู่... เข้ามาบอกแม่ว่า...อยากได้จักรยาน เพื่อนๆ เขามีจักรยานกัน

แม่บอกว่า... ลูกอยากได้จักรยาน... ลูกก็เก็บสตางค์...ที่แม่ให้ไปกินที่โรงเรียนไว้ซิ...เก็บมาหยอดกระปุก...วันละเหรียญ...สองเหรียญ พอได้มากพอ...ก็เอาไปซื้อจักรยาน...
นี่เป็นสิ่งที่แม่สอน... แม่สอนอะไร...ทราบไหมครับ...?

ถ้าเป็นพ่อแม่บางคน... พอลูกขอ...รีบกดปุ่ม ATM ให้ เลย ประเคนให้เลย... ลูกก็ฟุ้งเฟ้อ...ฟุ่มเฟือย...เหลิง...และหลงตัวเอง พอโตขึ้น...ขับรถเบนซ์ชนตำรวจ...ก็ได้...ยิงตำรวจ...ยังได้...เพราะหลงตัว เอง...พ่อตนใหญ่ เห็นไหม...? เทิดทูน จนเสียคน...
แต่สมเด็จย่านี่...เป็นยอดคุณแม่...สร้างคุณธรรมให้แก่ลูก...ลูกอยากได้... ลูกก็เก็บสตางค์ที่แม่ให้...ไปหยอดกระปุก... แม่สอน ๒ เรื่อง คือ...ให้ประหยัด...ให้ยืนอยู่บนขาของตัวเอง

ความประหยัด...เป็นสมบัติของเศรษฐี ใครสอนลูกให้ประหยัดได้... คนนั้นกำลังมอบความเป็นเศรษฐีให้แก่ลูก

พอถึงวันขึ้นปีใหม่...สมเด็จย่าก็บอกว่า... ปีใหม่แล้ว...เราไปซื้อจักรยานกัน...“เอ้าแคะกระปุก...ดูซิว่ามีเงินเท่าไร...?” เสร็จแล้ว... สมเด็จย่าก็แถมให้... ส่วนที่แถมนะ...มากกว่าเงินที่มีในกระปุกอีก...
มีเมตตา...ให้เงินลูก... ให้...ไม่ได้ให้เปล่า...สอนลูกด้วย...สอนให้ประหยัด สอนว่า...อยากได้อะไร...ต้องเริ่มจากตัวเรา...คำสอนนั้น...ติดตัวในหลวงมาจนทุกวันนี้...

เขาบอกว่า...ในสวนจิตรเนี่ย... คนที่ประหยัดที่สุด...คือ...ในหลวง...ประหยัดที่สุด...ทั้งน้ำ...ทั้งไฟ... เรื่องฟุ่มเฟือย...ไม่มี...เป็นอันว่า...ภาพนี้ชัดเจน...

หวังที่ ๒. ยามป่วยไข้...หวังเจ้า...เฝ้ารักษา ดูว่าในหลวง ทำกับแม่ยังไง...? สมเด็จย่า...ประชวรอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช... ในหลวงไปเยี่ยมตอนไหนครับ...?
ไปเยี่ยมตอน ตี ๑ ตี ๒ ตี ๔ เศษๆ...จึงเสด็จกลับ... ไปเฝ้าแม่วันละหลายชั่วโมง...

แม่...พอเห็นลูกมาเยี่ยม...ก็หายป่วยไปครึ่งหนึ่งแล้ว...

ทีม แพทย์ที่รักษาสมเด็จย่า... เห็นในหลวงมาเยี่ยม มาก็ประทับใจ ก็ต้องฟิต...ตามไปด้วย ต้องปรึกษาหารือกันตลอดว่า...จะให้ยายังไง...จะเปลี่ยนยาไหม...? จะปรับปรุงการรักษายังไง...ให้ดีขึ้น... ทำให้สมเด็จย่า...ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น...เห็นภาพไหม...?

กลางคืน...ในหลวงไปอยู่กับสมเด็จย่า... คืนละหลายชั่วโมง...ไปให้ความอบอุ่นทุกคืน
ลองหันมาดูตัวเราเองซิ... ตอนพ่อแม่ป่วย...โผล่หน้าเข้าไปดูหน่อยนึง ถามว่า...ตอนนี้...อาการเป็นยังไง...?

พ่อแม่...ยังไม่ทันตอบเลย ฉันมีธุระ งานยุ่ง ต้องไปแล้ว...โพล่หน้าให้เห็นพอแค่เป็นมารยาท... แล้วก็กลับ...เราไม่ได้ไปเพราะความกตัญญู... เราไม่ได้ไปเพื่อทดแทนบุญคุณท่าน...น่าอายไหม...?
ในหลวง...เสด็จไปประทับกับแม่... ตอนแม่ป่วยไปทุกวัน... ไปให้ความอบอุ่น... ประทับอยู่วันละหลายชั่งโมง...นี่คือ...สิ่งที่ในหลวงทำ

คราวหนึ่ง...ในหลวงป่วย... สมเด็จย่าก็ป่วย... ไปอยู่ศิริราช...ด้วยกัน...อยู่คนละตึก... ตอนเช้า...ในหลวงเปิดประตู...แอ๊ด...ออกมา... พยาบาลกำลังเข็นรถสมเด็จย่า ...ออกมารับลมหน้าห้องพอดี
ในหลวง...พอเห็นแม่... รีบออกจากห้อง...มาแย่งพยาบาลเข็นรถ มหาดเล็ก...กราบทูลว่า ไม่เป็นไร... ไม่ต้องเข็น มีพยาบาลเข็นให้อยู่แล้ว ในหลวงรับสั่งว่า...แม่ของเรา... ทำไมต้องให้คนอื่นเข็น...เราเข็นเองได้...

นี่ ขนาดพระเจ้าแผ่นดิน...เป็นกษัตริย์...ยังมาเดินเข็นรถให้แม่ ยังมาป้อนข้าว...ป้อนน้ำให้แม่...ป้อนยาให้แม่ให้ความอบอุ่นแก่แม่...เลี้ยง หัวใจแม่...ยอดเยี่ยมจริงๆ...เห็นภาพนี้แล้ว...ซาบซึ้ง...

มาตามดูต่อ

หวังที่ ๓. เมื่อถึงยาม...ต้องตาย...วายชีวา... หวังลูกช่วย...ปิดตา...เมื่อสิ้นใจ วันนั้น...ในหลวง...เฝ้าสมเด็จย่า อยู่จนถึงตี ๔ ตี ๕ เฝ้าแม่อยู่ทั้งคืน... จับมือแม่...กอดแม่...ปรนนิบัติแม่...จนกระทั้ง “แม่หลับ…” จึงเสด็จกลับ...
พอ ไปถึงวัง... เขาก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า...สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์... ในหลวง...รีบเสด็จกลับไป...ศิริราช... เห็นสมเด็จย่านอนหลับตาอยู่บนเตียง... ในหลวงทำยังไงครับ...?
ในหลวงตรงเข้าไป...คุกเข่า... กราบลงที่หน้าอกแม่...พระพักตร์ในหลวง... ตรงกับหัวใจแม่... ขอหอมหัวใจแม่...เป็นครั้งสุดท้าย... ซบหน้านิ่ง...อยู่นาน... แล้วค่อยๆ ...เงยพระพักตร์ขึ้น...น้ำพระเนตร
ไหลนอง...
ต่อ ไปนี้...จะไม่มีแม่ให้หอมอีกแล้ว...เอามือ...กุมมือแม่ไว้ มือนิ่มๆ ...ที่ไกวเปลนี้แหละที่ปั้นลูก...จนได้เป็นกษัตริย์...เป็นที่รักของคนทั้ง บ้านทั้งเมือง...ชีวิตลูก...แม่ปั้น...
มอง เห็นหวี...ปักอยู่ที่ผมแม่... ในหลวงจับหวี...ค่อยๆ หวีให้แม่...หวี...หวี...หวี... หวี...ให้แม่สวยที่สุด... ในวันสุดท้ายของแม่...

เป็นภาพที่ประทับใจอาจารย์ที่สุด...เป็นสุดยอดของลูกกตัญญู...หาที่เปรียบไม่ได้อีกแล้ว...

คัดลอกมาจากหนังสือเรื่อง หยุดความเลว..ที่..ไล่ล่าคุณ โดย พ.อ. (พิเศษ)ทองคำ ศรีโยธิน